Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2551 / กุมภาพันธ์ / การสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

การสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

 การสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ
ด้านการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ


           นับเป็นการก้าวเข้าสู่ระดับความเข้มข้นและน่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเส้นทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งถือเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของระบบราชการ ในการปรับปรุงองค์กรในแต่ละด้านให้มีคุณภาพต่อเนื่องและยั่งยืน

           โดยเมื่อวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เรื่อง การจัดทำแนวทาง และวิธีการ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการของส่วนราชการ ณ ห้องกระดังงา โรงแรมเรดิสัน โดยมี นายสมภพ อมาตยกุล ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นประธานเปิดการสัมมนา

           นายสมภพ อมาตยกุล ประธาน อ.ก.พ.ร.เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ กล่าวว่า เรื่องของ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ที่ส่วนราชการจะต้องมีวิธีการและพยายามยกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการภาครัฐให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น ดังนั้น อ.ก.พ.ร. ชุดนี้จึงเกิดขึ้น เพื่อจัดการในเรื่องของแนวทาง และวิธีการในการนำระบบการพัฒนาคุณภาพมาใช้ในภาครัฐ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทำเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง และมีการถ่ายทอดความรู้มาสู่การยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ภายใน 1-2 ปี กระบวนการจัดการเพื่อไปสู่องค์กรที่เป็นเลิศ เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา มีทฤษฎี และต้องตาม Trend ของการบริหารจัดการให้ทัน

            ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวเสริมว่า การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แบ่งออกเป็น 2 Track คือ Organizational management Improvement Track และ Public Sector Management Quality Award Track

           สำหรับเรื่องรางวัลถือเป็นภาคสมัครใจ และส่วนราชการจะขอรางวัลร่วมกับ TQA : Thailand Quality Award ซึ่งถ้าส่วนราชการใดมีความพร้อมและมุ่งมั่นก็จะได้รับรางวัล แต่ Improvement Track จะใช้ PMQA เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงองค์กร โดยหลังจากได้นำ PMQA ไปใช้ในการประเมินองค์กรด้วยตนเองแล้วจะทราบว่า สถานะการบริหารจัดการอยู่ตรงไหน คือ as is เป็นอย่างไร แล้วหลังจากนั้นก็วางแผนเพื่อการปรับปรุง ซึ่งท่านสมภพได้ให้แนวคิดว่า บางครั้งส่วนราชการคิด to be ไม่ออกว่าจะทำอย่างไร ฉะนั้นเราอาจจะต้องมีคู่มือ ที่จะช่วยให้ดำเนินการได้อย่างถูกต้องกับวิธีการในแต่ละหมวดว่าควรทำอย่างไร ซึ่งจะได้มีโอกาสในการปรับปรุง (Opportunity for Improvement : OFIs ) และไปทำ Improvement Plan ในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องต่อไป

            ดร.ทศพร กล่าวต่อไปอีกว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นที่เขาตอบคำถามค่อนข้างลำบาก บางกรมเน้นลูกค้าเช่น สลค. เน้นลูกค้า ครม. ซึ่งไม่เหมือนกับลูกค้าที่มารับบริการโดยทั่วไป ประเด็นเหล่านี้ท่านสมภพกล่าวว่า หลังจากที่เราได้แนวทางในภาพรวมออกมาแล้ว เราอาจต้องไปจำแนกกลุ่มส่วนราชการอีกทีหนึ่งเพื่อที่จะได้จัดทำแนวทาง หรือคู่มือ ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยระบบราชการได้มาก เมื่อกรมรู้ว่าการดำเนินการที่ดีควรจะทำอย่างไรแล้ว จะได้มาคิดอ่านในสิ่งที่ควรปรับปรุงองค์กรต่อไป แล้วเราจะตามไปประเมินความก้าวหน้า ประเมินความสำเร็จของการปรับปรุงว่าเป็นอย่างไรบ้าง

            สำหรับบรรยากาศของการสัมมนานั้น เต็มไปด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้บริหารของส่วนราชการ ผู้บริหารจากภาคเอกชน รวมทั้งที่ปรึกษาจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแ่ห่งชาติ ที่ต่างร่วมกันให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแนวทาง และวิธีการในการพัฒนาระบบบริหารจัดการของส่วนราชการ ซึ่งสรุปผลในที่ประชุมเบื้องต้นได้ ดังนี้

            ความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐโดยรวม

            1. การพัฒนาระบบราชการอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอาณัติตามรัฐธรรมนูญที่ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการ ดังนั้น แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะช่วยในการยกระดับขีดความสามารถของส่วนราชการ

            2. สิ่งสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาระบบราชการ จะต้องเริ่มต้นจากการจำแนกกลุ่มส่วนราชการ (segment) ให้ชัดเจน เช่น อาจแบ่งออกเป็น กลุ่มสำนักงานปลัดกระทรวง กลุ่มนโยบาย กลุ่มบริการ เป็นต้น เพื่อให้แนวทางการดำเนินการสอดคล้องกับภารกิจของส่วนราชการ

            3. การสร้าง นักพัฒนาองค์กร เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาส่วนราชการในการดำเนินการปรับปรุงองค์กร เนื่องจากเมื่อส่วนราชการได้ประเมินองค์กรด้วยตนเอง แล้วจะรู้ว่าสิ่งที่เป็นอยู่ (as is) คืออะไร แต่ไม่ทราบว่าการจะพัฒนาไปสู่ to be นั้น จะดำเนินการอย่างไร จะมีเครื่องมือหรือเทคนิคใดสามารถนำมาใช้ได้

            4. ในการส่งเสริมแต่ละปีจะมีจุดมุ่งเน้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับทิศทางการพัฒนาระบบราชการในแต่ละปี เช่น บางปีอาจเน้นที่หมวด 5 หรือบางปีอาจเน้นที่หมวด 1 เป็นต้น

            5. ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่อง PMQA คือ ผู้บริหาร ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. อาจมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับผู้บริหาร โดยอาจจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ PMQA Workshop for Executive

            6. ประเด็นที่ต้องสื่อสารให้ตรงกันคือ ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์หรือถ้อยคำที่ใช้ในภาษาเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

        

            ความคิดเห็นต่อ คู่มือเทคนิคการปรับปรุงและพัฒนาองค์การ ในภาพรวม

            1. คู่มือนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นและคู่มือนี้ถือว่าเป็น Tool box แบบ General ซึ่งต่อไปต้องพัฒนาคู่มือไปสู่ราย segment และขั้นตอนการดำเนินการต่อจากนี้ไป คือ
                 - ประชุมสัมมนากลุ่มย่อยผู้เชี่ยวชาญ (Guru) แต่ละหมวด เพื่อทดสอบว่าเครื่องมือแต่ละเครื่องมือมีความเหมาะสม หรือควรแก้ไขเพิ่มเติมประการใด
                 - รวบรวมแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ของแต่ละเรื่อง

            2. ควรมีข้อแนะนำในการใช้คู่มือ เพื่อให้การประยุกต์ใช้มีความเหมาะสม โดยให้คำนึงถึง
                 - สิ่งที่ควรดำเนินการ และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ( Do / Dont)
                 - ข้อควรคำนึงในการใช้เครื่องมือแต่ละประเภทว่ามีความเหมาะสมกับหน่วยงานประเภทใด
                 - มีข้อแนะนำว่าสามารถดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ไหน ให้เป็นเสมือนแผนที่นำทางที่สามารถนำไปต่อยอดได้

            3. คู่มือนี้ถือเป็น menu of choices เท่านั้น เป็นเพียง guideline ซึ่งต้องคำนึงถึง Level of management ของส่วนราชการ และควรเขียนแนะนำไว้ว่า ส่วนราชการสามารถนำเครื่องมืออื่นๆ ที่เหมาะสมมาใช้ได้ แต่เครื่องมือที่ปรากฏในคู่มือฉบับนี้เป็นเครื่องมือที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เคยส่งเสริมให้ส่วนราชการดำเนินการไปแล้ว

            4. ควรแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการในแต่ละเรื่องว่าจะเกิดผลอย่างไร (Results) และกลุ่มเป้าหมายที่จะรับผิดชอบดำเนินการ คือใคร

            5. อาจจัดทำคู่มือในหลายลักษณะสำหรับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เช่น
                 - ฉบับย่อ สำหรับผู้บริหาร
                 - ฉบับกลาง สำหรับผู้สนใจ
                 - ฉบับสมบูรณ์ สำหรับผู้ปฏิบัติ

            6. ควรเพิ่มเติมความชัดเจนและความเข้าใจในหมวดลักษณะสำคัญขององค์กร (หมวด P) ต้องชี้ให้เห็นว่า ลักษณะสำคัญขององค์กรจะเชื่อมโยงกับการปรับปรุงองค์กรอย่างไร สามารถตอบโจทย์เรื่องความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในหมวด P หรือไม่

            7. แนวทางที่เขียนไว้ในคู่มือเป็นเพียง Approach เท่านั้น แต่ยังไม่ได้แนะนำไปถึงวิธีการ Deployment , Learning , Integration (ตามหลัก ADLI)  ดังนั้น ต้องหมายเหตุไว้ว่า แนวทางนี้เน้น Approach เท่านั้น

            8. ทำอย่างไรให้หน่วยงานหันมาทำด้วยความเต็มใจ มากกว่าทำเพื่อคะแนนตัวชี้วัด

    


            เหล่านี้ เป็นเพียงข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในเบื้องต้น เท่านั้น ซึ่งยังมีเนื้อหาและรายละเอียด ที่จำเป็นต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ได้ช่วยกันวิเคราะห์ สกัด และกรั่นกรองให้ได้รูปแบบที่สมบูรณ์เหมาะสม เพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทาง และวิธีการ ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการของส่วนราชการ ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะจัดให้มีการสัมมนาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในประเด็นต่างๆ มากยิ่งขึ้น และจะได้นำรายละเอียดความคืบหน้ามารายงานในโอกาสต่อไป


        

     

   

           


กลุ่มสื่อสาร สลธ. / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 8 กันยายน 2552 09:41:13 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 8 กันยายน 2552 09:41:13
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th