แถลงข่าว Doing Business
กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารโลก ร่วมกันแถลงข่าวเรื่องความสะดวกในการประกอบธุรกิจประจำปี 2551 (Doing Business 2008) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ณ ห้องประชุมป๋วย อึ้งภากรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าการวัดผลเรื่องความสะดวกในการประกอบธุรกิจประจำปี 2551 (Doing Business 2008) เป็นการสำรวจข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน 2549 ถึงเดือนมิถุนายน 2550 ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจลำดับที่ 15 เลื่อนขึ้นจากลำดับที่ 18 ในปี 2550 จากทั้งหมดจำนวน 178 ประเทศ และเขตเศรษฐกิจต่างๆ ประเทศสิงคโปร์อยู่ในลำดับที่ 1 เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน เขตปกครองพิเศษฮ่องกงอยู่ในลำดับที่ 4 ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในลำดับที่ 12 ประเทศมาเลเซียอยู่ในลำดับที่ 24 ประเทศเวียดนามอยู่ในลำดับที่ 91 และสาธารณรัฐประชาชน อยู่ในลำดับที่ 83 ซึ่งการรายงานการวัดผลเรื่องความสะดวกในการประกอบธุรกิจประจำปี 2551 เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการธุรกิจในการตัดสินใจที่จะเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศต่าง ๆ ในปีนี้ประเทศไทยเลื่อนขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 15 เพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการลดความซับซ้อนในการติดต่อราชการ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น
เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอื่นในภูมิภาค
|
ประเทศ
|
ลำดับ
|
ประเทศ
|
ลำดับ
|
สิงค์โปร์
|
1
|
จีน
|
83
|
ฮ่องกง
|
4
|
เวียดนาม
|
91
|
ญี่ปุ่น
|
12
|
อินโดนีเซีย
|
123
|
ไทย
|
15
|
ฟิลิปปินส์
|
133
|
มาเลเซีย
|
24
|
กัมพูชา
|
145
|
เกาหลี
|
30
|
ลาว
|
164
|
บรูไน
|
78
|
ติมอร์ตะวันออก
|
168
|
นายอาวุธ วรรณวงศ์ (รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ) กล่าวว่า รายงานผลของ ธนาคารโลกเป็นการสื่อสารให้ผู้ประกอบธุรกิจเกิดความมั่นใจที่จะเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ทั้งนี้การไต่อันดับเพิ่มขึ้น 3 อันดับเกิดจากความร่วมมือของส่วนราชการในการผลักดันให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนการทำงานลดลง สามารถติดต่อรับบริการได้ ณ จุดเดียว ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจเพิ่มขึ้น
วันนี้ระบบราชการก้าวหน้าไปมากจะเห็นตัวอย่างจากกรมสรรพากรได้รับรางวัลนานาชาติหลายรางวัล จึงคาดว่าในปีหน้าประเทศไทยจะก้าวติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศที่สะดวกในการประกอบธุรกิจได้ อีกทั้งในการวัดผลปีหน้าธนาคารโลกจะเพิ่มตัวชี้วัดอีก 2 ด้าน เกี่ยวกับด้านคอรัปชั่น และด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญและผลักดันในเรื่องนี้เป็นนโยบายหลักอยู่แล้ว
ประเทศที่มีความสะดวกในการประกอบธุรกิจมากที่สุด 20 ลำดับแรก
|
ลำดับ
|
ประเทศ
|
ลำดับ
|
ประเทศ
|
1
|
สิงค์โปร์
|
11
|
นอร์เวย์
|
2
|
|
12
|
ญี่ปุ่น
|
3
|
สหรัฐอเมริกา
|
13
|
ฟินแลนด์
|
4
|
ฮ่องกง
|
14
|
สวีเดน
|
5
|
เดนมาร์ก
|
15
|
ไทย
|
6
|
สหราชอาณาจักร
|
16
|
สวิตเซอร์แลนด์
|
7
|
แคนาดา
|
17
|
เอสโตเนีย
|
8
|
ไอร์แลนด์
|
18
|
จอร์เจีย
|
9
|
ออสเตรเลีย
|
19
|
เบลเยี่ยม
|
10
|
ไอซ์แลนด์
|
20
|
เยอรมัน
|
ผู้แทนธนาคารโลก (MS. Sylvia Solf) กล่าวสนับสนุนที่ประเทศไทยจะก้าวไปอยู่ใน 10 อันดับแรกได้ โดยกล่าวว่าประเทศไทยได้เดินมาถูกทางแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบราชการมากมาย เช่น การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ จะเห็นว่าการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์มีเพียง 2 ขั้นตอนและใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น เท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลกระบบหนึ่ง
ประเทศไทยจะไม่ก้าวไกลเท่านี้หากไม่มีการปรับปรุงกฎหมายและขั้นตอนการดำเนินงาน การก้าวไปสู่ 10 อันดับแรกอาจเน้นการปรับปรุงเรื่องการขอจดทะเบียนและใบอนุญาตต่างๆ ไว้ในหน่วยงานเดียวกัน การลดความซ้ำซ้อนของระบบภาษีอากร และการลดขั้นตอนทางเอกสารในส่วนของการค้ากับต่างประเทศ เป็นต้น
นวลจันทร์ (สลธ.) / จัดทำ
สุดารันต์ (สลธ.) / รายงาน
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 1 กรกฎาคม 2552 13:13:31 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 1 กรกฎาคม 2552 13:13:31