กรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
องค์การมหาชนเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ต้องทำการประเมินผลการดำเนินงานตามคำ
รับรองการปฏิบัติงาน ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 นี้
มีองค์การมหาชนที่เข้าร่วมจัดทำคำรับรองการปฏิบัติงาน จำนวน 22 แห่ง
โดยแนวทางการประเมินผลขององค์การมหาชนในปีนี้จะมุ่งเน้นการกำหนดตัวชี้วัดผล
ผลิตและผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ
และให้องค์การมหาชนสามารถกำหนดตัวชี้วัดและวิธีการวัดให้สอดคล้อง
เหมาะสมกับบริบทของแต่ละแห่ง โดยแบ่งการประเมินผลออกเป็น 4 มิติ
น้ำหนักรวม ร้อยละ 100 ดังนี้
โดย
A, B, C, D หมายถึง น้ำหนักที่เกิดจากการเจรจาข้อตกลงฯ
ระหว่างคณะกรรมการเจรจาฯ และองค์การมหาชนในมิติที่ 1, 2, 3, 4
ซึ่งต้องกำหนดให้มิติที่ 1 มีน้ำหนักมากที่สุด รวมทั้งกำหนดให้มิติที่ 1
และมิติที่ 3 มีน้ำหนักมากกว่ามิติอื่น
เนื่องจากต้องการมุ่งเน้นที่ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานเป็น
หลัก
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553*
ประเด็นการประเมินผล การปฏิบัติราชการ
|
ตัวชี้วัด
|
น้ำหนัก
|
มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน
|
กำหนด
ประเมินและสะท้อนความสำเร็จของการปฏิบัติงานให้ได้ผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติ
งานตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งและอำนาจหน้าที่ขององค์การมหาชนที่กำหนดใน
กฎหมาย รวมทั้งพันธกิจที่องค์การมหาชนได้รับมอบหมายเพิ่มเติมจากรัฐบาล
เน้นวัดผลสำเร็จทั้งด้านผลผลิตและผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์
|
องค์การมหาชนเสนอตัวชี้วัดและวิธีการวัด
|
A
|
มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ
|
กำหนด
ประเมินและสะท้อนความสำเร็จในการตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการของผู้
มีส่วนได้เสียหลัก ได้แก่ รัฐบาล ผู้มีส่วนได้เสียทางตรง ได้แก่
ผู้ใช้บริการหลัก ผู้ได้รับผลกระทบทางตรงจากการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
|
องค์การมหาชนเสนอตัวชี้วัดและวิธีการวัด
ที่สะท้อนถึง
ความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การมหาชน
ความ
สำเร็จขององค์การมหาชนที่สามารถตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียในด้านวัตถุ
ประสงค์การจัดตั้งองค์กร และการปฏิบัติงานได้ตามที่ผู้มีส่วนได้เสียคาดหวัง
|
B
(อย่างน้อย
ร้อยละ 10)
|
มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
|
ประเมินและสะท้อนผลสำเร็จ
การ
ปฏิบัติงานทางการเงิน เนื่องจากองค์การมหาชนเป็นหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณ
เพื่อให้บริการที่ไม่แสวงหารายได้สูงสุด จึงมุ่งเน้นวัดความมีประสิทธิภาพ
ความคุ้มค่าในการบริหาร และใช้งบประมาณ รวมถึงทรัพยากรทางการเงินอื่น
ให้สร้างผลผลิตและผลลัพธ์สูงสุด
การ
ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการภายใน
โดยมุ่งพิจารณากระบวนการภายในที่จะช่วยนำเสนอคุณค่าให้ผู้ใช้บริการหรือ
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์กรพึงพอใจ
|
องค์การมหาชนเสนอตัวชี้วัดและวิธีการวัด
ที่สะท้อนถึง
ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในการบริหาร การใช้งบประมาณ หรือความคุ้มค่าทางสังคม
การปรับปรุงและพัฒนากระบวนการภายใน
|
C
(อย่างน้อย
ร้อยละ 10)
|
มิติที่ 4 มิติด้านการกำกับดูแลและการพัฒนาองค์การ
|
กำหนด
ประเมินและสะท้อนผลการปฏิบัติงานที่แสดงความสามารถในการบริหารงานตามหลักธร
รมาภิบาลและการกำกับดูแลตนเองที่ดี
รวมถึงความสามารถในการก้าวสู่อนาคตหรือการเตรียมพร้อมบริหารการเปลี่ยนแปลง
ผล
การปฏิบัติงานด้านการกำกับดูแลที่ดีของคณะกรรมการองค์การมหาชนต้องมีความ
โปร่งใส ตรวจสอบได้
และก่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน
รวมถึงการประเมินการพัฒนาองค์กรในระยะยาว
|
ตัวชี้วัดร่วมขององค์การมหาชนทุกแห่ง คือ
บทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ และการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการ
ตัวชี้วัดเลือก
องค์การมหาชนเสนอตัวชี้วัดและวิธีการวัดด้านการเรียนรู้และพัฒนาองค์การ
|
20 + D
|
รวม
|
100
|
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้จัดให้มีการเจรจาความเหมาะสมของตัวชี้วัด น้ำหนัก
และค่าเป้าหมายตามคำรับรองการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2553 ระหว่างคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล
และประธานกรรมการองค์การมหาชน แล้ว เมื่อวันที่ 14 - 16 ตุลาคม 2552
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2552 11:06:21 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2552 11:06:21