สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดทำ
แผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2556 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 22 เรื่อง แนวทางการจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต เพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตขององค์การ โดยมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมจตุรทิศ ชั้น 3 โรงแรม โกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพมหานคร
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ กล่าวว่า เนื้อหาที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมสัมมนาครั้งนี้
เป็นเรื่องสืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน
2555
ซึ่งได้เห็นชอบกับกรอบแนวทางและมาตรการในการดำเนินการเพื่อให้ส่วนราชการ
เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง
เมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้น โดยได้มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ทำหน้าที่จัดระบบการบริหารจัดการให้หน่วยงานต่างๆสามารถตอบสนองต่อปัญหาและ
แก้ไขความไม่มีประสิทธิภาพของการดำเนินงานซึ่งอาจทำให้การให้บริการประชาชน
สะดุดหยุดลงได้
สำนัก
งาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ ประการแรก
มีการจัดประชุมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
ที่เรียกว่า Business Continuity Management หรือ BCM
และสร้างความตระหนักในการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจแก่หน่วยงานของ
รัฐ ไปเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา ประการที่สอง
จัดทำโครงการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการจัดทำแผนรองรับภารกิจการให้บริการ
ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
โดยประสานความร่วมมือกับบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ที่ปรึกษา จำกัด
ให้ศึกษากระบวนการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตของหน่วยงานนำร่อง 2 แห่ง คือ
หน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด จังหวัดฉะเชิงเทรา
เพื่อจัดทำคู่มือการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
เผยแพร่ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ
นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องต่อไป ศาสตราจารย์พิเศษ
ดร. ทศพร กล่าว
ต่อจากนั้น นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดการประชุมความตอนหนึ่งว่า
สถานการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น กับประเทศไทยเมื่อปลายปี 2554
แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานของรัฐขาดความพร้อมและไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือ
ปฏิบัติงานในภารกิจที่สำคัญได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ
งานให้บริการประชาชนที่ต้องสะดุดหยุดลง จนก่อให้เกิดความเสียหาย
รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้
โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางให้ทุกหน่วยงานของรัฐเตรียมความพร้อมเพื่อ
ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องแม้ประสบภัยพิบัติ โดยให้สำนักงาน
ก.พ.ร.
เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการให้หน่วยงานรัฐสร้างความพร้อมให้องค์การ
ด้วยการศึกษาแนวทาง การบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
เพื่อนำมาจัดทำคู่มือการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
เผยแพร่ให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานให้บริการ
ประชาชน อีกทั้ง เพื่อให้การดำเนินการนี้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน
ทุกหน่วยงานต้องมีการฝึกซ้อมแผน ติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามระบบที่วางไว้
นำผลการดำเนินการมาทบทวนปรับปรุง
และเตรียมความพร้อมด้านระบบงานต่างๆอย่างเสมอ
ตลอดจนปลูกจิตสำนึกให้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์การ
ท้ายสุดก็เพื่อให้องค์การสามารถแก้ไขปัญหาในสภาวะวิกฤตได้อย่างทันท่วงทีและ
มีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ต่อจากนั้น นายวีระพงษ์ กฤษดาวัฒน์ ผู้แทนจากบริษัท ดีล้อยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ที่ปรึกษา จำกัด
ได้ชี้แจงแนวทางการจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตและกรณีศึกษาการจัด
ทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตของหน่วยงานนำร่อง สรุปได้ว่า
แนวคิดในการเตรียมความพร้อมองค์การ ภาคเอกชนจะใช้คำว่า
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือ Business Continuity Management
(BCM) ตามมาตรฐานสากล BS25999 ซึ่งเป็นมาตรฐานของสหราชอาณาจักร ซึ่ง BCM
นั่นคือ องค์รวมของกระบวนการบริหารซึ่งชี้บ่งภัยคุกคามขององค์กร
และผลกระทบของภัยคุกคามนั้นต่อการดำเนินธุรกิจ
และให้แนวทางในการสร้างขีดความสามารถให้องค์กรมีความยืดหยุ่น
เพื่อการตอบสนองและปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชื่อเสียง
ภาพลักษณ์ และกิจกรรมที่สร้างมูลค่าที่มีประสิทธิผล
ซึ่งแนวทางการบริหารความต่อเนื่อง มี 6 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1
การบริหารโครงการจัดการความต่อเนื่อง ซึ่งเป็นขั้นตอนการจัดทำกรอบนโยบาย
BCM โครงสร้าง BCM หน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงจัดตั้งทีมงาน BCM
ขั้นตอนที่ 2
การศึกษาและทำความเข้าใจองค์กร
โดยรู้และเข้าใจสภาพและการดำเนินงานขององค์กร
ว่าจะรับผลกระทบหรือความสี่ยงอะไร ผ่านวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ
(Business Impact Analysis-BIA) และการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment
RA) เพื่อระบุความเร่งด่วนของกิจกรรมต่างๆ และระดับความสามารถที่ต้องการ
เพื่อนำไปจัดระดับความสำคัญของกระบวนงาน การกำหนดแนวทาง และกำหนดกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความต่อเนื่อง
นั่นคือการกำหนดแนวทางในการตอบสนองการหยุดชะงักของการดำเนินงานขององค์กร
ได้แก่ กลยุทธ์กู้คืนการดำเนินงาน กลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม
ตามข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (BIA) ซึ่งประกอบด้วย
ด้านอาคาร/สถานที่ปฏิบัติงานหลัก ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่สำคัญ
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลที่สำคัญ ด้านบุคลากรหลัก และ
ด้านคู่ค้า/ผู้ให้บริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ
ขั้นตอนที่ 4
การพัฒนาและเตรียมการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉิน
โดยการจัดแผนความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan - BCP)
ซึ่งเป็นขั้นตอนในการจัดทำแผนงานเพื่อเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานสามารถตอบ
สนองต่อสภาวะฉุกเฉิน
ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบ ปรับปรุงและทบทวนแผน เพื่อเตรียมความพร้อม ตรวจสอบความสามารถของบุคคลากร และประสิทธิภาพของแผนในการตอบสนองต่อสภาวะวิกฤต
ขั้นตอนที่ 6
การปลูกฝัง BCM ให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
เพื่อให้พนักงานทุกคนได้ซึมซาบและเข้าใจถึงความสำคัญของ BCM
ตลอดจนบทบาทหน้าที่ที่ทุกคนพึงมี
เพื่อให้ภารกิจดำเนินต่อไปได้ในยามที่เกิดเหตุวิกฤต
การ
ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤติ
มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษา องค์การมหาชน
และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งหลังจากการประชุมชี้แจงแนวทางฯ ในครั้งนี้ สำนักงาน
ก.พ.ร.
จะจัดคลินิกให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการบริหารความต่อเนื่องในสภาวะวิกฤตและ
จัดทำแผนความต่อเนื่อง
เพื่อให้ส่วนราชการดำเนินการและจัดทำการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตให้
แล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน และนำแผนฯ ไปซักซ้อม ปรับปรุง และทบทวน
ภายในเดือนสิงหาคม ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร.จะติดตามการดำเนินการตามแผนฯ
เพื่อรายงานความก้าวหน้าต่อคณะรัฐมนตรีในเดือนกันยายน 2556 ต่อไป
ทั้งนี้ ส่วนราชการสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.opdc.go.th
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
ภัทรพร (สลธ.) / รายงาน
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 28 มีนาคม 2556 09:55:08 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 28 มีนาคม 2556 09:55:08