ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย หน่วยงานในสังกัด สถานที่ติดต่อ อำนาจหน้าที่ |
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อมูลปี 2557
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้1. การสอบทานกรณีปกติ
1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
มีการจัดทำแผนการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 และรายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการ รามทั้งรายงานผลการตรวจราชการตามแผน ซึ่งรายงานครอบคลุมประเด็นการตรวจ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ | การตรวจราชการแบบบูรณาการโครงการควรเพิ่มเติมสถานะเครื่องวัดหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการแสดงผลสัมฤทธิ์ของงาน เป็นต้น |
1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
รายงานผลการตรวจสอบด้านการเงิน การบัญชี การปฏิบัติเป็นไปตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่กำหนด |
กลุ่มตรวจสอบภายในระดับกระทรวง ควรปรึกษาหารือ ทำความเข้าใจกับส่วนราชการในสังกัด สำหรับมาตรฐานที่ผลการประเมินออกมาต่ำ เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น |
1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
พบว่าภาพรวมส่วนราชการในสังกัดทั้ง 3 หน่วยงานได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการควบคุมภายใน โดยการประเมินผลระบบควบคุมภายในเป็นไปตามวิธีการที่กำหนด มีความเพียงพอและคาดว่า สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน ซึ่งภารกิจการปิด/ลดความเสี่ยงอยู่ระหว่างดำเนินการ |
1. ควรจัดทำลำดับความเสี่ยงของกระบวนงานที่มีโอกาส (ความถี่) จะเกิดขึ้น และผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความเสียหายรุนแรงต่อองค์กร (ความสัมฤทธิ์ผล) เกี่ยวกับ คน งาน และเงิน การจัดลำดับนี้จะปรากฏภาพ ลด/ปิดความเสี่ยง ชัดเจนในการจัดวางระบบควบคุมภายใน 2. ควรมีการประชุมหารือกันระหว่างหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเรื่องการจัดวางระบบควบคุมภายใน เพื่อให้มีทิศทางในแนวทางเดียวกัน |
1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
รายงานผลการประเมินตนเองตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดมีความครบถ้วน ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ |
1. การปฏิบัติราชการของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน ระหว่างกระทรวง (Joint KPI) ต้องดูห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องกับ วท. จึงจะทำให้ขับเคลื่อนและพัฒนาได้ 2. ตัวชี้วัดร่วมระหว่างกระทรวง (Joint KPI) เกี่ยวกับเรื่องการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นภารกิจของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องใช้ระยะเวลามาก การบรรลุผล/ ความสำเร็จของตัวชี้วัดที่จะได้ในระดับ 5 จึงเป็นไปได้ยาก |
1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณจากระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์
(GFMIS) ผลเฉลี่ยภาพรวมของส่วนราชการในสังกัดดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ
34.20 จากเป้าหมายที่สำนักงบประมาณกำหนดไว้
ที่ |
1. หน่วยรับตรวจ ควรมีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุน อย่างเร่งด่วนในกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ 2. ควรประชุม ปรึกษา หารือ ในกรณีที่จะขจัดข้ออุปสรรคในการเบิกจ่ายเงิน ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ระหว่างผู้รับผิดชอบ/ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. พิจารณางบการเงิน (เงินอุดหนุน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ ควรมีหมายเหตุประกอบงบของแต่ละส่วนราชการซึ่งจะปรากฏผลลัพธ์ความสำเร็จในการพัฒนา วท. ให้ประโยชน์ที่ชัดเจน |
2. การสอบทานกรณีพิเศษ
1. โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1. มีการกำกับ ดูแล เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ 2. เป็นโครงการที่ดี ผลผลิต ผลลัพธ์ สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่นได้ |
1. โครงการกิจกรรมหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมตรงตามความต้องการ/วัตถุประสงค์ของชุมชนที่มีอยู่ หรือเทคโนโลยี/หลักการ/หลักเกณฑ์ต้องชัดเจน 2. ควรขยายผลความสำเร็จ ไปยังชุมชนท้องถิ่นใกล้เคียงในระดับแม่ข่าย 3. เทคโนโลยีในปัจจุบันที่ วท. ควรนำเสนอเข้าไปหมู่บ้านแม่ข่ายทั้ง 4 ด้าน เช่น น้ำ/ปุ๋ย/ขยะ/พลังงาน ดังนั้น จึงควรเชื่อมโยงเข้าโครงการคลินิกเทคโนโลยีแม่ข่าย วทน. และอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรม |
2. 2. งบค่าใช้จ่ายการเจรจาและประชุมนานาชาติ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินงาน การบริหารจัดการงบค่าใช้จ่ายดังกล่าว สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม |
1. ควรกำหนดกรอบ ทิศทางของกิจกรรมการประชุมที่เกิดในระดับสากลของแต่ละรอบปีในการเข้าประชุมเจรจานานาชาติแต่ละครั้ง เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง 2. การประชุมเจรจาในฐานะสมาชิกหรือข้อผูกพัน ควรกำหนด/คาดหวังที่ชัดเจนของผลผลิต ผลลัพธ์ในแต่ละครั้ง และควรประสานกับฝ่ายเลขานุการหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เพื่อกำหนดแนวทาง ผลผลิต ผลลัพธ์ 3. ควรจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการพัฒนาคนในโอกาสต่อไป |