Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ส่วนราชการ / สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักนายกรัฐมนตรี
Office of the Prime Minister

ข้อมูลทั่วไป

วิสัยทัศน์
เป็นศูนย์กลางการติดตามและขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินแบบมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน


พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางในการกำกับ ติดตาม ประสานงาน เร่งรัด และตรวจสอบ การปฏิบัติราชการหน่วยงานของรัฐ ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
2. ส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินและการขับเคลื่อนภารกิจระดับนโยบายไปสู่การปฏิบัติแบบ มีส่วนร่วม


เป้าประสงค์หลัก
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างกลไกการกำกับ ติดตามการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร


หน่วยงานในสังกัด


สถานที่ติดต่อ
ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0-2281-4040   โทรสาร 0-2282-5131
http://www.opm.go.th


อำนาจหน้าที่
สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราช การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าทีของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดนายกรัฐมนตรี หรือที่มีได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ


คำรับรองการปฏิบัติราชการ

หมายเหตุ :

ข้อมูลปี 2557

http://www.opdc.go.th//uploads/files/result_peform/2557/government_57/A57_Ministry.pdf

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้

1. การสอบทานกรณีปกติ

          1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ

ประเด็นข้อสังเกต 

     การตรวจติดตามการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย

  1. กรณีที่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนล่าช้านั้น มาจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ประสบภัยอพยพออกนอกพื้นที่ ทำให้ไม่ทราบและไม่สามารถมารับเงินได้ในวันที่กำหนด 

  2. เกณฑ์การช่วยเหลือในแต่ละพื้นที่ขาดการชี้แจงที่ชัดเจน ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบมีความไม่พึงพอใจที่ได้รับความช่วยเหลือในวงเงินที่ต่างกันและบางพื้นที่เกิดการรวมตัวประท้วงทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่เสียหาย    

     การตรวจติดตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/55

     มีความครอบคลุม ครบถ้วนทั้งการตรวจติดตามปัญหาในพื้นที่และปัญหาที่ต้องแก้ไขในเชิงนโยบาย ซึ่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีได้นำเสนอปัญหาในหลายมิติที่เกิดขึ้น รวมทั้งได้มีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการโครงการซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล   

         

   การดำเนินการตามกองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

   มีความครบถ้วนทั้งข้อปัญหา และการแก้ไขปัญหาเฉพาะพื้นที่ ซึ่งภายหลังการรายงาน สทบ. ได้มีการแก้ไขปัญหาและสามารถโอนเงินให้กับชุมชน/หมู่บ้านได้มากขึ้น

 

ภาคนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนควรพิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการหรือนำไปแก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหาอุปสรรค ในการเตรียมการด้านการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย หรือภัยพิบัติอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความรวดเร็วและเป็นธรรมต่อผู้ประสบภัยทุกครัวเรือน

    ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีควรจะได้ติดตามความ ก้าวหน้าในการปรับปรุงแก้ไขปัญหา/อุปสรรคที่เกิดขึ้น กับโครงการ ในการตรวจติดตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในปีการผลิต 2555/2556

 

 

 

 

 

 

   รัฐบาลและ สทบ. จะได้นำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย กฎหมาย/ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนในนโยบายนี้
          1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
ประเด็นข้อสังเกต
    การดำเนินงานโดยส่วนใหญ่เป็นไปตามแนวปฏิบัติของกรมบัญชีกลางและระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงเพื่อ คัดเลือกกิจกรรม/โครงการที่จะตรวจสอบ และกำหนดเรื่องที่จะตรวจสอบไว้ในแผนฯ ครอบคลุมครบทุกด้าน
    1. ผู้บริหารของส่วนราชการควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษเกี่ยวกับการจัดการระบบการควบคุมภายในของหน่วยงาน เพื่อช่วยลดโอกาสในการเกิดความเสี่ยง/จุดอ่อนให้เหลือน้อยลงหรือหมดสิ้นไป
    2. ส่วนราชการควรกำหนดระยะเวลาสำหรับการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดตามที่ผู้ตรวจสอบภายในได้ตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะไว้ และแจ้งหน่วยงานที่มีปัญหาข้อบกพร่องดังกล่าวทราบ
          1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
ประเด็นข้อสังเกต
    1. ส่วนราชการส่วนใหญ่ได้มีการวางระบบควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงเป็นไปตามรูปแบบ และวิธีการที่ คตง. กำหนด
    ๒. กิจกรรมที่ยังคงมีความเสี่ยงส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เช่น การขาดแคลนบุคลากร การขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะการปฏิบัติงานของบุคลากร
    1. ผู้รับผิดชอบด้านการควบคุมภายในของส่วนราชการ จะต้องทำความเข้าใจถึงแนวทางการจัดวางระบบควบคุมภายในและการติดตามประเมินผล และถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ เมื่อตรวจสอบพบว่ามีปัญหาข้อจำกัดใดๆ ในกระบวนการงานหรือกิจกรรม ก็สมควรที่จะวางระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงให้มีความเหมาะสม
    2. ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานจะต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง
          1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
ประเด็นข้อสังเกต
    การรายงานผลการปฏิบัติราชการฯทางอิเล็กทรอนิกส์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็วในการจัดทำรายงาน และการประมวลผลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี รูปแบบการรายงานผลที่ออกแบบให้สามารถพิมพ์จากฐานข้อมูลระบบการรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์ อาจไม่สามารถแสดงรายละเอียดได้เพียงพอสำหรับผู้ตรวจสอบภายในของแต่ละหน่วยงาน และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงในการตรวจสอบความถูกต้องของรายงาน
    ในกรณีที่สำนักงาน ก.พ.ร. จะผลักดันให้มีการรายงานผลการปฏิบัติราชการฯ ทางอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตแทนการรายงานในรูปแบบเดิม ควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
    1. จัดให้มีการประชุมชี้แจงการบันทึกข้อมูลในระบบที่ได้ปรับปรุงแจ้งให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง
    2. ควรกำหนดสิทธิการเข้าถึงฐานข้อมูลการรายงานแก่ผู้ตรวจสอบภายในของแต่ละหน่วยงาน และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงด้วย เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบ หรือสอบทานผลการดำเนินการจากระบบได้โดยตรง เพื่อไม่เป็นภาระแก่หน่วยงานปฏิบัติที่จะต้องจัดทำรายงาน 2 รูปแบบพร้อมๆ กัน
          1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
    1. ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม มีผลการเบิกจ่ายร้อยละ 83.30 ซึ่งน้อยกว่าร้อยละ 93.00 ตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนด
    2. ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนในภาพรวม มีผลการเบิกจ่ายร้อยละ 9.48 ซึ่งน้อยกว่าร้อยละ 72.00 ตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนด
    3. ผู้ปฏิบัติงานของบางหน่วยงานที่รับผิดชอบการปฏิบัติงานทางด้านการเงิน ยังขาดความรู้ความสามารถและทักษะในงานด้านการเงินการบัญชี จึงพบข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง หรือบางหน่วยงานได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถไม่ตรงกับสายงานที่ต้องปฏิบัติ
    1. ปัญหาบางกรณีที่เกี่ยวข้องกับระบบ GFMIS ควรต้องรีบหารือกับกรมบัญชีกลางและเร่งรัดดำเนินการปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
    2. หัวหน้าส่วนราชการควรต้องให้ความสำคัญในการแต่งตั้งบุคลากรเพื่อการปฏิบัติงานทางด้านการเงิน การบัญชี ให้มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานในด้านนี้จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะเฉพาะด้าน การโอนย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งบ่อยครั้งจะทำให้การปฏิบัติงานขาดความต่อเนื่องและเกิดข้อผิดพลาดได้

2. การสอบทานกรณีพิเศษ

          1. โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ
   1. บางพื้นที่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของโครงการฯ
   2. การดำเนินโครงการฯ โดยเฉพาะการโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีหมู่บ้านและชุมชน ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานมาก ทำให้หมู่บ้านและชุมชนยังไม่ได้รับการจัดสรรเงินไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
   1. สทบ. จึงควรมีการสื่อสารสร้างความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการของภาคราชการ และภาคประชาชน
   2. ปัญหาการดำเนินงานโครงการฯ ที่เกิดขึ้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงานที่กำหนดไว้ เกี่ยวข้องควรดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงานที่กำหนดไว้
          2. โครงการจัดตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนเข็มแข็งเอาชนะยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
ข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ
    การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จค่อนข้างทำได้ยาก และอาจไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากการดำเนินงานในลักษณะนี้จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือให้หมู่บ้าน/ชุมชนมีความเข้มแข็งเพียงพอต่อการเอาชนะยาเสพติด พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
    การพิจารณาผลการดำเนินโครงการฯ เพียงปีเดียวยังไม่อาจวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของโครงการได้ ดังนั้น กอ.รมน. จึงควรติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ โดยการเปรียบเทียบผลทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการว่า มีความแตกต่างกันมาก/น้อยอย่างไร หรือคิดเป็นสัดส่วนในอัตราร้อยละเท่าใด

เข้าสู่ระบบ
Username  
Password  
 

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th