Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ส่วนราชการ / กระทรวงอุตสาหกรรม

กระทรวงอุตสาหกรรม
Ministry of Industry

ข้อมูลทั่วไป

วิสัยทัศน์
กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก เพื่อผู้ประกอบการและประชาชน


พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมทั้งชี้นำและเตือนภัยภาคอุตสาหกรรม ให้ก้าวทันโลก
2. สร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนและการประกอบกิจการ
3. สนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ให้มีความเข้มแข็งรองรับภัยพิบัติต่างๆ และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
4. กำกับดูแลการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ชุมชน และสังคม
5. บูรณาการและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมกับหน่วยงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้เกิดประสิทธิผล


เป้าประสงค์หลัก
1. การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และปรับโครงสร้างการผลิตสู่อุตสาหกรรมฐานความรู้
2. การส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและพัฒนาอุตสาหกรรม
3. การเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
4. การส่งเสริมสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
5. การพัฒนาสมรรถนะองค์กรเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ประกอบการและประชาชน


หน่วยงานในสังกัด


สถานที่ติดต่อ
ที่อยู่ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ
โทร. 02 2023000 ศูนย์บริการข้อมูล 1563   โทรสาร 02 202-3048
http://www.industry.go.th/
info@industry.go.th


อำนาจหน้าที่
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาผู้ประกอบการและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม


คำรับรองการปฏิบัติราชการ

หมายเหตุ :

ข้อมูลปี 2557

http://www.opdc.go.th/uploads/files/result_peform/2557/government_57/T57_Ministry.pdf

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงอุตสาหกรรม

ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้

1. การสอบทานกรณีปกติ

          1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

1. การตรวจราชการหน่วยงานในส่วนกลางในกรณีโครงการสำคัญของส่วนราชการตามแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 พบว่าผู้ตรวจราชการยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน

2. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรสาเหตุหลัก คือ อัตราว่างในฝ่ายต่างๆ ไม่ได้รับการบรรจุทำให้เป็นอุปสรรคใน
การปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

1. ผู้ตรวจราชการของกระทรวงควรประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาคัดเลือกโครงการสำคัญตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของกระทรวง เพื่อจัดทำแผนตรวจติดตามการดำเนินงาน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ

2.จากปัญหาสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดมีทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ควรให้กระทรวงกำหนดแนวทางบูรณาการทรัพยากรร่วมกันตามความจำเป็น เพื่อให้เกิดการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ
          1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
ผลการตรวจสอบภายในภาพรวมของกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า ในส่วนของการตรวจสอบการดำเนินงานยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมและการบริหารโครงการ สำหรับการตรวจสอบทางการเงินและการปฏิบัติตามกฎหมายยังมีปัญหาของข้อคลาดเคลื่อนในการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานการเงิน

1.ควรมีการเสริมสร้างความรู้ และทักษะที่ใช้ในการตรวจสอบที่เกี่ยวกับการตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ การกำกับดูแลและประเมินผลการปฏิบัติงาน  รวมทั้งการให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนราชการ  เช่น การใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามกฎหมาย/เป้าหมายตามนโยบายรัฐบาล

2.ควรส่งเสริมสนับสนุนอัตรากำลังและความก้าวหน้าของผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
          1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ผลการสอบทานและประเมินผลการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ตามคู่มือแนวทางการสอบทานและประเมินผลด้านการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง (ฉบับปรับปรุง กันยายน 2555) สรุปผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก

การสอบทานและสรุปผลประเมินฯ ให้ระดับคะแนนควรต้องดูคุณภาพของข้อมูลด้วย 
          1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

1. ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมบางส่วนราชการ ที่ไม่ได้ระบุปัจจัยสนับสนุน และอุปสรรคต่อการดำเนินงาน ซึ่งทำให้ผู้ประเมินไม่ทราบว่าการปฏิบัติราชการมีปัจจัยหรืออุปสรรคใดที่ ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของการดำเนินตามตัวชี้วัด

2.จากการรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน พบว่า ส่วนใหญ่มีตัวชี้วัดที่ 9 ร้อยละการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนและตัวชี้วัดที่ 10 ร้อยละการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายภาพรวมต่ำกว่าค่าเป้าหมาย 

1.  รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ บางหน่วยงานที่ไม่ระบุปัจจัยสนับสนุน และอุปสรรคต่อการดำเนินงาน นั้น ควรเน้นย้ำให้ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดจัดทำรายงานให้มีความครบถ้วน ครอบคลุมตามแบบรายงานที่กำหนด

2.ส่วนราชการควรมีการติดตามความก้าวหน้าการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ อย่างสม่ำเสมอรวมทั้งมีมาตรการอื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และเพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

          1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

1.   งบการเงินรวมกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งจัดทำขึ้นโดยโปรแกรมที่กรมบัญชีกลางกำหนด มียอดสินทรัพย์และหนี้สินแตกต่างจากยอดรวมจากงบการเงินของแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากมีรายการไม่สอดคล้องกัน (Unreconciled Items) ทำให้ยอดสินทรัพย์และหนี้สินเพิ่มขึ้นด้วยจำนวนที่เท่ากัน ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบสาเหตุและปรับปรุงรายการให้ถูกต้องต่อไป

2.   การบันทึกบัญชีในระบบ GFMIS ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มใช้ระบบ มีการบันทึกบัญชีคลาดเคลื่อน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจการปฏิบัติงานในระบบ GFMIS

3.   ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ยังมีการใช้จ่ายงบประมาณเพียงวันที่ 30 กันยายน 2555 ร้อยละ 82.54 ค่อนข้างต่ำกว่าเป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ (ร้อยละ 93)

1.   เพื่อให้งบการเงินรวม แสดงผลการดำเนินงานด้านการเงินอย่างแท้จริง ควรให้ผู้รับผิดชอบในการจัดทำงบการเงินรวม ปรับปรุงแก้ไขรายการให้ถูกต้องต่อไป

2.   กรณีที่การบันทึกบัญชี ยังมีข้อคลาดเคลื่อน ควรให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประสานงานกับกรมบัญชีกลาง เพื่อแก้ไขปรับปรุงรายการบัญชีให้ถูกต้องต่อไป

3.   เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ควรให้ผู้รับผิดชอบพิจารณาทบทวนสาเหตุและหามาตรการผลักดันให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย

 

2. การสอบทานกรณีพิเศษ

          1. โครงการสร้างความเป็นมืออาชีพด้านการจัดการโลจิสติกส์ในสถานประกอบการของ ภาคอุตสาหกรรม
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

      การดำเนินโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาและงบประมาณที่กำหนดจำนวน 9 โครงการ และล่าช้ากว่ากำหนด 1 โครงการ แต่ไม่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ 
เมื่อผลการดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้นหน่วยงานควรขยายผลการดำเนินงานที่เป็นต้นแบบ (Best Practices) สู่สถานประกอบการรายอื่นๆ 
          2. โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

ภายใต้โครงการอุตสาหกรรมสีเขียวของกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีบางโครงการย่อยที่ดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผน 
การที่จะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืนนั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก  จึงควรสร้างเครือข่ายธรรมาภิบาลแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมกับชุมชน
          3. โครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก (Thailand Food Quality to The World)
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

สถาบันอาหารใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในส่วนผลลัพธ์ของโครงการจะประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการในปี พ.ศ. 2561 ซึ่ง ขณะนี้ทางสถาบันอาหารกำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและออกแบบตัวชี้วัดที่สามารถวัดผลลัพธ์ได้ในอนาคต

   1.  สถาบันอาหารควรเลือกวัตถุดิบหรืออาหารหลักที่มีศักยภาพเหมาะสม

   2.  สถาบันอาหารควรมีการมอบประกาศนียบัตร ให้ผู้ประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และสถาบันอาหารต้องเข้าไปตรวจซ้ำ เพื่อจะได้มีการรักษาคุณภาพอย่างยั่งยืน  
          4. โครงการฟื้นฟูภาพลักษณ์ประเทศไทย
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

การดำเนินงานโครงการตามแผนประมาณงาน 40% เมื่อเทียบกับแผนงานที่วางไว้จนถึงสิ้นเมษายน ปี พ.ศ. 2556

1.   การลงโฆณาสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศควรเป็นสิ่งพิมพ์ที่ได้รับการนิยมและน่าเชื่อถือตรงกลุ่มเป้าหมาย

2.  การประชาสัมพันธ์ในการจัดประชุมสัมมนาการลงทุนในต่างประเทศควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์/แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

3.  การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ ควรมีการวัดผลความสำเร็จของการจัดกิจกรรมแต่ละประเทศ
          5. โครงการศึกษาและประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) การพัฒนาเหมืองแร่โปแตชภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

ผลที่ได้จากการดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายการเสนอทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์  

การจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง และต้องยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด

          6. โครงการจัดทำฐานข้อมูลเชิงลึกรายกลุ่มจังหวัด
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

ผลจากการดำเนินงานโครงการจัดทำฐานข้อมูลเชิงลึกรายกลุ่มจังหวัด เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะต้องเผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมายอย่างครบถ้วน  ถูกต้อง และทันสมัย

การดำเนินการโครงการล่าช้า ควรต้องมีการเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถนำผลที่ได้จากการดำเนินงานโครงการไปปฏิบัติได้จริง


เข้าสู่ระบบ
Username  
Password  
 

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th