ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เป้าประสงค์หลัก หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ อำนาจหน้าที่ |
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อมูลปี 2557
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงพลังงาน
ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้1. การสอบทานกรณีปกติ
1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
การตรวจราชการของกระทรวงพลังงานปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 กฎเกณฑ์และข้อบังคับที่กำหนด | ไม่มี |
1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. หน่วยตรวจสอบภายในบางหน่วยงานได้รับจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอกับภารกิจ 2. อัตรากำลังผู้ตรวจสอบภายในของบางหน่วยงานมีไม่เพียงพอ 3. ข้อตรวจพบด้านกฎ ระเบียบ พบว่า ข้าราชการบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจชัดเจนในเรื่องกฎ ระเบียบฯ เกี่ยวกับการเบิกจ่าย |
1. ส่วนราชการควรพิจารณาสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยตรวจสอบภายในอย่างเพียงพอ 2. ส่วนราชการควรพิจารณาจัดสรรอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามที่มติคณะรัฐมนตรีฯ กำหนด 3. ส่วนราชการควรซักซ้อมให้ข้าราชการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องกฎ ระเบียบการเบิกจ่ายอย่างต่อเนื่อง |
1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ผลจากการสอบทานพบว่า ส่วนราชการต่างๆมีภาพรวมผลการประเมินระดับความเหมาะสมของการควบคุมภายในฯ อยู่ในระดับดีมาก | ไม่มี |
1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. โดยภาพรวมของการรายงานผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี มีการดำเนินงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ 2. รายงานผลการปฏิบัติราชการประจำปีของกระทรวงมีความเป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับสูตรการคำนวณ โดยเปรียบเทียบ กับคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ |
ส่วนราชการควรมีการจัดทำแผนการดำเนินการที่ชัดเจน และมีการตรวจสอบและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล |
1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ส่วนราชการที่มีหน่วยเบิกจ่ายในส่วนภูมิภาคบางหน่วยงานมีข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีไม่ครบทุกหน่วยงาน
และบางหน่วยงานใช้สายงานอื่นดำเนินการแทน |
หัวหน้าส่วนราชการควรให้ความสำคัญกับการแต่งตั้งบุคลากรด้านการเงินและบัญชีที่อยู่ในส่วนภูมิภาคให้ครบทุกหน่วยงาน เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานที่ต้องอาศัยความรู้และทักษะเฉพาะด้าน |
2. การสอบทานกรณีพิเศษ
1. โครงการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธารที่ อ.มะขาม จ.จันทบุรี
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1. โครงการฯ มีความคุ้มค่าในการลงทุน 2. งบประมาณในการซ่อมบำรุงรักษายังมีน้อยอาจส่งผลให้ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการฯ ได้หากเกิดกรณีฉุกเฉินที่จะต้องทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาเร่งด่วนการขออนุญาตการใช้พื้นที่ป่าไม้ต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการที่จะได้รับอนุญาต |
1. ควรดำเนินการศึกษาสำรวจเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคิรีธาร ว่าจะสามารถปรับปรุงเพื่อขยายกำลังผลิตไฟฟ้าให้เพิ่มมากขึ้นได้หรือไม่ รวมทั้งให้สำรวจเขื่อนอื่นๆ ด้วย เพราะการสร้างเขื่อนแห่งใหม่จะพบปัญหาในการใช้พื้นที่ป่าเป็นอย่างมาก จึงเห็นควรเพิ่มประสิทธิภาพเขื่อนเก่าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และเกิดความคุ้มค่าเพิ่มมากขึ้น 2. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว |
2. โครงการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1.ความคุ้มค่าการลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ ระยะเวลาคืนทุนนาน อาจเป็นภาระในเรื่องแหล่งเงินทุนให้กับบริษัทฯ ได้ จึงส่งผลให้มีบริษัทฯ เข้าร่วมโครงการน้อย 2. เนื่องจากระบบบำบัดน้ำเสียอยู่ในขั้นตอนของการวิจัย จึงทำให้การดำเนินการในเรื่องระบบติดตั้งและการใช้ก๊าซชีวภาพ ล่าช้าออกไปจากเดิม ซึ่งทำให้การดำเนินงานของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่ทำสัญญาไว้กับ สนพ.และอาจส่งผลต่อการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนจากกองทุน |
1. การสนับสนุน ควรใช้กลไกสนับสนุนด้านการเงินอื่นๆ เพิ่มเติมเช่นการร่วมมือกับสถาบันการเงินและหน่วยงานต่างๆ เพื่อสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับการลงทุนเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทน 2. ควรพิจารณาสนับสนุนในด้านข้อมูลเกี่ยวกับการทำวิจัยโครงการบำบัดน้ำเสียจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ เพราะถ้าโครงการมีผลสำเร็จดี อาจจะนำไปขยายผลในโรงงานอื่นๆ ต่อไป และอาจพิจารณาสนับสนุนเงินทุนในการวิจัยต่อไปด้วย |
3. โครงการ เพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารจัดการพลังงานครบวงจรในชุมชนระดับตำบล
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ ในพื้นที่ อบต.ธารน้ำทิพย์ มีศักยภาพในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก เนื่องจากมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำปัตตานี ซึ่งมีศักยภาพในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้เป็นอย่างดี |
ควรดำเนินการสำรวจพื้นที่ว่าพื้นที่ใดสามารถดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กได้พร้อมให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าต่อไป |
4. โครงการตรวจความปลอดภัยและเข้มงวดให้สถานีบรรจุก๊าซปฏิบัติตามกฏหมาย
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ค้าตามมาตรา 7 (เจ้าของถัง) โดยถังบรรจุก๊าซจำนวนหนึ่งชำรุดหรือ เสียหายบางส่วน ผู้ค้าตามมาตรา7(เจ้าของถัง) แห่ง พรบ. การค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ไม่ได้ดำเนินการซ่อมแซมหรือปรับเปลี่ยนถังบรรจุก๊าซให้อยู่สภาพที่เหมาะสม และปลอดภัย และประชาชนยังเข้าใจว่าถังบรรจุก๊าซเป็นทรัพย์สินของตนเอง ซึ่งกรณีดังกล่าวได้มีการจ้างสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยศึกษาปัญหาและหาแนวทางแก้ไขการทดสอบและซ่อมบำรุงถังก๊าซหุงต้ม เพื่อแก้ปัญหา |
ควรดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนต่อไป |
5. โครงการปั๊มคุณภาพปลอดภัยน่าใช้บริการ ปีงบประมาณ 2553-2554
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ ป้ายเหรียญรางวัลคุณภาพสถานีบริการน้ำมันที่กรมธุรกิจพลังงาน มอบให้ผู้ประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันนั้น ติดตั้งในพื้นที่ที่เห็นไม่เด่นชัด และมีขนาดเล็ก ผู้ประกอบกิจการฯ จึงมีความประสงค์นำป้ายเหรียญรางวัลฯ ติดตั้งในพื้นที่ที่ผู้ใช้บริการสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น บริเวณด้านหน้าของปั๊ม ฯลฯ เพื่อเชิญชวนให้ผู้ใช้บริการเข้ามาใช้บริการมากยิ่งขึ้น |
ให้กรมธุรกิจพลังงาน ได้พิจารณาว่าสามารถดำเนินการติดตั้งป้ายเหรียญรางวัลฯ ตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการฯ ได้หรือไม่ อย่างไร โดยไม่ขัดต่อ กฏระเบียบ หรือข้อบังคับ ต่างๆ |
6. โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ 2554
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ โครงการชีววิถีเพื่อพัฒนาอย่ายั่งยืน เป็นโครงการที่ดี และเกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี เพราะเป็นการเสริมสร้างจิตสำนึกความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน และร่วมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืน และส่งเสริมเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน |
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ควรประสานกับ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน ในการบูรณาการงานร่วมกันระหว่างโครงการฯ ชีววิถี ให้เข้ากับโครงการแผนพลังงานชุมชน อันจะทำให้โครงการฯ เกิดความยั่งยืนในชุมชน ต่อไป 2. ควรคัดเลือกโครงการฯ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และศักยภาพของชาวบ้านในพื้นที่โดยรอบโรงไฟฟ้า 3. ควรส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ทั้งระบบ เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจในโครงการฯมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และควรสนับสนุนเครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้ชาวบ้าน เพื่อนำไปใช้สำหรับโครงการฯ ต่างๆที่ต้องการนำไปพัฒนาต่อยอด 4. จัดอบรมพร้อมให้คำแนะนำแก่ชาวบ้าน ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล หรือการคิดคำนวนต้นทุน เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจและรับรู้ถึงประโยชน์ของโครงการฯ ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น |