มติคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2549

ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.


          การประชุมคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันอังคารที่  29  สิงหาคม  2549   ณ  ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2   ตึกสำนัก
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่  ทำเนียบรัฐบาล   ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน    ของสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้


เรื่องที่ 1

ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการ
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (ฉบับที่..) พ.ศ. ....


            คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยเบี้ยประชุม  และประโยชน์ตอบแทน
อื่น   ของประธานกรรมการ    รองประธานกรรมการ กรรมการ     และอนุกรรมการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (ฉบับที่..)    พ.ศ. ....     ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ      โดยให้กำหนดอัตราเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ
และคณะอนุกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
ดังนี้

          ประธานกรรมการ ไม่เกิน  20,000  บาท  (สูงกว่ากรรมการร้อยละ  25)   รองประธานกรรมการและกรรมการ ไม่เกิน 16,000 บาท  ประธานอนุกรรมการ ไม่เกิน 10,000 บาท  (สูงกว่าอนุกรรมการร้อยละ 25) อนุกรรมการ ไม่เกิน 8,000 บาท (ไม่เกินครึ่งหนึ่งของอัตราดอกเบี้ยประชุมกรรมการ)    และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมาย     และร่างอนุบัญญัติ
ที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนิน
การต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้ระเบียบฉบับนี้มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ประกาศใช้ระเบียบนี้ ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง

เรื่องที่ 3

แนวทางการผ่อนผันสำหรับรายการที่ไม่สามารถก่อหนี้ผูกพัน
ได้ทันภายในเดือนสิงหาคม 2549


            คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ถือปฏิบัติตามแนวทางการผ่อนผัน สำหรับรายจ่าย
ลงทุน   กรณีที่ส่วนราชการ    และรัฐวิสาหกิจไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ทัน      ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม  2549 และแนวทางเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามคาดการณ์  และให้สำนักงบประมาณ
พิจารณาการจัดสรร
งบประมาณ     ให้สอดคล้องกับประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน  ตามที่
กระทรวงการคลังเสน
โดยมีสาระสำคัญดังนี้

          1. สรุปสถานะและคาดการณ์การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
               จากการติดตามสถานะและคาดการณ์การเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549ที่ได้รับรายงาน
จากส่วนราชการ   รัฐวิสาหกิจ   และจังหวัด  ณ  18  สิงหาคม  2549   สามารถสรุปสถานะและคาดการณ์  การเบิกจ่ายเงิน
รวมเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

                  1.1 หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 20 หน่วยงาน  มีวงเงิน
งบประมาณ  232,900  ล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 66  ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง  353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 160,375 ล้านบาท   คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง  30  กันยายน  2549   อีกจำนวน  32,522  ล้านบาท   รวมเป็นเงิน 192,897 คิดเป็นร้อยละ 83 ของวงเงินงบประมาณ 232,900 ล้านบาท

               1.2 หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 260 หน่วยงาน  มีวงเงิน
งบประมาณ  32,254  ล้านบาท   คิดเป็นร้อยละ  9   ของวงเงินงบประมาณภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง  353,742 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 14,256 ล้านบาท   คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549  อีกจำนวน 5,919 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 20,175 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ของวงเงินงบประมาณ 32,254 ล้านบาท

                  1.3 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด    และจังหวัด (งบผู้ว่า CEO) จำนวน 75 จังหวัด มีวงเงินงบประมาณ 22,826 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ  6 ของวงเงินงบประมาณภายหลัง
โอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท   เบิกจ่ายแล้ว 7,017 ล้านบาท   คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549  อีกจำนวน 5,786 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 12,803 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 56 ของวงเงินงบประมาณ 22,826 ล้านบาท

               1.4 งบกลางและรายการอื่น ๆ มีวงเงินงบประมาณ 65,762 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19  ของวงเงินงบประมาณ
ภายหลังโอนเปลี่ยนแปลง 353,742  ล้านบาท   เบิกจ่ายแล้ว 42,073  ล้านบาท   คาดว่าจะเบิกจ่ายถึง 30 กันยายน 2549 อีกจำนวน 7,090 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 49,163 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75 ของวงเงินงบประมาณ 65,762 ล้านบาท

               ซึ่งหากแต่ละหน่วยงานสามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามที่คาดการณ์ไว้ข้างต้น   คาดว่าจะมียอดเบิกจ่ายถึง  สิ้นเดือน
กันยายน 2549 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 275,038 ล้านบาท หรือร้อยละ 77.75  ของวงเงินงบประมาณภายหลัง โอนเปลี่ยนแปลง 353,742 ล้านบาท (คณะรัฐมนตรีกำหนดเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 73 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน)

            2. แนวทางการผ่อนผันสำหรับรายจ่ายลงทุน กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถก่อหนี้ผูกพัน
ได้ทันภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2549

              จากรายงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2549 ตามข้อ 1 คาดว่าจะก่อหนี้ผูกพันไม่ทัน
ภายใน 31 สิงหาคม 2549   จำนวน 52,099 ล้านบาท   ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง  ดังนั้น   เพื่อให้การ
ดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามเป้าหมายและไม่หยุดชะงัก   ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหาย   แก่ทาง
ราชการได้  และเพื่อให้มีปริมาณเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงพระราชบัญญัติงบประมาณปี พ.ศ. 2550   ประกาศใช้ไม่ทัน
ตามกำหนด   จึง   เห็นควรผ่อนผันให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันภายหลังสิ้นเดือนสิงหาคม  2549    ได้จนถึง
สิ้นเดือนกันยายน 2549 ดังนี้

                2.1 รายการที่อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

                2.2 รายการที่ดำเนินการตามมาตร   การส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ   ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และการเตรียมความพร้อมในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (ปรับแผน) ตามมติ
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549

                2.3 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง (17,200 ล้านบาท) เนื่องจากบางรายการต้องรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจึงจะดำเนินการได้

               ทั้งนี้ หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยังไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันได้ และจำเป็นต้องใช้
เงินงบประมาณ ที่เหลือนั้นต่อไป   โดยขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพัน กระทรวงการคลังจะพิจารณาอนุมัติการ
กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีในกรณีดังกล่าวอย่างระมัดระวังและเข้มงวด

            3. แนวทางเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามคาดการณ์
               หน่วยงานที่รายงานว่า คาดว่าจะเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย ให้เร่งดำเนินการเบิกจ่ายให้ถึงเป้าหมายและหน่วยงาน
ที่คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ถึงเป้าหมาย   หรือเกินกว่าเป้าหมาย  ให้รักษาระดับการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์
 สำหรับ
งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนากลุ่มจังหวัด และจังหวัด ขอให้ผู้ว่าราชการ
จังหวัดมอบหมายให้คลังจังหวัดดำเนินการเร่งเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย  ทั้งนี้       เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
รายจ่ายลงทุนในภาพรวมของประเทศบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

            4. การจัดสรรงบประมาณในกรณีที่มีผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่เป็นไป
ตามเป้าหมาย

               เนื่องจากหน่วยงานส่วนใหญ่ที่มียอด    การเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนต่ำ      ทำให้มีเงินงบประมาณ
คงเหลือค้างในแต่ละหน่วยงานเป็นจำนวนมาก และต้องกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีทุกปี ซึ่งงบประมาณดังกล่าวไม่สามารถนำไป
ใช้จ่ายในส่วนที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนได้   ดังนั้น  เพื่อให้การตั้งงบประมาณสะท้อนถึงประสิทธิภาพ    ในการบริหารเงิน
งบประมาณ     จึงเห็นควรให้สำนักงบประมาณพิจารณาการตั้งงบประมาณรายจ่ายลงทุนของแต่ละหน่วยงาน ให้สอดคล้อง
กับความสามารถในการเบิกจ่าย ในกรณีที่หน่วยงานไม่สามารถเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้โดยมิได้มีสาเหตุ
เกิดจากปัญหาภายนอก โดยให้นำอัตราการเบิกจ่ายในปีก่อนๆ เป็นฐานในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ

 

เรื่องที่ 5

มาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549


            คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ แล้วมีมติดังนี้

          1. เห็นชอบการปรับแผนการปฏิบัติงาน     และแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการและจังหวัด  รวมเป็นเงิน
จำนวน 5,110.642 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติการปรับแผนฯ ดังกล่าวแล้ว ให้ส่วนราชการและจังหวัดถือปฏิบัติ
ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 รวมทั้งระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป

          2. หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ    และจังหวัดใดที่ได้ดำเนินการ       หรือที่ยังมิได้ดำเนินการตามมาตรการส่งเสริม
การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549 วันที่ 25 กรกฎาคม  2549   และในครั้งนี้แล้ว แต่ยังมีความจำเป็นต้องปรับแผนฯ     หรือจะต้องใช้เงินเหลือจ่ายเพิ่มเติมอีก ก็สมควรให้นำไปใช้จ่ายได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

                                             

                  2.1 ค่าใช้จ่ายตามมาตรการฯ ข้อ 1.1 (1)   ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2549   ได้แก่  ชำระหนี้
ค่าสาธารณูปโภค   ชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้  (ค่า K)     ดำเนินโครงการ/รายการที่มีข้อผูกพัน
ตามกฎหมายหรือตามสัญญาหรือตามข้อตกลง        ดำเนินโครงการ/รายการที่สามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผน     (เดิม) ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากผลกระทบจากการปรับราคาน้ำมันสูงขึ้น

               2.2 ค่าใช้จ่ายตามสิทธิฯ เช่น เงินเพิ่มวิทยฐานะ เงินปรับบัญชีค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ ค่าตอบแทนบุคลากร
ด้านสาธารณสุข เป็นต้น

               2.3 ค่าใช้จ่ายในโครงการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยตรง

               2.4 ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงาน   หากไม่ดำเนินการ
จะเกิดความเสียหายต่อทางราชการ

               ทั้งนี้ ให้เป็นอำนาจของส่วนราชการ   รัฐวิสาหกิจและจังหวัด พิจารณาดำเนินการได้ตามข้อ  2.1-2.4  ดังกล่าว
ข้างต้น     โดยให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ  พ.ศ. 2548      รวมทั้งระเบียบและมติคณะรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องต่อไป

            3. หากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัดใดยังมีความจำเป็นต้องปรับแผนฯ นอกเหนือจากกรณีที่กำหนดตามข้อ 2 ให้นำเสนอรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดแล้วแต่กรณี      เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ     ก่อนดำเนินการตาม
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548   รวมทั้งระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง  และให้นำเสนอกระทรวง
เจ้าสังกัดรวบรวมรายการงบประมาณดังกล่าว รายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป

          4. กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ  และจังหวัดดำเนินการตามมาตรการแล้วฯ  แต่ส่วน
ราชการ รัฐวิสาหกิจและจังหวัด   ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงปรับแผนการปฏิบัติงาน  และแผนการใช้จ่ายงบประมาณไปก่อน
ที่จะทราบมติคณะรัฐมนตรี
โดยโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามระเบียบ
ว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548   และได้ปรับแผนฯ   โดยไม่สอดคล้องกับมาตรการฯ    นั้น ให้กระทรวงเจ้าสังกัด
ดำเนินการรวบรวมรายการงบประมาณในลักษณะดังกล่าวรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป

                                    

           5. เนื่องจากมาตรการฯ   ดังกล่าวกำหนดให้ก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2549   หากคณะรัฐมนตรีมีมติ
ผ่อนผันให้ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจและจังหวัด   ก่อหนี้ผูกพันได้ภายหลังกำหนดการดังกล่าว   ก็ให้ถือปฏิบัติตามระยะเวลา
ที่ได้มีการผ่อนผันนั้น

          6. เพื่อให้การปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว  เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   คณะรัฐมนตรีได้        มอบหมายให้สำนัก
งบประมาณ      มีหน้าที่ติดตามประมวลผล     พร้อมวินิจฉัยการปฏิบัติตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้
จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549


E-Searching เพิ่มเติมได้ที่
 http://www.thaigov.go.th