หลัง
จากที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัด การประชุมสัมมนาแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2553 ณ
ห้องแกรนบอลรูม ชั้น 1 โรงแรมรามาการ์เด้นท์ โดยมี นายวีระชัย วีระเมธีกุล
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม
โดยเชิญคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.)
อนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (อ.ค.ต.ป.) คณะต่าง ๆ
รวมทั้งฝ่ายเลขานุการ ค.ต.ป. และ อ.ค.ต.ป. แต่ละคณะเข้าร่วมประชุม
เมื่อ
เร็ว ๆ นี้ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ก็ได้ลงสกู๊ปข่าวเรื่อง ยกระดับสแกนราชการ
เข้มโครงการรัฐ+ไทยเข้มแข็ง มีเนื้อหาเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ อัน
เป็นเครื่องมือเอกซเรย์ความโปร่งใสและธรรมาภิบาลของราชการที่ใช้ต่อเนื่องมา
ตั้งแต่ปี 2548 โดยมี คณะกรรมการตรวจ
สอบและประเมินผลภาคราชการ หรือ ค.ต.ป. เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินการดังกล่าว
ซึ่งในสกู๊ปข่าวดังกล่าวมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบและ
ประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
รวมทั้งเป้าหมายของการตรวจสอบและประเมินผล
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคราชการและภาคประชาชน ในวันนี้ OPDC News จึงขอสรุปประเด็นที่น่าสนใจดังกล่าว
มานำเสนอค่ะ
คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
(ค.ต.ป.) ชุดปัจจุบัน ซึ่งมี นาย
วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ได้วางกรอบการทำงานเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลให้เกิด
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 นี้
ยังคงให้ความสำคัญกับทั้งประเด็นการ
สอบทานกรณีปกติ และการสอบ
ทานกรณีพิเศษ โดยการสอบทานกรณีปกติจะเป็นการสอบทานใน 5 ประเด็น
เหมือนทุกปีที่ผ่านมา คือ การตรวจราชการ การตรวจสอบภายใน
การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ และรายงานการเงิน
สำหรับประเด็นการสอบทานกรณีพิเศษปีนี้
ได้ให้ความสำคัญกับโครงการสำคัญตาม นโยบายรัฐบาล
โดยจะสอบทานโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555
โครงการประกันราคาสินค้าเกษตร และ โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน
จากเดิมที่เน้นเพียงโครงการของกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยราชการเป็นหลัก
ทั้งนี้ เพื่อให้ผลการตรวจสอบที่ได้สามารถสนองต่อกลยุทธ์และทิศทางการพัฒนา
อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล
เรื่องการประเมินผล
เป็นเรื่องที่สำคัญ ปัจจุบันหน่วยงานกลางที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร
ได้พัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้วัดความสำเร็จ
ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
นั้น ๆ อย่างไรก็ตาม หลายส่วนราชการเห็นว่า
การจัดทำรายงานตามเครื่องมือดังกล่าวมีความซ้ำซ้อน
ซึ่งเป็นภาระของส่วนราชการ
จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการระบบการตรวจสอบประเมินผลของหน่วยงานกลางที่อยู่
ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร นายวีระ
ชัยกล่าว
ในแง่
ความแตกต่างระหว่างการตรวจสอบและ
ประเมินผล ในปี 2552 กับปี 2553 นั้น
จากเดิมการสอบทานกรณีพิเศษให้อยู่ในดุลยพินิจของ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง และ
อ.ค.ต.ป. กลุ่มกระทรวง ในการคัดเลือกโครงการเพื่อตรวจสอบ แต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2553 นี้ ค.ต.ป. ได้มีการกำหนดให้ตรวจสอบโครงการประกันราคาสินค้าเกษตร
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน
และโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม
การตรวจสอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนเป็นการตรวจต่อเนื่องจาก
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ของ อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัด ทั้ง 4 กลุ่ม
สำหรับโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งนั้น
ให้เป็นการตรวจต่อเนื่องจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 และ 2555
ตามระยะเวลาการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง
สำหรับ
ผลการดำเนินงานของ ค.ต.ป. ในปี
งบประมาณที่ผ่านมานั้น ประธาน ค.ต.ป. กล่าวว่า
ในภาพรวมถือว่าส่วนราชการและจังหวัดมีการพัฒนาที่ดีขึ้น
สามารถจัดวางระบบการควบคุมภายในได้ครอบคลุมส่วนราชการต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
และสามารถใช้กลไกการตรวจสอบที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรมากขึ้น
ทั้งนี้ ค.ต.ป.
ได้ดำเนินการบูรณาการระบบตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการให้เป็นระบบที่ไม่ทำ
ให้ส่วนราชการมีภาระเพิ่มขึ้น
อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบฯ โดย
ค.ต.ป. จะดำเนินการใน 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1
จัดทำระบบฐานข้อมูลกลางที่สนับสนุนต่อการดำเนินงานของ
หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินผล (อยู่ระหว่างดำเนินการโดย
อ.ค.ต.ป. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการกำหนดแนวทาง
วิธีการการบูรณาการระบบการตรวจสอบและประเมินผลของหน่วยงานกลางที่อยู่ใน
กำกับของราชการฝ่ายบริหาร โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2553 นี้)
ระยะที่ 2
พิจารณาความซ้ำซ้อนของเครื่องมือการตรวจสอบและประเมินผลของหน่วยงานกลาง
และปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (สำนักงาน
ก.พ.ร. ได้จัดทำเป็นคำของบประมาณประจำปี พ.ศ. 2554
เพื่อดำเนินการในส่วนนี้)
ระยะที่ 3 จัดทำคลังข้อมูลกลาง
โดยการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ
ซึ่งจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ง่าย สะดวก รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์
ทั้งในส่วนของหน่วยงานกลางเพื่อประโยชน์ในการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
และเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อสนับสนุนการบริหารราชการของฝ่ายบริหาร
ซึ่งคลังข้อมูลดังกล่าวจะช่วยลดภาระแก่ส่วนราชการ ในการจัดเตรียมข้อมูลต่าง
ๆ เพราะทุกภาคส่วนสามารถดึงข้อมูลจากคลังข้อมูลกลางไปใช้ได้โดยตรง
ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ
ก.พ.ร. ในฐานะกรรมการและเลขานุการ ค.ต.ป. กล่าวถึง
เป้าหมายของการตรวจสอบและประเมินผลว่า
เพื่อให้เกิดผลหลาย ๆ ด้าน อาทิ
ด้านบูรณาการและเสริมสร้างความเข้มแข็งของการกำกับดูแลและควบคุมตนเองที่ดี
ของส่วนราชการ
อันจะนำไปสู่การบรรลุผลตามเจตนารมณ์ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ด้านการเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ
และความมั่นใจแก่สาธารณชนต่อผลการปฏิบัติราชการตามนโยบาย
ยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ ว่าได้มีการตรวจสอบกำกับดูแลอย่างรอบคอบ
ที่สำคัญยังเป็นการส่งเสริมให้ผลการดำเนินงานของส่วนราชการมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล คุณภาพของการบริหารงาน
และคุ้มค่าต่อการปฏิบัติภารกิจของรัฐและยกระดับขีดสมรรถนะ การเรียนรู้
และศักยภาพของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงมีความยุติธรรม โปร่งใส
และความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน
สำหรับ
ประโยชน์ต่อภาคประชาชนนั้น
เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า
การตรวจสอบและประเมินผลนับเป็นกระบวนการที่ทำให้ประชาชนได้รับข้อเท็จจริง
ตลอดจนผลการดำเนินงานของส่วนราชการและจังหวัด
ว่าเป็นไปตามนโยบายหรือยุทธศาสตร์ของรัฐบาล รวมทั้งวัตถุประสงค์
เป้าหมายที่ส่วนราชการและจังหวัดกำหนดไว้หรือไม่ ประการใด
นอกจากนี้
การตรวจสอบยังเป็นกลไปที่ทำให้ทราบถึงปัญหาการดำเนินงานต่าง ๆ
ของส่วนราชการและจังหวัด เช่น
ความพร้อมและความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในเรื่องการตรวจสอบและประเมินผล
เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่าง ๆ
จะถูกนำมาปรับปรุงให้การตรวจสอบและประเมินผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อันจะทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการดำเนินงานของรัฐว่ามีความโปร่งใส
มีประสิทธิภาพ
อย่าง
ไรก็ตาม การดำเนินงานของ ค.ต.ป.
ไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระงานให้แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ
เนื่องจากแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลในประเด็นการสอบทานกรณีปกติจะเป็นการ
สอบทานการปฏิบัติงานของส่วนราชการและจังหวัดในเรื่องที่หน่วยงานกลางต่าง ๆ
ได้กำหนดระเบียบหรือแนวทางให้ส่วนราชการและจังหวัดดำเนินการเป็นปกติอยู่
แล้ว แต่กลับจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานราชการต่าง ๆ มากกว่า
เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลฯ
ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในหลาก
หลายด้าน ซึ่งอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างจากข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน
ทำให้สามารถให้ข้อคิดเห็น
ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการของหน่วย
งานราชการต่าง ๆ ที่ถูกค้นพบจากการสอบทานของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลฯ
ทั้งนี้ ล่าสุด
ค.ต.ป. กำลังจัดทำเว็บไซต์ www.paecthai.org
เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมผลการตรวจสอบผลการดำเนินงานของภาครัฐ
และเป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น ข้อร้องเรียน และเบาะแสต่าง ๆ
จากประชาชน เพื่อร่วมกันตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐมากขึ้น
อนึ่ง
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การตรวจสอบและ
ประเมินผลภาคราชการประสบความสำเร็จ ก็คือ
ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการเรื่องการตรวจสอบและ
ประเมินผล กำหนดให้มีระบบการติดตามผลการดำเนินงานในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
ผลการตรวจราชการ ผลการควบคุมภายใน ผลการตรวจสอบภายใน
ผลการดำเนินการตามคำรับรองฯ และรายงานการเงิน
รวมทั้งสามารถนำผลที่ได้จากการตรวจสอบและประเมินผลกลับไปสู่การพัฒนาให้การ
ปฏิบัติงานของส่วนราชการดียิ่งขึ้น เช่น
มีการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมกับภาระงาน
ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาการปฏิบัติงานของส่วนราชการจะทำให้ประชาชนได้
รับการบริการที่ดีและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น