วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรเชี่ยวชาญและแหล่งอ้างอิงทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการของอาเซียน
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
ให้บริการด้านการวิเคราะห์ทดสอบในระดับเชี่ยวชาญของประเทศ วิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการทดสอบที่สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล และเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยการบริหารจัดการเชิงรุกแบบบูรณาการภายใต้ระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
เป้าประสงค์หลัก
กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้กำหนดเป้าประสงค์หลักไว, 4 เป้าประสงคดังนี้
1. ภาคการผลิตสามารถเพิ่มมูลค่าและคุณภาพการผลิตให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
2. ห้องปฏิบัติการของประเทศมีความเข้มแข็งนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันของภาค
การผลิตและบริการ เพื่อลดการกีดกันทางการค้า
3. เทคโนโลยีที่ถ่ายทอดได้นำไปใช้ประโยชนในทางเศรษฐกิจและสังคม
4. กำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับการเสริมสร้างขีดความสามารถทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้กำหนดค่านิยมสร้างสรรค์ของบุคลากรไว้ ดังนี้
ค่านิยมหลักขององค์การ “I AM DSS”
? ?ซื่อสัตย์และมีคุณธรรม (Integrity)
? ?รับผิดชอบต่อสังคม (Accountability)
? ?ใส่ใจต่องาน (Mindfulness)
? ?กล้าตัดสินใจ (Decisiveness)
? ?สร้างความพึงพอใจ (Satisfaction)
? ?พัฒนาตนเอง (Self- development)
สถานที่ติดต่อ
75/7 ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0-2201-7000-4 โทรสาร 0-2201-7466
www.dss.go.th
webmaster@dss.go.th
อำนาจหน้าที่
ให้กรมวิทยาศาสตร์บริการ มีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการทางวิทยาศาสตร์ โดยการดำเนินการ
กำกับดูแล ส่งเสริม วิจัยพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งเป็นสถานปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อเสริมสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. พัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการ โดยการส่งเสริมสนับสนุนและดำ เนินการรับรองระบบงาน
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ด้านเคมี ด้านฟิสิกส์ และด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ตามมาตรฐานสากล
เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถห้องปฏิบัติการให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทำให้
ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
2. พัฒนาศักยภาพบุคลากรห้องปฏิบัติการ โดยการบริหารจัดการศึกษาและผู้กอบรมทางวิชาการและเทคนิคปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้แก่บุคลากรห้องปฏิบัติการของภาครัฐและภาคเอกชน ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
3. พัฒนาหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการจัดหา จัดระบบและจัดการบริการสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นแหล่งกลางของข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
4. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชุมชน โดยการศึกษา วิจัย พัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน
สาขาที่สำคัญ และตามความจำเป็น รวมทั้งการถ่ายทอดไปสู่การใช้ประโยชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศ
5. เป็นสถานปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยให้บริการ วิเคราะห์
ทดสอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทางด้านฟิสิกส์ เคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ ฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรมและ
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และวิเคราะห์ทดสอบมลพิษในสิ่งแวดล้อมทางด้านฟิสิกส์ เคมีเชิงฟิสิกส์ และ
ฟิสิกส์เชิงกลและวิศวกรรม รวมทั้งสอบเทียบความถูกต้อง เที่ยงตรง ของเครื่องมือและอุปกรณ์วัดแก่
หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือ
คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
|