Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2553 / กันยายน / กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนาชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 (ปรับรุงใหม่)

กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนาชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 (ปรับรุงใหม่)

กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 (ปรับปรุงใหม่)


          
สำนักงาน ก.พ.ร. ปรับปรุง กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 โดยยกเลิกตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน และเพิ่ม ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการดำเนินการถ่ายโอนงานด้านการตรวจสอบ และรับรองคุณภาพมาตรฐาน (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 พฤษภาคม 2553)

          ตามที่ OPDC News ได้นำเสนอข่าว กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ไป แล้วนั้น เนื่องจากได้มีการปรับปรุงตัวชี้วัดให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจ ของส่วนราชการ โดย อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการตรวจสอบภายใน โดยให้นำน้ำหนักของตัวชี้วัดดังกล่าว ไปรวมไว้ในตัวชี้วัด ร้อยละของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน/ภาพรวม/เงินโครงการลงทุนภาย ใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 นอกจากนี้ยังได้มีการเพิ่มตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการดำเนินการถ่ายโอนงานด้านการตรวจสอบ และรับรองคุณภาพมาตรฐาน (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 พฤษภาคม 2553) เนื่องจากเป็นภารกิจที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามติคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553

          ด้วยเหตุนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดทำ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ใหม่  โดยได้แจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบแล้วเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา

          สำหรับรายละเอียดของประเด็นการประเมินผลและตัวชี้วัดในแต่ละมิติ ตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554  ที่ได้ปรับปรุงใหม่  มีดังนี้


กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

ประเด็นการประเมินผล
การปฏิบัติราชการ
 
ตัวชี้วัด
น้ำหนัก
(ร้อยละ)

มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผล

50

  ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ

1.

ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงและนโยบายสำคัญ/พิเศษของรัฐบาล

25

 

 

1.1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง

(8)

 

 

 

1.2 ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ/พิเศษของรัฐบาล

(5)

 

 

1.3 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกันระหว่างกระทรวง

หมายเหตุ: กรณีที่กระทรวงใดไม่มีตัวชี้วัด 1.3 ให้นำน้ำหนักไปรวม ในตัวชี้วัดที่ 1.1

(10)

 

 

1.4 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาศูนย์บริการร่วมหรือเคาน์เตอร์บริการประชาชน

(2)

 

2.

ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกลุ่มภารกิจ

หมายเหตุ: กรณีไม่มีกลุ่มภารกิจให้นำน้ำหนักไปรวมไว้ที่ตัวชี้วัดที่ 1.1 และตัวชี้วัดที่ 3 ตัวชี้วัดละ ร้อยละ 5

10

 

3.

ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ/ภารกิจหลัก/เอกสารงบประมาณรายจ่ายฯ ของส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า

หมายเหตุ: ยกเว้น ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีฯ หรือส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายก หรือกระทรวงฯ ซึ่งไม่ต้องประเมินผลตามประเด็นการวัดผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการของ กระทรวงและกลุ่มภารกิจ ให้มีน้ำหนักของตัวชี้วัดที่ 3 เป็นร้อยละ 50

15

 

 

 

3.1 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ/ภารกิจหลัก

(10)

 

 

3.2 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามเป้าหมายผลผลิตของส่วนราชการ (ตามเอกสารงบประมาณรายจ่าย)

หมายเหตุ: กรณีมีตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการที่สะท้อนผลสำเร็จตามเป้าหมายผลผลิตได้ครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องวัดผลตามตัวชี้วัดนี้  โดยให้นำน้ำหนักไปรวมในตัวชี้วัด 3.1

(5)

   

-3.3 ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนระบบการตรวจราชการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติราชการ

หมายเหตุ: กำหนดเป็น ตัวชี้วัดภาคบังคับของสำนักงานปลัดกระทรวงทุกกระทรวงที่มีผู้ตรวจราชการ ประจำกระทรวง โดยรายละเอียดตัวชี้วัดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยสำนักงานปลัดสำนักนายก รัฐมนตรี กำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดเท่ากับ 2 และปรับลดน้ำหนักตัวชี้วัดที่ 3.1 ลงจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 8

(2)

 

 

-3.4 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการถ่ายโอนงานด้านการตรวจสอบ และรับรองคุณภาพมาตรฐาน (ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 พฤษภาคม 2553)

หมายเหตุ: กำหนดเป็นตัวชี้วัดภาคบังคับของส่วนราชการ ในกรณีที่ส่วนราชการใดมีตัวชี้วัด 3.4 ให้กำหนดน้ำหนักของตัวชี้วัดเท่ากับ 2 และปรับลดน้ำหนักตัวชี้วัดที่ 3.1 ลงจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 8

(2)

มิติที่ 2 ด้านคุณภาพการให้บริการ  

15

  ความพึงพอใจ

4.

ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ

6

 

5.

ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้กำหนดนโยบาย

3

  การป้องกันการทุจริต

6.

ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

6

มิติที่ 3  ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ

15

  การรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ

7.

ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ

3

  การบริหารงบประมาณ

8.

ร้อยละของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน/ภาพรวม/เงินโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

5

 

9.

ระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต

2

  การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน

10.

ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน

3

     

  การพัฒนากฎหมาย

11.

ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ

หมายเหตุ:  ส่วนราชการที่ไม่มีแผนพัฒนากฎหมายที่จะต้อง  ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ไม่ต้องประเมินผลตามตัวชี้วัดนี้ ให้นำไปรวมไว้ในตัวชี้วัดที่ 10 และ 11 ตัวละ ร้อยละ 1.0

2

มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์การ

20

  การบริหารจัดการองค์การ

12.

ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)

20

รวม

100


 

วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 14 กันยายน 2553 10:42:49 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 14 กันยายน 2553 11:09:07
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th