ประชุมเจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัดฯ
ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของกระทรวงแรงงาน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 10.00 - 12.00 น. ได้มีการจัดประชุม
เจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย น้ำหนัก
และเกณฑ์การให้คะแนนตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของกระทรวงแรงงาน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร กระทรวงแรงงาน
การประชุมดังกล่าวเป็นการ
ประชุมเพื่อเจรจาความเหมาะสมของค่าเป้าหมาย น้ำหนัก
และเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด ในระดับกระทรวง กลุ่มภารกิจ
และสำนักงานปลัดกระทรวง โดยเป็นการประชุมระหว่างผู้บริหารของกระทรวงแรงงาน
กับกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลฯ ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงาน
ก.พ.ร. และที่ปรึกษาด้านการประเมินผล (บริษัท ทริส)
ผู้เข้าร่วมประชุมเจรจาฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย
ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน
1. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
2. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน
3. นางนฤมล ธารดำรงค์ ที่ปรึกษากระทรวงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
4. นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน
5. น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน
6. นางผจงสิน วรรณโกวิท รองปลัดกระทรวงแรงงาน
7. นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน
8. นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
9. นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
10. ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
11. น.ส.พรรณี ศรียุทธศักดิ์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ
นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน
|
|
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน
|
น.ส.ส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน และ นางผจงสิน วรรณโกวิท รองปลัดกระทรวงแรงงาน
|
กรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลฯ
1. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
2. นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
3. นายแล ดิลกวิทยรัตน์
4. นางวันเพ็ญ กฤตผล
5. นายโกวิท ตันติวงศ์
กรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลฯ
สำนักงาน ก.พ.ร.
1. นายสุวิทย์ อมรนพรัตนกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ
2. น.ส.สุกัญญา องค์วิเศษไพบูลย์
3. น.ส.สุภาภรณ์ ชัยศักดิ์ศรี
4. น.ส.พิมพ์พิกา ดวงพัสตรา
ที่ปรึกษาด้านการประเมินผล (บริษัท ทริส)
1. นายสมชาย ไตรรัตน์ภิรมย์
2. นายเกรียงไกร หวังวาณิชกิจ
นางจุฑารัตน์ จันทร์วิกูล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กระทรวงแรงงาน
สำหรับตัวชี้วัดในระดับกระทรวง กลุ่มภารกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวง สามารถสรุปได้ ดังนี้
|
ตัวชี้วัด
|
กระทรวงแรงงาน
|
แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง
|
1. ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการจัดหาและ/หรือพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมที่สำคัญ
2. ร้อยละของผู้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานที่กลับเข้าสู่ระบบแรงงาน
3. ระดับความสำเร็จร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุมาตรการป้องกันผลกระทบจากการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี
4. อัตราการประสบอันตรายจากการทำงานต่อ 1,000 ราย
5. ร้อยละเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนต่อการให้บริการภาพรวมของสถานพยาบาลโครงการประกันสังคม
|
นโยบายสำคัญ/พิเศษของรัฐบาล
|
6. ร้อยละของสถานประกอบการเป้าหมายที่ได้ดำเนินการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามเกณฑ์ของศูนย์ยกระดับรายได้ 300 บาท
7. ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยจากรัฐบาล
|
แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกันระหว่างกระทรวง (Joint KPI)
|
8. ร้อยละที่ลดลงของจำนวนผู้เสพ/ผู้ติด/ผู้ค้ายาเสพติด
9. ร้อยละของผู้ใช้แรงงานที่มีการป้องกันตนเองโดยใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุด
10.จำนวนด้านตามตัวชี้วัดการวิจัย เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก ของประเทศไทยที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมีอันดับดีขึ้น
|
กลุ่มภารกิจด้านส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(กรมการจัดหางานและกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
|
|
1. ร้อยละของสถานประกอบกิจการที่ผ่านการตรวจและปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
2. อัตราการคงอยู่ของผู้ประกันตนภาคสมัครใจ (มาตรา 40)
|
กลุ่มภารกิจด้านประกันความมั่นคงในการทำงาน
(กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม)
|
|
1. ร้อยละของค่าเฉลี่ยในการจัดหาและ/หรือพัฒนาฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานในแต่ละจังหวัด
2. ระดับความสำเร็จในการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพและการมีงานทำ
2.1 ร้อยละของแรงงานที่ผ่านการฝึกอบรมและสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ภายใน 3 เดือน
2.2 ร้อยละของแรงงานที่ผ่านการฝึกอบรมและมีงานทำภายใน 3 เดือน
|
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
|
1. รายงานการเตือนภัยด้านแรงงานรายไตรมาสและรายปีที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์
2. ร้อยละของจำนวนรายงานในระบบศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงแรงงาน (Ministry of Labour Center : MLOC)
3. จำนวนแรงงานไทยที่ได้รับการส่งเสริมการจ้างงานไปทำงานในต่างประเทศ
4. ร้อยละของปัญหาแรงงานไทยในต่างประเทศที่ได้รับการแก้ไข
|
สุกัญญา (สำนักโครงสร้างฯ) / ข้อมูล
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 12 มีนาคม 2555 10:34:11 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 12 มีนาคม 2555 10:34:11