วิสัยทัศน์
ดำรงไว้ซึ่งความเป็นองค์กรกลางทางกฎหมายของประเทศ มีอิสระทางวิชาการ และได้รับการยอมรับเชื่อถือในการจัดทำกฎหมาย การให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายโดยถูกต้องตามหลักนิติธรรม
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. จัดทำร่างกฎหมายที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์ เพื่อให้เป็นกลไกการบริหารงานภาครัฐ และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน
2. ให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติราชการ ภายใต้ขอบเขตความถูกต้องของกฎหมาย
3. พัฒนากฎหมายของประเทศ เพื่อให้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ
4. พัฒนาหลักกฏหมายปกครองเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5. เสริมสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญในทางกฎหมายมหาชนให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
6. เป็นศูนย์กลางรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลทางกฎหมายของประเทศ
7. พัฒนานักกฎหมายกฤษฎีกาให้มีความรู้ทางวิชาการ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานทางกฎหมาย
เป้าประสงค์หลัก
1. ร่างกฎหมายและการให้คำปรึกษาทางกฎหมายมีคุณภาพครบถ้วนตามนโยบายของรัฐบาล
2. กฎหมายมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ การบริหารราชการ และการดำรงชีวิตของประชาชน
3. บุคลากรทางกฎหมายภาครัฐมีขีดความสามารถทันต่อความจำเป็นของราชการและความเปลี่ยนแปลงของโลก
4. ประชาชนและผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจต่อการให้บริการทางวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
•ค่านิยม
มุ่งมั่น สร้างสรรค์ กฎหมายไทยให้มีคุณภาพ
•วัฒนธรรมของส่วนราชการ
1. ยึดหลักความถูกต้อง หลักของเหตุและผลบนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
2. ยึดหลักความเป็นกันเอง มีความยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกัน และให้เกียรติซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานของความถูกต้องและระเบียบวินัย
สถานที่ติดต่อ
1 ถนนพระอาทิตย์ พระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. 02-222-0206-9 โทรสาร 02-226- 6201
http://www.krisdika.go.th
admin@krisdika.go.th
อำนาจหน้าที่
1. พิจารณาและจัดทำร่างกฎหมายตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย และ
พิจารณาเสนอความเห็นให้มีการแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย รวมทั้งช่วยเหลือ
หน่วยงานของรัฐในการจัดทำร่างกฎหมาย
2. ให้ความเห็นทางกฎหมายแก่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานของรัฐ
3. งานประสานการนิติบัญญัติ โดยการตรวจสอบดูแลงานกฎหมายของประเทศและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการเสนอกฎหมาย รวมทั้งการช่วยเหลืองานด้านกฎหมายในชั้นรัฐสภา
4. จัดทำคำแปลกฎหมาย ให้ความเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการกู้เงินและให้คำปรึกษาหรือ ปฏิบัติงานอื่นอันเกี่ยวกับกฎหมายให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือตามที่รัฐบาลต่างประเทศ หรือสถาบันระหว่างประเทศร้องขอ
5. วิจัยและพัฒนากฎหมาย โดยตรวจสอบสภาพปัญหาของประเทศและของสังคมแล้วทำการศึกษาวิจัยเพื่อเสนอร่างกฎหมายใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม
6. การพัฒนาหลักกฎหมายปกครองเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งรับผิดชอบกฎหมาย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
7. ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง โดยการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วให้บริการ ค้นคว้าแก่รัฐบาล รัฐสภา หน่วยงานของรัฐและประชาชน
8. ดำเนินการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ เพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน
9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
|