วิสัยทัศน์
องค์กรที่เป็นเลิศด้านการคุ้มครอง และส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และสมประโยชน์ มุ่งสู่สังคมสุขภาพดี
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. พัฒนาระบบการควบคุม กำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั่วประเทศ และสามารถเทียบเคียงได้ในระดับสากล
2. สร้างความตระหนัก เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่ถูกต้อง
3. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเฝ้าระวังและติดตามการเคลื่อนไหวของตัวยา เคมีภัณฑ์ จำเป็นและสารตั้งต้นด้านวัตถุเสพติดที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของ อย. ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
เป้าประสงค์หลัก
1. ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และสมประโยชน์ มุ่งสู่สังคมสุขภาพดี
2. ประชาชนเชื่อมั่นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ สุขภาพ
3. ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
PROTECT
P = ห่วงใยประชา (People Centric)
R = สร้างศรัทธาความเชื่อมั่น (Reliability)
O = มุ่งมั่นเรียนรู้ (Ongoing Learning)
T = เชิดชูทีมงาน (Team work)
E = ยึดหลักการคุณธรรม จริยา (Ethic)
C = พร้อมพัฒนาขีดสมรรถนะ (Competency)
T = ไม่ลดละความโปร่งใส (Transparency
สถานที่ติดต่อ
88/24 ม.4 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร. 0 2-590 -7000 โทรสาร Fax 0 2-590 -7116
www.fad.moph.go.th
อำนาจหน้าที่
หน้าที่ตามกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีดังนี้
1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. เฝ้าระวัง กำกับ และตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านสารเคมีของประเทศ และเป็นแกนกลางร่วมดำเนินการกับองค์กรระหว่างประเทศด้านสารเคมี ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภายในประเทศและนอกประเทศ
4. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. ส่งเสริม และพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียนเพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
6. พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ
7. พัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชน และผลประโยชน์ของประเทศชาติ
8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
|