ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เป้าประสงค์หลัก หน่วยงานในสังกัด สถานที่ติดต่อ อำนาจหน้าที่ |
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อมูลปี 2557
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้1. การสอบทานกรณีปกติ
1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการ มีการเสนอให้ผู้บริหารสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำไปปฏิบัติ 2. ข้อสังเกตของผู้ตรวจราชการไม่ได้เชื่อมโยงกับแผนการดำเนินงานโครงการ เช่น ในช่วงเวลาที่ออกตรวจ โดยเฉพาะกรณีแผนตรวจราชการที่กำหนดตรวจแผนงาน/โครงการที่ดำเนินการในปีงบประมาณปัจจุบัน |
1. ผู้ตรวจราชการควรตรวจติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนของโครงการ ในช่วงเวลาที่ออกตรวจ หากโครงการมีความล่าช้าจากแผนงานที่กำหนด ควรพิจารณาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาในการให้ข้อเสนอแนะ 2. ผู้ตรวจราชการควรตรวจราชการให้ครบตามแผนที่กำหนดไว้ กรณีโครงการได้รับงบประมาณล่าช้า หรือมีเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถตรวจได้ตามแผนการตรวจที่กำหนดไว้ ควรพิจารณาแนวทางปรับปรุงการตรวจราชการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น |
1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. แบบประเมินตนเองของหน่วยตรวจสอบภายในของส่วนราชการ (Self – Assessment) ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการตรวจสอบภายในที่ปรับปรุง กันยายน 2554 ทั้งนี้ แบบประเมินตนเองบางข้อถามเข้าใจยาก และบางข้อถามไม่มีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น 2. อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน |
1. กรมบัญชีกลางควรปรับปรุงแบบประเมินตนเองของหน่วยตรวจสอบภายในของส่วนราชการ (Self – Assessment) เพื่อให้การประเมินตนเองของหน่วยตรวจสอบภายในของส่วนราชการสอดคล้องกับมาตรฐานการตรวจสอบภายในที่กรมบัญชีกลางได้มีการปรับปรุงเมื่อกันยายน 2554 2. ควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่กรมบัญชีกลางกำหนด ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในภาครัฐ พ.ศ. 2555 และหลักสูตรที่จำเป็นกับการปฏิบัติงาน |
1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. ส่วนราชการต่าง ๆ ในความรับผิดชอบการสอบทานและประเมินผล มีภาพรวมผลการประเมินระดับความเหมาะสมของการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงอยู่ในระดับ ดีมาก 2. การจัดวางระบบและการประเมินผลการควบคุมภายในที่ยังไม่ครอบคลุม ครบถ้วน ทุกกิจกรรมของภารกิจทั้งหมด ระบบใดที่ไม่ได้จัดวางระบบควบคุมภายใน ก็ไม่ได้ประเมินความเสี่ยง จึงไม่พบความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ ที่เป็นผลกระทบทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย |
1. ค.ต.ป. ควรทบทวนรูปแบบการสอบทานและประเมินผลการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ให้การสอบทานเป็นเชิงคุณภาพ เพื่อให้การบริหารงานของทุกส่วนราชการบริหารและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง 2. ทุกหน่วยงานควรจัดวางระบบควบคุมภายใน ให้ครอบคลุมการปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติราชการ แผนการเบิกจ่ายเงิน นอกเหนือจาการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานที่วางไว้ |
1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้คะแนน 2.4667 (ยังมีตัวชี้วัดรอผล (N/A) จำนวน 1 ตัวชี้วัด) โดยผลการประเมินมากกว่าในปีงบประมาณ 2554 |
การจัดทำตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการควรเป็นเครื่องมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โดยการกำหนดตัวชี้วัดควรเน้นการขับเคลื่อนไปสู่ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย และควรคำนึงถึง ระยะเวลาในการดำเนินงาน งบประมาณที่ใช้ดำเนินการ |
1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1.อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่มีจำกัด ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 2. หน่วยงานในส่วนภูมิภาค ไม่มีเจ้าหน้าที่การเงินโดยตรง จึงมีความเสี่ยงที่อาจจะมีข้อผิดพลาดได้ |
1. กระทรวงฯ ควรมุ่งเน้นภารกิจหลักโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามแผนแม่บทที่กำหนดไว้ 2. ทุกส่วนราชการควรปรับปรุงกระบวนการในการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน พร้อมทั้งเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี ให้เป็นไปตามแผน/ สัญญา และระยะเวลาที่ขอกันเงินไว้ |
2. การสอบทานกรณีพิเศษ
1. โครงการพัฒนาเครือข่ายและศูนย์ข้อมูลกลางแบบ Real Time
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ ระบบเตือนภัยของประเทศ ประกอบด้วย โครงการที่ใช้งบประมาณ ปี 2554 จำนวน 1 โครงการ โครงการที่ใช้งบกลาง จำนวน 5 โครงการ และโครงการที่ใช้งบประมาณประจำปี 2555 จำนวน 3 โครงการ ซึ่งเป็นระบบย่อยที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่ Input process และ output |
1. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ควรคำนึงถึงการใช้งานรวมถึงการเชื่อมโยงระบบข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลให้ระบบเตือนภัยของประเทศในภาพรวมบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ 2. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติควรกำกับ เร่งรัด การดำเนินโครงการที่เป็นระบบย่อยที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบเตือนภัยของประเทศ ให้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด 3. การพัฒนาเครือข่ายและศูนย์ข้อมูลกลางแบบ RealTime และโครงการต่างๆ ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติส่วนใหญ่ดำเนินการไม่เสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 และต้องกันเงินเหลื่อมปี ดังนั้นเพื่อลดปัญหางบประมาณสะสม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจำเป็นต้องวางแผนการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินให้หมดภายในปีงบประมาณ หรือให้มีการกันเงินเหลื่อมปีน้อยที่สุด |
2. โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1. ผลการดำเนินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โครงการฯ มีผลสำเร็จตามแผนร้อยละ 45 เป็นผลให้ความสำเร็จของโครงการฯ ในภาพรวมเพิ่มจาก ร้อยละ 35 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นร้อยละ 80 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 2.หากสามารถลดเวลาปฏิบัติงานการจัดทำข้อมูลสถิติลงได้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อภาครัฐและภาคเอกชนในการนำข้อมูลทางสถิติไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจเชิงนโยบาย ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาประเทศได้ |
1. รัฐบาลจึงควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจัดทำข้อมูลสำมะโนฯ ให้เพียงพอ และเพื่อลดระยะเวลาและสามารถจัดทำข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น 2. สำนักงานสถิติแห่งชาติควรวางแผนเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติให้มีความทันสมัย รวมถึงการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและสืบค้นที่กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยราชการต่างๆ เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐอื่น |