มติคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2549
ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร.
เมื่อวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2549 พ.ตท.ทักษิณ
ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ผ่านระบบ VDO
Conference) ณ บ้านพักกรีนวัลเล่ย์ จังหวัดเชียงใหม่
มายังห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2
ตึกสำนัก
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานของสำนักงาน ก.พ.ร.
จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้
เรื่องที่ 2
ร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
พ.ศ.
.... และร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พ.ศ. .... |
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา
และร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการ
ดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับข้อเสนอแนะ
ของ สำนักงาน ก.พ.ร. และ
ข้อสังเกตของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ด้วย
1.
ร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญดังนี้
1.1
ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า องค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า อ.บ.ภ.
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานที่มีความคล่องตัวในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์
โครงการ
การติดตามประเมินผลโครงการ การส่งเสริมการตลาดสำหรับการซื้อขายประมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับ
การรับรอง
การส่งเสริมการพัฒนาโครงการและศักยภาพของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นศูนย์ข้อมูล
ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก
1.2
ให้องค์การมีอำนาจ ดังต่อไปนี้
1.2.1
วิเคราะห์ กลั่นกรอง
และทำความเห็นเสนอคณะกรรมการองค์การเพื่อให้ความเห็นชอบโครงการ
1.2.2
ประสานงาน ติดตามและประเมินผลโครงการที่ได้รับความเห็นชอบ
และโครงการที่ได้รับการรับรอง
1.2.3
พัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับความเห็นชอบ
โครงการที่ได้รับการรับรอง
และการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งการจัดทำบัญชีการซื้อขายเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง
และ
ข้อมูลอื่น
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก
ฯลฯ
|
1.3
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก
ประกอบด้วย
1.3.1
ประธานกรรมการ
ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง
ทางด้านการบริหาร
1.3.2
กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมพัฒนา
พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง
และจราจร
และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.3.3
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คณะกรรมการแห่งชาติแต่งตั้งจากผู้มีความรู้
ความเชี่ยวชาญและประสบ
การณ์สูง
เป็นที่ประจักษ์ด้านการบริหารธุรกิจด้านพลังงาน ด้านป่าไม้
และด้านการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวนไม่เกิน 4 คน
1.4
ในวาระเริ่มแรก
ให้มีคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก ประกอบด้วยปลัดกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกจำนวน 3 คน
ซึ่งกรรมการโดยตำแหน่งข้างต้นร่วมกันคัดเลือกเป็นกรรมการ
และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการผู้อำนวยการ
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
และให้ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะมีคณะกรรมการ
ตามพระราชกฤษฎีกานี้
ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร
ธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก
เป็นการชั่วคราวไปจนกว่าจะมี
ผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
|
1.5
ให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ผู้อำนวยการ
ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทำหน้าที่รองผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานนโยบาย
และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่เจ้าหน้าที่ ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกา
นี้
ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
1.6
ในวาระเริ่มแรกให้องค์การประกอบด้วยส่วนงานหลัก ดังนี้
1.6.1
สำนักงานบริหารองค์การและศูนย์บริหารและศูนย์ข้อมูล
1.6.2
หน่วยวิเคราะห์โครงการ
1.6.3
หน่วยพัฒนาศักยภาพ
2.
ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 ให้มี คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี
เป็นประธานกรรมการ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การคลัง เป็นกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์
ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมศาสตร์ และด้านกฎหมาย จำนวนไม่ต่ำกว่า 3
คนและไม่เกิน 5 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการและปลัดกระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและเลขานุการ
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยให้มีสำนักงานประสานการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน
สังกัดสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการ ของคณะกรรมการ
และเป็นฝ่ายเลขานุการ
2.2 ให้มี
สำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในสังกัดสำนักงานนโยบาย
และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีหน้าที่ดังนี้
2.2.1
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภาคแห่งชาติ
2.2.2
เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของ
ประเทศ ทั้งในด้านการลดการปล่อยและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก
ความอ่อนไหวและการปรับตัวต่อผลกระทบที่จะเกิด
ขึ้น
และการวิจัยและพัฒนาที่จะช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ
ฯลฯ
2.3
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า กองทุนว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ
ในกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย
2.3.1
เงินสมทบที่เรียกเก็บจากการซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง
2.3.2
เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ รัฐบาล
ต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
2.3.3
เงินจากดอกผลและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากกองทุนนี้
2.3.4
เงินอื่น ๆ ที่ได้รับมาเพื่อดำเนินการตามกองทุนนี้
2.4
คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่
ดังนี้
2.4.1
วางยุทธศาสตร์การป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในประเทศไทย
รวมทั้งการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการกักเก็บและการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2.4.2
กำหนดนโยบาย แนวทาง หลักเกณฑ์ และกลไกการดำเนินงานร่วมกับนานาชาติ
ว่าด้วยการจัดการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้
โดยสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และผลประโยชน์ของประเทศ
เรื่องที่ 8
(ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) |
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รายงาน (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.
2550-2554) โดยมีสาระสำคัญ
ดังนี้
วิสัยทัศน์ประเทศไทย
มุ่งพัฒนาสู่
สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and
Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้
รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อม
มีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบ
ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี
พันธกิจ
เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
ภายใต้แนวปฏิบัติ
ของ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เห็นควรกำหนดพันธกิจของการพัฒนาประเทศ ดังนี้
(1)
พัฒนาคนให้มีคุณภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน
มีสุขภาวะที่ดี อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้
มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้ดุลยภาพของความหลากหลาย
ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ
และเป็นธรรม มุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ
ให้สามารถแข่งขันได้ มีภูมิคุ้มกันความเสี่ยงจากความผันผวนของสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัตน์
บนพื้นฐานการบริหาร
เศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ
มีระดับการออมที่พอเพียง มีการปรับโครงสร้างการผลิตและบริการบนฐานความรู้
และนวัตกรรม ใช้จุดแข็งของความหลากหลายทางชีวภาพและเอกลักษณ์ความเป็นไปไทย ควบคู่กับการเชื่อมโยง
กับต่างประเทศ
และการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และโลจิสติกส์ พลังงาน
กฎกติกา
และกลไกสนับสนุน
การแข่งขันและกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม
(3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม สร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เป็นธรรม และมีการสร้างสรรค์คุณค่า
สนับสนุนให้ชุมชนมีองค์ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อคุ้มครองฐานทรัพยากร คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมบทบาทของชุมชน ในการบริหารจัดการทรัพยากร ปรับแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตลอดจนรักษาผลประโยชน์
ของชาติจากข้อตกลงตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
(4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาล ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระ
มหากษัตริย์เป็นประมุข มุ่งสร้างกลไกและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ทุกภาคี
ควบคู่กับ
การเสริมสร้างความไม่โปร่งใส สุจริต ยุติธรรม
รับผิดชอบต่อสาธารณะ
มีการกระจายอำนาจและกระบวนการที่ทุกภาคส่วน
มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
สู่ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ทรัพยากร
วัตถุประสงค์
(1)
เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่อง ที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมโยงบทบาทครอบครัว
สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา เสริมสร้างระบบสุขภาพอย่างสมดุลระหว่างการส่งเสริม การป้องกัน การรักษา
และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2)
เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตและอนุรักษ์ ฟื้นฟู
ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
นำไปสู่การพึ่งตนเองและลดปัญหาความยากจน
อย่างบูรณาการ
(3)
เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้
และนวัตกรรม
รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสาขาการผลิต
เพื่อทำให้มูลค่าการผลิตสูงขึ้น
(4)
เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน (Sefety Net) และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลัง พลังงาน
ตลาดปัจจัย
การผลิต ตลาดแรงงาน และการลงทุน
(5)
เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม
และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้ง
สร้างกลไกในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม
(6)
เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ
ควบคู่กับ
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ
และการดำรงชีวิตของคนไทย
ทั้งในรุ่นปัจจุบัน
และอนาคต
รวมทั้งสร้างกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
(7)
เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน และภาคประชาชน และ
ขยายบทบาทขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการเสริมสร้างกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย
ให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
เป้าหมาย
(1) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความ-
สามารถ
ทักษาการประกอบอาชีพ และมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต
ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ
ให้กับตนเองที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย โดยเพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย
เป็น 10 ป ี
พัฒนากำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ 60
ของกำลังแรงงานทั้งหมด โดยรายได้เฉลี่ย
ของแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 และเพิ่มสัดส่วนนักวิจัยเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน
พร้อมทั้งกำหนดให้อายุคาด
เฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ควบคู่กับการลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคป้องกันได้ใน 5
อันดับแรก คือ หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง และหลอดเลือดสมอง
และนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน
และลดรายจ่ายด้านสุขภาพ
ของบุคคลลงในระยะยาว
(2) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน
พัฒนาให้ทุกชุมชนมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณ ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด โดยลด
คดีอาชญากรรมลงร้อยละ 10
และขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
และลดสัดส่วนผู้อยู่ใต้
เส้นความยากจนลงเหลือร้อยละ 4 ภายในปี 2554
(3) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ
ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความสมดุลและยั่งยืน
โดยให้สัดส่วนภาคเศรษฐกิจ
ในประเทศต่อภาคการค้าระหว่างประเทศ
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75 ภายในปี 2554 ผลิตภาพการผลิตรวม
เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 3 ต่อปี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 4
ต่อปี สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกิน
ร้อยละ
50
ความยืดหยุ่นการใช้พลังงานเฉลี่ยไม่เกิน 1:1 ในระยะของแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 10 สัดส่วนรายได้ของกลุ่ม
ที่มีรายได้สูงร้อยละ 20
ระดับบนต่อรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้น้อยร้อยละ 20 ระดับล่าง
ไม่เกินร้อยละ 10 ภายในปี 2554
และสัดส่วนผลผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
เป็นร้อยละ 40 ภายในปี 2554
(4)
เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รักษาความอุดมสมบูรณ์
ของฐาน
ทรัพยากร
และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยให้มีพื้นที่ป่าไม้ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 33
และต้องเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18 ของพื้นที่ประเทศ
รักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในเขตพื้นที่ชายฝั่งและพื้นที่ชีวมลฑล
รักษาพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทานไว้ไม่น้อยกว่า 31 ล้านไร่
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับ
ที่เหมาะสมต่อการดำรงคุณภาพชีวิตที่ดี
และไม่เป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ โดยรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำอยู่ในเกณฑ์
ตั้งแต่ระดับพอใช้ขึ้นไปมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 85
คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะฝุ่นละออง
ขนาดเล็ก
(PM 10) ต้องมีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 120
มก./ลม.ม. อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อประชากร
ลดลงร้อยละ 5 จากปี 2545 คือไม่เกิน 3.5 ตัน/คน/ปี
ควบคุมอัตราการผลิตขยะในเขตเมืองไม่ให้เกิน 1 กก./คน/วัน
และจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
(5) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล
มุ่งให้ธรรมาภิบาลของประเทศดีขึ้น มีคะแนนภาพลักษณ์ของความโปร่งใส
อยู่ที่ 5.0 ภายในปี 2554
ระบบราชการมีขนาดที่เหมาะสม และมีการดำเนินงานที่คุ้มค่าเพิ่มขึ้น
ลดกำลังคนภาคราชการ
ส่วนกลางให้ได้ร้อยละ 10 ภายในปี 2554
ธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น
ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดเก็บ
รายได้และมีอิสระในการพึ่งตนเองมากขึ้น และภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง รู้สิทธิ หน้าที่
และมีส่วนร่วมมากขึ้นในการ
ตัดสินใจและรับผิดชอบในการบริหารจัดการประเทศ
รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประชาธิปไตย
วัฒนธรรมธรรมาภิบาล และวัฒนธรรมสันติวิธี จำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 20
เรื่อง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและสลับซับซ้อนมากขึ้น
ประเทศไทยจำเป็น
ต้องปรับตัวและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างเหมาะสม
ในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ดังนี้
(1)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ให้ความสำคัญ
กับการพัฒนาคนที่มีคุณธรรมนำความรู้ ส่งเสริมให้คนไทยเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และสามารถจัดการองค์
ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้สมัยใหม่
เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพร้อมทั้งเสริมสร้าง
สุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ เน้นการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างครบวงจร
และการส่งเสริมให้คนไทย
อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคนในสังคม ส่งเสริมการดำรงชีวิต
ที่มีความปลอดภัย น่าอยู่ บนพื้นฐานของความยุติธรรมในสังคม
(2)
ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยการส่งเสริมการรวมตัว ร่วมคิด
ร่วมทำในรูปแบบที่หลากหลาย
และจัดกิจกรรม
อย่างต่อเนื่องตามความพร้อมของชุมชน
การสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชนที่เน้นการผลิต เพื่อการบริโภค
อย่างพอเพียง นำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น
มาใช้สร้างสรรค์คุณค่าของสินค้าและบริการ
พร้อมทั้งสร้างระบบบ่ม
เพาะวิสาหกิจชุมชนควบคู่กับการพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการอยู่ร่วม
กันกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูล รวมทั้งสร้างกลไกในการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
(3)
ยุทศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน
ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิต
เพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตและการบริการ บนฐานการเพิ่มคุณค่าสินค้าและบริการจากองค์ความรู้ นวัตกรรม
และการบริหารจัดการที่ดี
รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
การปฏิรูปองค์กร
การปรับปรุงกฎระเบียบ
และพัฒนาระบบมาตรฐานในด้านต่าง ๆ
เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต
พร้อมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันและระบบ
บริหารความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ
โดยการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม
อย่างมีประสิทธิภาพ การเพิ่ม
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก
และการส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบ
ตลอดจนการ
สนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และการบริหารจัดการเศรษฐกิจ
และการสร้างเครื่องมือ และกลไกในการกระจาย
ประโยชน์อย่างทั่วถึง
เพื่อให้การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจช่วยแก้ปัญหาความยากจน
และมีการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น
(4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ
และการสร้างความมั่นคงของฐาน
ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มุ่งรักษาฐานทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์
และการใช้ประโยชน์
การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และการพัฒนาที่ยั่งยืน
ด้วยการปรับแบบแผน
การผลิตและพฤติกรรมการบริโภค
เพื่อลดผลกระทบต่อฐานทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพ
การบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการพัฒนาคุณค่าความหลาก
หลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้วยการจัดการองค์ความรู้
และสร้างภูมิคุ้มกัน
ตลอดจนส่งเสริมการใช้ความหลาก
หลายทางชีวภาพในการสร้างความมั่นคงของภาคเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน และพัฒนาขีดความสามารถ และสร้าง
นวัตกรรมจากทรัพยากรชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศ
(5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
มุ่งเสริมสร้างความเป็นธรรม
ในสังคมอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างและพัฒนาวัฒธรรมประชาธิปไตย
และธรรมาภิบาลให้เป็น
ส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมไทย
เสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชน ให้สามารถเข้าร่วมในการบริหาร
จัดการประเทศ พร้อมทั้งสร้างภาคราชการที่มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล โดยเน้นการบริหาร
แทนการกำกับควบคุม
และทำงานร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนา มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการประเทศสู่สากล ท้องถิ่น และชุมชนเพิ่มขึ้น
ต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเข้มแข็ง สุจริต
และมีธรรมาภิบาล ขณะเดียวกัน ดำเนินการปฏิรูป
กฎหมาย กฎระเบียบ
และขั้นตอน กระบวนการเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อสร้างความสมดุลในการจัดสรร
ประโยชน์จากการพัฒนา
รวมทั้งมีการรักษาและเสริมสร้างความมั่นคงเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการประเทศสู่ดุลยภาพ
และความยั่งยืน
|
(6) การขับเคลื่อนแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10 โดยที่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต
ทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ธุรกิจเอกชน และรัฐ
ซึ่งเน้นการปฏิบัติเป็นแนวทางหลักในการบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้น
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึงให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ
ซึ่งทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วม
ในการ
พัฒนาและนำเอาแนวทางตาม 5
ยุทธศาสตร์ของแผนฯ มาแปลงเป็นแผนปฏิบัติการ
โดยภาครัฐจะดำเนินการจัดทำแผน
การบริหารราชการแผ่นดิน ชุมชนก็จะใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ ในแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 10 ได้กำหนดแนวนโยบายและมาตรการของรัฐที่สำคัญ
รวมทั้งแนวทางด้านการวิจัยและพัฒนาที่จะต้องดำเนินการในช่วงแผน
พัฒนาฯ
ฉบับที่ 10 ไว้ด้วยแล้ว