วิสัยทัศน์
จัดที่ดิน สร้างมูลค่าที่ดินทำกิน พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร คุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. จัดที่ดินและที่อยู่อาศัยให้เกษตรกร
2. ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในเขตปฏิรูปที่ดิน
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการเรียนรู้
4. สนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกร
เป้าประสงค์หลัก
1. จัดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินให้แก่เกษตรกร
2. พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้รับการพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต
3. สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
4. สร้างโอกาส พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดินอย่างยั่งยืน
5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรปฏิรูปที่ดิน
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
ALRO
A : Achievement Motivation : การมุ่งผลสัมฤทธิ์
หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
L : Learning and Development : การเรียนรู้และพัฒนา
หมายถึง เรียนรู้และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องและกล้าเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
R : Responsibility : ความรับผิดชอบ
หมายถึง รับผิดชอบต่องานในหน้าที่ ต่อการตัดสินใจต่อการกระทำและต่อผลงาน
O : Organzation Commitment : ความผูกพันต่อองค์กร
หมายถึง ความรู้สึกดีๆ ที่บุคลากรมีต่อองค์กร ต่อเพื่อนร่วมงานต่อผู้บังคับบัญชา และมีความเต็มใจที่จะทำงานเพื่อความก้าวหน้า และประโยชน์ขององค์กร
สถานที่ติดต่อ
เลขที่ 1 ถนนราชดำเนินนอก พระนคร กรุงเทพฯ
โทร. 02-282-9004 โทรสาร 02-281-0815
http://www.alro.go.th
webmaster@alro.go.th
อำนาจหน้าที่
1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ดำเนินการจัดหาที่ดินของเอกชนและที่ดินของรัฐ เพื่อนำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินโดยจัดที่ดินให้เกษตรกรเช่าซื้อ เช่า หรือเข้าทำประโยชน์ ตลอดจนการจัดที่อยู่อาศัย การให้กรรมสิทธิ์และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม รวมทั้งการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการปฏิรูปที่ดินและวิชาการด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน พัฒนาประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน การบริหารจัดการทรัพยากรการผลิต ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
4. บริหารกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและค่าใช้จ่ายเพื่อการปฏิรูปที่ดิน การบริหารจัดการที่ดินของรัฐ การให้กู้ยืมเงินสำหรับการพัฒนาอาชีพ รายได้รวมตลอดถึงการใช้เงินกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรมิให้สูญเสียสิทธิในที่ดิน รวมทั้งการจัดทำสารบบที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดิน
5. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
|