นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธาน ก.พ.ร. ลงนามแต่งตั้ง อ.ก.พ.ร. 2 คณะ
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ (ก.พ.ร.) ได้ลงนามในคำสั่งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจ (อ.ก.พ.ร.) รวม 2 คณะได้แก่
1. คำสั่ง ก.พ.ร. ที่ 21/2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจ เกี่ยวกับการเตรียมการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 279 และมาตรา 280
2. คำสั่ง ก.พ.ร.ที่ 22/2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ เฉพาะกิจ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหาร ราชการในต่างประเทศ
อ.ก.พ.ร. ทั้ง 2 คณะ มีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการเตรียมการให้เป็นไปตามบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 279 และมาตรา 280 |
มาตรา 279และมาตรา 280 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติเกี่ยวกับกับมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท โดยมาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวจะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงาน เพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ของรัฐมีจิตสำนึกให้ด้านจริยธรรม ประกอบกับ มาตรา 71/10 (1) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 บัญญัติให้ สำนักงาน ก.พ.ร. มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ และงานของรัฐ ซึ่งรวมถึงมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมด้วย
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังกล่าว เป็นไปด้วยความถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจึงได้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจ เกี่ยวกับการเตรียมการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 279 และมาตรา 280 ขึ้น โดยมี
องค์ประกอบ หรือ รายชื่อคณะอนุกรรมการ ดังนี้
1. |
นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ |
ที่ปรึกษาและอนุกรรมการ
|
2. |
เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน |
ประธานอนุกรรมการ
|
3. |
เลขาธิการ ก.พ. |
อนุกรรมการ
|
4. |
เลขาธิการ ก.พ.ร. |
อนุกรรมการ
|
5. |
พลเอกอัฎฐพร เจริญพานิชิ |
อนุกรรมการ
|
6. |
พลตำรวจโทวันชัย ศรีนวลนัด |
อนุกรรมการ
|
7. |
นายบรรลุ ศิริพานิช |
อนุกรรมการ
|
8. |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยกร ชื่นสงวน |
อนุกรรมการ
|
9. |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา |
อนุกรรมการ
|
10.
|
เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. |
อนุกรรมการและเลขานุการ |
11. |
เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. |
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
ในคำสั่งดังกล่าวข้างต้นได้กำหนดให้ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจเกี่ยวกับการเตรียมการให้เป็นไปตาม บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 279 และมาตรา 280 มี อำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. เสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ รวมถึง การวางกลไกและระบบเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทางคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมด้วย
3. ประสานงานกับผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 279 และมาตรา 280 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
4. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามคำสั่งนี้
5. เรียกให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ จัดส่งเอกสาร ข้อมูล เข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และดำเนินการอื่น ๆ แก่คณะอนุกรรมการและผู้ได้รับแต่งตั้ง หรือได้รับมอบหมายตามคำสั่งนี้
6. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมอบหมาย
คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการในต่างประเทศ
|
เนื่องจาก พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 50/5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการบริหารราชการในต่างประเทศ ในเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า อาจมอบอำนาจให้หัวหน้าคณะผู้แทนปฏิบัติราชการแทนได้ และเมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว หัวหน้าคณะผู้แทนมีหน้าที่กำกับ ติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับโอนอำนาจ รวมทั้งให้มีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้ ประกอบกับ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2545 ได้มีการบัญญัติเพิ่มเติมเกี่ยวข้องกับการมอบอำนาจไว้ กล่าวคือ เรื่องใดที่มิได้มีการกำหนดเรื่องการมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่นเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนได้ ทั้งนี้ ตามกลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ซึ่งอาจกำหนดให้มีการมอบอำนาจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตลอดจนการมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมสัญญา ฟ้องคดีและดำเนินคดี หรือกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการมอบอำนาจหรือผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติ
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการในต่างประเทศ การมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งในต่างประเทศปฏิบัติราชการแทนได้ และการกำกับ ติดตามผลการปฏิบัติราชการในต่างประเทศ เป็นไปด้วยความถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจ เกี่ยวกับระบบบริหารราชการในต่างประเทศ ขึ้น โดยมี องค์ประกอบ หรือ รายชื่อคณะอนุกรรมการ ดังนี้
1. |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) |
ประธานอนุกรรมการ
|
2. |
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ |
อนุกรรมการ
|
3. |
ปลัดกระทรวงการคลัง |
อนุกรรมการ
|
4. |
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ |
อนุกรรมการ
|
5. |
ปลัดกระทรวงแรงงาน |
อนุกรรมการ
|
6. |
เลขาธิการ ก.พ. |
อนุกรรมการ
|
7. |
เลขาธิการ ก.พ.ร. |
อนุกรรมการ
|
8. |
นายสมภพ อมาตยกุล |
อนุกรรมการ
|
9. |
นายกำธร อุดมฤทธิรุจ |
อนุกรรมการ
|
10.
|
นายวิทย์ รายนานนท์ |
อนุกรรมการ |
11. |
นายวิทยา เวชชาชีวะ |
อนุกรรมการ
|
12. |
รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นายอาวุธ วรรณวงศ์) |
อนุกรรมการและเลขานุการ |
13. |
นางสาวทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ |
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
14. |
นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล |
อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
ในคำสั่งแต่งตั้ง อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจ ดังกล่าว ได้กำหนดให้ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจ
เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารราชการในต่างประเทศ มี อำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง กลไกของระบบบริหารราชการในต่างประเทศ เพื่อสร้างระบบการมอบอำนาจของคณะผู้แทน ให้ปฏิบัติราชการแทนได้ รวมทั้งการกำกับ ติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นประโยชน์สูงสุด และตอบสนองความต้องการของราชการในต่างประเทศอย่างแท้จริง
2. ดำเนินการเกี่ยวกับการยกร่างกฎ ระเบียบ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขขั้นตอนและวิธีการบริหารราชการ
ในต่างประเทศ ตามข้อ 1
3. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมอบหมาย
ภัทรพร ข. & วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ