Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ส่วนราชการ / กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงยุติธรรม
Ministry of Justice

ข้อมูลทั่วไป

วิสัยทัศน์
หลักประกันความยุติธรรมตามมาตรฐานสากล


พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. บริหารจัดการการอานวยความยุติธรรมในสังคมด้วยความชอบธรรม
2. พัฒนาคุณภาพการดาเนินการตามกฎหมาย พันธกรณีระหว่างประเทศ และมาตรฐานระบบงานยุติธรรม
3. วิจัยและพัฒนาระบบงานยุติธรรมและกฎหมาย
4. พัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือก
5. บูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
6. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
7. บริหารจัดการระบบงานยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยความเป็นธรรม
8. ส่งเสริมการบูรณาการงานยุติธรรมและความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ
9. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง


เป้าประสงค์หลัก
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบงานยุติธรรมและการอานวยความยุติธรรมตามมาตรฐานสากล
เป้าประสงค์
1. ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากการบริหารจัดการ
2. การอานวยความยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรม
3. ปัญหายาเสพติดได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและ เป็นไปตามมาตรฐาน
4. ปัญหาการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ
5. ระบบงานของกระทรวงยุติธรรมเป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
6. ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าถึงและได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกันอำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 เร่งรัดพัฒนาระบบงานยุติธรรมทางเลือก
เป้าประสงค์
1. ระบบงานยุติธรรมทางเลือกได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบการจัดการภายในองค์การ
เป้าประสงค์
1. ระบบบริหารจัดการมีคุณภาพ และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้
2. บุคลากรกระทรวงยุติธรรมมีขีดสมรรถนะสูง
3. กระทรวงยุติธรรมมีระบบการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระบบงานยุติธรรมและกฎหมาย
เป้าประสงค์
1. กระทรวงยุติธรรมมีการนานวัตกรรมหรือผลงานวิจัยมาใช้พัฒนาระบบงานยุติธรรมและกฎหมาย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระบบงานยุติธรรม
เป้าประสงค์
1. เครือข่ายความร่วมมือด้านงานยุติธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศมีความเข้มแข็ง
2. มีการเชื่อมโยงข้อมูลด้านงานยุติธรรมเพื่อให้การขับเคลื่อนงานยุติธรรมมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


หน่วยงานในสังกัด


สถานที่ติดต่อ
ศูนย์ราชการฯ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทร. 0 2141 6435   โทรสาร Fax 0 2-143- 9883
http://www.moj.go.th/


อำนาจหน้าที่
กระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม


คำรับรองการปฏิบัติราชการ

หมายเหตุ :

ข้อมูลปี 2557

http://www.opdc.go.th/uploads/files/result_peform/2557/government_57/N57_Ministry.pdf

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงยุติธรรม

ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้

1. การสอบทานกรณีปกติ

          1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

1. พบปัญหาที่เกิดซ้ำ ๆ โดยยังไม่ทราบว่าได้รับการแก้ไขหรือไม่ ประกอบกับไม่พบการติดตามผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะหรือการสั่งการของผู้ตรวจราชการ

2. ความเสี่ยงและประเด็นความเสี่ยงที่ทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการยังคงมีอยู่ แม้มีแนวทาง/มาตรการ รวมทั้งข้อเสนอแนะในการจัดการกับความเสี่ยงแล้วก็ตาม

1. ควรมีการติดตามผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะหรือการสั่งการของผู้ตรวจราชการ (ครั้งก่อน)และจากสมุดตรวจราชการ ให้ครบถ้วนทุกเขตอย่างต่อเนื่อง และมีการรายงานให้ผู้บริหารพิจารณาในแต่ละประเด็นว่าเป็นผลสำเร็จแล้วอย่างไร

2. กรณีโครงการยังคงพบว่ามีความเสี่ยงอยู่ควรกำหนดการควบคุมเพื่อจำกัดความเสี่ยงโดยการติดตามการจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องต่อไป 
          1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

1. บางหน่วยงานไม่มีการตรวจสอบเพื่อกระทบยอดรายงานเงินสดคงเหลือประจำวันจากระบบ GFMIS และจากระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลกลางกับรายงานเงินสดคงเหลือประจำวันในระบบมือให้ตรงกันเป็นประจำทุกวัน, หลายบัญชีมียอดคงเหลือไม่ถูกต้อง, เงินนอกงบประมาณบางรายการไม่บันทึกบัญชี ในระบบ GFMIS,บัญชีสินทรัพย์ปรากฏในระบบ GFMIS บันทึกรายการน้อยกว่าครุภัณฑ์ที่ตรวจนับได้จริง เป็นต้น

2. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานการเงิน การบัญชี มีความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ไม่เพียงพอ และบางหน่วยงานยังคงมีการโยกย้าย สับเปลี่ยนหน้าที่ โดยไม่มีการส่งมอบงาน

โดยภาพรวมยังมีจุดที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นเพื่อให้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายในเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในด้านความรู้ ทักษะ และความสามารถที่หลากหลาย ได้แก่ การตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบดำเนินงาน ในการประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่า ตรวจสอบระบบ GFMIS รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การบัญชี พัสดุ และการงบประมาณ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
ส่วนราชการมีการวางระบบการควบคุมภายในได้อย่างเพียงพอเหมาะสม การดำเนินงานควบคุมภายในของส่วนราชการได้รับความร่วมมือจากส่วนงานย่อย
ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีบางส่วนราชการที่วิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการและกำหนดแนวทางการปรับปรุงได้ไม่ คลอบคลุมภารกิจหลัก ซึ่งจะต้องพิจารณาเพิ่มเติมในปีต่อไป
ควรมีการปรับปรุงการควบคุมภายใน โดยจัดทำรายงานการควบคุมภายในให้ครบถ้วนในกระบวนงานของหน่วยงานทั้งภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุนให้ได้ทุกระดับหน่วยงานย่อยในสังกัดส่วนราชการ
          1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
การสอบทานนี้มีขอบเขตการปฏิบัติงานและ ระยะเวลาที่จำกัดโดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อมูลต่าง ๆ จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการสอบทาน พบว่า คะแนนการประเมินตนเองรวม 2 มิติ ค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ประมาณ  2.7464 จากระดับคะแนน 5 การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบของรายงานที่ครบถ้วน และตัวชี้วัดเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพ ควรกำหนดให้ส่วนราชการชี้แจงและแสดงถึงการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพในการยกระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้กำหนดนโยบายด้วย 
          1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
ภาพรวมผลการเบิกจ่ายภาพรวมงบรายจ่ายประจำต่ำกว่าเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรี และภาพรวมงบรายจ่ายลงทุนต่ำกว่าเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดค่อนข้างมาก

ผู้บริหารควรมีการกำกับดูแล และนำข้อมูลผลการดำเนินงานทางการเงินภาพรวมกระทรวง ยุติธรรมไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย ภาระผูกพัน วิเคราะห์สถานะทางการเงิน  และการตัดสินใจในการบริหารจัดการทางการเงินและงบประมาณ เพื่อให้การบริหารจัดการทางการเงินและงบประมาณเกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2. การสอบทานกรณีพิเศษ

          1. โครงการบูรณาการเสริมสร้างความยุติธรรมและความเข้มแข็งในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

      แผนปฏิบัติการดังกล่าวมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจนเพียงพอที่จะเป็นแนวทางในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดโครงการบำบัดแก้ไขฟื้นฟู และโครงการค่ายแกนนำเยาวชนเสริมสร้างพลังเพื่อสังคมสร้างสรรค์ที่ดีภายใต้โครงการเสริมพลังชุมชนและสร้างความเข้มแข็งแก่เยาวชน “พินิจต้นแบบ” ตามวิถีแห่งไทยมุสลิมต่อไป

2. การจัดโครงการและกิจกรรมที่เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรนำข้อคิดเห็นจากการประชุมกลุ่ม เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงกิจกรรม/โครงการให้สอดคล้องกับความต้องการและเป็นไปตามวิถีชีวิตของชุมชนในแต่ละพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
          2. โครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

     ระหว่างการดำเนินงานบางกิจกรรมการฝึกอบรมช่วงเวลามีความล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนด และบางกิจกรรมมีการเพิ่มเติมพื้นที่จัดอบรมนอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน ซึ่งผลการดำเนินงานภาพรวม ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เป็นไปตามแผนที่กำหนด 

1. สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ ควรมีการขยายวงกว้างกลุ่มเป้าหมายภาคประชาชนให้หลากหลายสาขาอาชีพ ในโครงการเครือข่ายสมานฉันท์และสันติวิธีในชุมชน เพิ่มมากขึ้น และจัดให้มีหลักสูตรสอดแทรกเนื้อหาในการน้อมนำแนวทางพระราชดำริมาใช้

2. สำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ ควรนำสรุปผลการนำเสนอความคิด และข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน มาพิจารณาและพัฒนา แนวทางการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น 

          3. โครงการคืนคนดีสู่สังคม
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ

      ดำเนินการได้สูงกว่าแผนที่กำหนด อย่างไรก็ตาม พบว่าผลการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ  

1. ควรสนับสนุนงบประมาณโครงการคืนคนดีสู่สังคมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายให้เข้าร่วมโครงการ

2. การจัดทำฐานข้อมูลผู้พ้นโทษ ควรมีรายละเอียดหรือสถิติ การประกอบอาชีพเดิม และอาชีพส่วนใหญ่ของผู้พ้นโทษ เพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาพัฒนาหลักสูตรการฝึกวิชาชีพระยะสั้นของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมเพิ่มทักษะทางวิชาชีพการทำงาน ให้ตรงกับความต้องการ และสอดรับกับตลาดแรงงานภาคเอกชนด้วย

3. ระบบติดตามควรมีการประเมินผลทั้งผู้พ้นโทษที่เข้าร่วมโครงการที่ไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำ และผู้พ้นโทษที่กลับมากระทำผิดซ้ำ และใช้เป็นการเปรียบเทียบการประเมินผลทุกปี

เข้าสู่ระบบ
Username  
Password  
 

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th