ข้อมูลทั่วไป
หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ อำนาจหน้าที่ |
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงศึกษาธิการ
ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้1. การสอบทานกรณีปกติ
1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
การดำเนินการครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 | ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ควรติดตามการพัฒนาการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพและการบริหารจัดการการศึกษา |
1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. การปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ ข้อสังเกตที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การเบิกเงินเกินสิทธิ การเบิกจ่ายเงินล่าช้า มีลูกหนี้เงินยืมราชการค้างนานเกินกำหนด หน่วยงานออกใบเสร็จรับเงินไม่ครบถ้วน เป็นต้น และหลักฐานการจ่ายเงิน ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ขาดลายมือชื่อผู้รับเงิน วันที่รับเงิน ฯลฯ 2.การตรวจสอบรายงานการเงินพบข้อสังเกตส่วนใหญ่ ได้แก่ การจัดทำบัญชีไม่ครบถ้วน ไม่เป็นปัจจุบัน ไม่บันทึกรายการในระบบ GFMIS หรือบันทึกรายการแต่ไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้รายงานการเงินไม่ถูกต้อง |
1. กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง ควรได้ร่วมกับหน่วยงานตรวจสอบภายในในสังกัด โดยร่วมกันตรวจสอบการบริหารงบลงทุน และการตรวจสอบระบบความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ และได้ร่วมกันจัดทำแผนการปฏิบัติงานตรวจสอบ แนวทางการปฏิบัติงานตรวจสอบ รวมถึงกระดาษทำการ เพื่อใช้ในกิจกรรมการตรวจสอบ 2. ควรประเด็นการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แฝงอยู่ในการตรวจสอบการบริหารงบลงทุน พร้อมทั้งกำหนดกระดาษทำการที่ใช้ในการตรวจสอบ เพื่อให้ผู้ตรวจสอบสามารถรายงานผลการตรวจสอบได้เพิ่มขึ้น 3. ควรพัฒนาเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน โดยดำเนินการประเมินตามกรอบการประเมินคุณภาพงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการที่กรมบัญชีกลางกำหนด |
1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. ผลการประเมินระดับความเหมาะสมของการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของกระทรวงอยู่ในระดับดี (71.30 คะแนน) 2.การจัดส่งเอกสารหลักฐานครบถ้วน ตรงตาม ระยะเวลาที่กำหนด 3. มีกระบวนการติดตามผลการดำเนินการตามแผนการปรับปรุง รวมทั้งผู้ตรวจสอบภายใน มีการสอบทานและรายงานความเห็นอย่างสมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ และสอดคล้องกับรายงานแต่ละแบบ |
1. หน่วยงานทุกแห่งทั้งระดับหน่วยรับตรวจ และระดับส่วนงานย่อยควรให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งส่งเสริมบุคลากรของหน่วยงานให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการดำเนินงานการจัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในของหน่วยงาน 2.หน่วยงานควรมอบหมายผู้รับผิดชอบในการติดตามเร่งรัดการจัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในของส่วนงานย่อยในสังกัด |
1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
มิติภายนอก ตัวชี้วัดที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1.1.1 อัตราส่วนของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า /ประชากรกลุ่มอายุ 15-17 ปี และตัวชี้วัดที่ 1.1.2 อัตราส่วนของผู้เรียนระดับ อุดมศึกษา/ประชากรกลุ่มอายุ 18-21 ปี ตัวชี้วัดที่มีแนวโน้มลดต่ำลงทุกปี ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1.1.7 สัดส่วนของผู้เรียนมัธยม ศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา : สามัญศึกษา มิติภายใน ตัวชี้วัดที่ 9 ร้อยละของการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน พบว่าการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลที่กำหนด |
1. ควรมีการส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าให้มากยิ่งขึ้น 2. ควรมีการศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้อัตราส่วนผู้เรียนระดับอุดมศึกษา/ประชากรกลุ่มอายุ 18-21 ปี ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และกำหนดเป้าหมายการรับนักศึกษาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ 3.ควรมีการส่งเสริมให้มีการเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้นด้วยการยกระดับคุณภาพและค่าตอบแทนให้สูงขึ้น ขณะเดียวกันรัฐต้องกำหนดนโยบายลดเป้าหมายการรับนักเรียนสายสามัญศึกษาให้สอดคล้องกัน 4.การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ เป้าหมายและตัวชี้วัดในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการอย่างจริงจัง 5.ควรกำหนดตัวชี้วัดการจัดลำดับการคอรัปชั่นขององค์กรความโปร่งใสระหว่างประเทศ(TransparencyInternational :TI) เป็นตัวชี้วัดร่วมระหว่างกระทรวง และควรกำหนดค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักให้มีค่าสูงขึ้น 6. ควรมีการจัดทำแผนปฏิบัติการการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนและเร่งรัดให้การใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนและเป้าหมาย |
1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
การเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 94.00 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายที่คณะรัฐมนตรีกำหนด |
1. หน่วยงานควรมีมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามแผนและนำผลการเบิกจ่ายงบประมาณมาประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีหน่วยงานไม่สามารถใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ตามแผนที่กำหนด 2. ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ โดยนำผลการเบิกจ่ายไปสร้างสิ่งจูงใจให้เหมาะสมทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของเงินรางวัลหรือให้ประโยชน์จากเงินเหลือจ่าย เพื่อพัฒนาหน่วยงานหรือบุคลากร |
2. การสอบทานกรณีพิเศษ
1. โครงการสร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก (กศน.ตำบล)
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ จำนวนบุคลากรใน กศน.ตำบลมีไม่เพียงพอในการให้บริการชุมชน นอกจากนี้ ยังมีภาระงานอื่นที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายของรัฐบาลหรือผู้บริหารในหลายภารกิจ หากไปราชการจะไม่สามารถเปิดให้บริการแก่ชุมชนได้ |
ควรสนับสนุนการดำเนินงาน กศน. ตำบล อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และ องค์ความรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจกรรมของการดำเนินงานของ กศน.ตำบล |
2. โครงการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ให้แก่นักเรียน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1. ยังไม่มีการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) สำหรับครูผู้สอน ซึ่งอาจกระทบต่อ การเรียนการสอน และเครื่องต้องมีสมรรถนะสูงกว่าเครื่องของนักเรียน 2.การฝึกอบรมครูไม่สอดคล้องกับการได้รับเครื่องของโรงเรียน 3.เมื่อนักเรียนเลื่อนชั้นเรียนต้องมีการปรับเปลี่ยนบทเรียนที่สูงขึ้น บางโรงเรียนอาจประสบปัญหาในการปรับเนื้อหาและโปรแกรมใหม่ 4.โรงเรียนบางแห่งโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กยังขาดอุปกรณ์ประกอบการสอน 5.การจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ไม่มีการจัดซื้อตู้เก็บและชาร์จไฟให้โรงเรียน 6.ในกรณีที่นักเรียนมีการโอนย้ายโรงเรียน ข้ามหน่วยงาน ยังไม่มีระเบียบรองรับในการโอนย้ายครุภัณฑ์ระหว่างหน่วยงาน ทำให้นักเรียนที่โอนย้ายไปไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ในการเรียนการสอน |
1. โรงเรียน ครูหรือผู้ปกครองต้องช่วยเหลือในการชาร์จแบตเตอรี่ให้พร้อมก่อนที่นักเรียนจะใช้งานและไม่ให้มีการชาร์จแบตเตอรี่ในขณะที่นักเรียนใช้งาน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่นักเรียนได้ 2.ควรมีการเร่งรัดการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) สำหรับครูผู้สอนเพื่อให้สามารถใช้ประกอบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.มีการวางแผนการฝึกอบรมครูผู้สอนให้สอดคล้องกับการรับเครื่องของโรงเรียน 4.ควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมกรณีพิเศษสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กหรือโรงเรียนที่ขาดแคลน 5.ควรมีการศึกษาและปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการโอนย้ายครุภัณฑ์ระหว่างหน่วยงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ของนักเรียนสามารถติดตามตัวนักเรียนในการย้ายสถานศึกษาต่างสังกัด |
3. แผนงาน/โครงการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1.สถานศึกษา/หน่วยงานบางแห่งได้รับงบประมาณไม่เพียงพอกับความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถหาผู้รับจ้างได้ จึงต้องคืนเงินงบประมาณ 2.การดำเนินการก่อสร้างทำได้ช้า เนื่องจากจำนวนผู้รับจ้างไม่เพียงพอ 3.การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าไม่เป็นไปตามแผน 4.หน่วยปฏิบัติมีภาระในการรายงานผลการดำเนินงานการฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างทั้งรูปแบบ รายละเอียดข้อมูลและระยะเวลาในการรายงาน |
1.หน่วยงานควรพิจารณาเจียดจ่ายงบประมาณของหน่วยงานสนับสนุนสถานศึกษาที่ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอจากผลกระทบอุทกภัยตามความจำเป็น เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้ 2.สถานศึกษา/หน่วยงานควรมีการประเมินความเสี่ยงหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และกำหนดแนวทางการป้องกันแก้ไขไว้ล่วงหน้าจะสามารถ ลดความรุนแรงของผลกระทบนั้นได้ 3.ผู้บริหารควรให้ความสำคัญมีการกำกับ ดูแล เร่งรัดการดำเนินงานในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ การปรับปรุง ซ่อมแซมหน่วยงานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ให้สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว 4.ควรมีการวางระบบการติดตามรายงานผล การดำเนินงานในภาพรวมของกระทรวงที่เป็นเอกภาพ มีการบูรณาการข้อมูลและระยะเวลาในการรายงานของทุกหน่วยงาน เพื่อลดภาระในการรายงานของหน่วยปฏิบัติให้น้อยลง |