วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และการบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อการสนับสนุนส่งเสริมให้อุตสาหกรรมของประเทศเข้มแข็ง
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
เป็นการกล่าวถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และความสัมพันธ์ที่สำคัญกับประชาชนผู้รับบริการ ส่วนราชการอื่น และประชาชนโดยรวม
เป้าประสงค์หลัก
1. นโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ชัดเจนที่มีการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างสัมฤทธิ์ผลในทุกระดับ 2. มีระบบการติดตามผลการดำเนินงานด้านยุทธศาสตร์และแผนงาน/โครงการที่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำกับการปฏิบัติงานและทบทวนยุทธศาสตร์องค์กรต่อไป 3. พัฒนาบทบาทของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดให้เป็นแกนหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 4. เพิ่มบทบาทของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในการกำกับดูแล ส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค 5. ชุมชนมีส่วนร่วมและมีความเข้าใจเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อลดการต่อต้านการประกอบการอุตสาหกรรมในพื้นที่ 6. อุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียวมากขึ้น 7. เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการให้บริการให้เป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ 8. พัฒนาบุคลากรและสร้างระบบการจัดการองค์ความรู้เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)และสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) 9. ประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อลดกระแสการต่อต้านการประกอบการอุตสาหกรรม
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
รับผิดชอบในหน้าที่ เสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ มีความซื่อสัตย์สุจริต จิตอาสาบริการ
สถานที่ติดต่อ
ถนนพระราม 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 02-202- 3000 โทรสาร 0 2-202- 3048, 0 2-202 -326
http://www.industry.go.th/ops
info@industry.go.th
อำนาจหน้าที่
1. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำข้อมูลเพื่อเสนอแนะรัฐมนตรี สำหรับใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง 2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง 3. แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนปฏิบัติงาน 4. จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวง เพื่อให้เกิดการประหยัด คุ้มค่า และสมประโยชน์ 5. กำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผล รวมทั้งประสานการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัด กระทรวง 6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของหน่วยงานใน สังกัดกระทรวง 7. ประสานการบริหารราชการและปฏิบัติงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงในต่างประเทศ 8. กำกับ ดูแล และส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยแร่ กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมแร่ดีบุก กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
|