ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เป้าประสงค์หลัก หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ อำนาจหน้าที่ |
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อมูลปี 2557
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้1. การสอบทานกรณีปกติ
1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. การประเมินความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล บางโครงการขาดการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของการประเมินความเสี่ยงในแต่ละประเด็น 2. การกำหนดประเด็นในการประเมินประสิทธิผลของแต่ละโครงการยังไม่ถูกต้อง เนื่องจากตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินเป็นตัวชี้วัดระดับผลผลิต ไม่สามารถสะท้อนการบรรลุประสิทธิผลของโครงการได้ |
1. ผู้ตรวจราชการกระทรวงควรประเมินความเสี่ยงในแต่ละด้านโดยให้เหตุผลการประเมินที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน 2. การประเมินประสิทธิผลของโครงการต้องกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลเป็นตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ 3. ควรติดตามการนำแบบจำลองการวิเคราะห์ ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) ไปปรับใช้ในการดำเนินงานของผู้รับตรวจ ว่าบรรลุผลสัมฤทธิ์หรือไม่ เพียงใด |
1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
กรอบอัตรากำลังของหน่วยตรวจสอบภายในมีเจ้าหน้าที่หน่วยตรวจสอบภายในเพียง 1 คน ทำให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในขาดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และไม่เป็นไปตามมาตรฐาน | ส่วนราชการและสำนักงาน ก.พ. ควรพิจารณาจัดสรรอัตรากำลังที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามโครงสร้างกรอบอัตรากำลังที่ส่วนราชการกำหนด |
1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจัดทำรายงานการควบคุมภายในระดับกรมฯ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน | ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำรายงานการควบคุมภายในมากขึ้น |
1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในส่วนราชการ ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงผลผลิต/กิจกรรมย่อย และการกำหนดหน่วยนับของผลผลิต ส่งผลให้การคำนวณต้นทุนผลผลิตของส่วนราชการ และการเปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานระหว่างปีดำเนินงานได้ยาก และไม่มีประสิทธิภาพ 2. บุคลากรผู้รับผิดชอบการดำเนินงานในบางหน่วยงานยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต รวมถึงความสำคัญของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตในการปฏิบัติราชการ 3. คำชี้แจงการปฏิบัติงาน / มาตรการที่ได้ดำเนินการตามคำรับรองฯ ของส่วนราชการบางแห่งขาดรายละเอียดที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานตามคำอธิบายที่กำหนดไว้ |
1. การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง หรือการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการดำเนินงานในผลผลิต กิจกรรมใด ๆ ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ควรให้ความสำคัญถึงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านการกำหนดต้นทุนผลผลิตของกระทรวงด้วย 2. กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ควรจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตทุกคนอย่างทั่วถึง 3. ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงฯ ควรอธิบายมาตรการที่ได้ดำเนินงานตามคำรับรองให้ครบถ้วน และชัดเจนเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ |
1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในภูมิภาคส่วนใหญ่มีเจ้าหน้าที่การเงินเพียง 1 ตำแหน่ง หรือบางแห่งไม่มีเจ้าหน้าที่การเงิน ส่งผลให้การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินและบัญชีขาดประสิทธิภาพ | กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ด้านการเงินและบัญชีของทุกหน่วยงานในสังกัดโดยเร่งด่วน |
2. การสอบทานกรณีพิเศษ
1. โครงการส่งเสริมศักยภาพครอบครัวระดับตำบล (คลินิกครอบครัว)
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ การดำเนินงานโครงการส่งเสริมศักยภาพครอบครัวระดับตำบล (คลินิกครอบครัว) เป็นโครงการที่เข้าถึง และเกิดประโยชน์โดยตรงต่อประชาชน แต่มีกระบวนการในการดำเนินงานมาก และมีระยะเวลาในการดำเนินงานที่จำกัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 |
1. การดำเนินงานโครงการคลินิกครอบครัวอย่างควรขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากขึ้น 2. ควรพิจารณาปรับแผนการดำเนินงาน และรูปแบบกิจกรรมให้มีความเหมาะสมตามสภาพท้องถิ่น และวิถีชุมชนของกลุ่มเป้าหมาย 3. การกำหนดคุณสมบัติของผู้จัดการรายกรณี (CaseManager) ในด้านวุฒิการศึกษาไม่ควรจำกัดเฉพาะด้านการพัฒนาสังคม เพื่อให้บุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาด้านอื่นๆ สามารถสมัครเข้าร่วมงานได้ 4. ควรนำรูปแบบการจัดกิจกรรมของแต่ละพื้นที่รวบรวม และพัฒนาเป็นวีดีทัศน์ เพื่อเป็นแนวทางการขยายผลโครงการต่อไป 5. ควรปรับปรุงสมุดพกบันทึกกิจกรรมให้สามารถใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม โดยไม่จำกัดช่วงวัย |
2. กิจกรรมการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มคนที่เปราะบางโดยใช้เงินอุดหนุนกรณีฉุกเฉิน ระยะที่ 2และระยะที่ 3 ภายใต้โครงการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย(ด้านฟื้นฟูคุณภาพชีวิต)
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1. การให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนจำนวนมากในระยะเวลาที่เร่งด่วนและจำกัด ส่งผลให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง และครอบคลุม กลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ เครือข่ายภาคประชาชนที่เสียสละ และเข้มแข็ง 2. การโอนจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานส่วนกลางภายใต้โครงการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยด้านฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของกระทรวงที่มอบหมายให้จังหวัดดำเนินการมีระยะ เวลาการโอนจัดสรรไม่พร้อมกัน จึงส่งผลต่อการบูรณาการการดำเนินงานกิจกรรม |
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการส่งเสริมบทบาท และศักยภาพของเครือข่ายให้มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น รวมทั้งควรบูรณาการแผนการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานส่วนกลาง เพื่อให้การบริหารงบประมาณของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ |