ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เป้าประสงค์หลัก หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ อำนาจหน้าที่ |
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อมูลปี 2557
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงสาธารณสุข
ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้1. การสอบทานกรณีปกติ
1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
การตรวจราชการของกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ
พ.ศ. 2548 โดยมีการจัดทำแผนการตรวจราชการประจำปี การจัดทำแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการ
และรายงานผลการตรวจราชต่อปลัดกระทรวงฯ เพื่อทราบและพิจารณา สั่งการ และมีการติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการ |
ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขควรตรวจติดตามและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงแผนการตรวจราชการประจำปีกับแผนการปฏิบัติราชการ เพื่อให้ทราบถึงกลยุทธ์ / กระบวนงานที่เป็นปัจจัยเอื้อให้งานสำเร็จ และปัจจัยปัญหาและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อแผนการดำเนินงานที่วางไว้ |
1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากการที่หน่วยงานไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน | ผู้บริหารทุกระดับต้องนำระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานการควบคุมกำกับและการบริหารจัดการ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับระบบการตรวจสอบภายใน ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการเพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริหารงาน ที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance ) |
1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
หลายส่วนราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขยังจัดทำรายงานไม่ถูกต้องตามแนวทาง : การจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินระบบการควบคุมภายในของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินปี 2552 | ทุกส่วนราชการควรให้ความสำคัญกับการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน รวมทั้งการจัดทำรายงานการควบคุมภายในระดับองค์กรให้ครบถ้วนถูกต้องตามแนวทางฯ ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน |
1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ยังไม่มีความชัดเจนในการนำผลการดำเนินงานตามคำรับรองไปใช้ประโยชน์หรือไปเชื่อมโยงกับการขึ้นเงินเดือนให้กับบุคลากร อย่างไรก็ดี ผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จ โดยได้นำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์การ |
ในการพัฒนาหน่วยงานให้มีขีดสมรรถนะสูงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นให้การนำองค์กรเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์ มีการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การปฏิบัติงานราชการต้องมุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นสำคัญ |
1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
วิเคราะห์สถานะการเงินของกระทรวงสาธารณสุข
ประจำปีงบประมาณ 2555
พบว่า กระทรวงสาธารณสุข มีสภาพคล่องในอยู่เกณฑ์ดี |
ไม่มี |
2. การสอบทานกรณีพิเศษ
1. โครงการตรวจติดตามนโยบายและปัญหาเร่งด่วนของกระทรวงสาธารณสุข
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ การดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติงานได้ประสิทธิผลแต่ยังขาดประสิทธิภาพ |
ควรพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายสถานพยาบาล ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจแก่ผู้ป่วย รวมทั้งการให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจ เพื่อให้รับทราบข้อมูลและเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา การพัฒนาองค์ความรู้แก่บุคลากร มาตรฐานการดูแลและการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่ถูกต้องรวดเร็วและปลอดภัย และพัฒนาระบบ IT ให้มีข้อมูลเชื่อมโยงและครอบคลุมทั้งจังหวัด |
2. โครงการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยภาพรวมกระทรวงสาธารณสุข
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ การดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติงานได้ประสิทธิผลแต่ยังขาดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ พบว่า การจัดสรรงบประมาณอาจจะล่าช้าทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามที่วางไว้ รวมถึงการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องยาวนาน ทำให้เครื่องมือขำรุดทรุดโทรมรวดเร็ว |
ผู้บริหารควรให้ความสนใจให้ความสำคัญมอบนโยบายการดำเนินงานที่ชัดเจน นอกจากนี้ควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้ความร่วมมือช่วยเหลือ สนับสนุนซึ่งกันและกันทั้งด้านบุคลากร และงบประมาณ |