คณะอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศึกษาดูงาน
สำนักงาน ก.พ.ร.
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา คณาจารย์และนักศึกษา จากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าศึกษาดูงานการบริหารจัดการ ณ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วยงานต้นแบบของการบริหารจัดการ พร้อมทั้งรับฟังการบรรยาย ในหัวข้อ ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรค ในการปฏิรูประบบราชการให้เป็นไปตามตัวชี้วัด โดย นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นวิทยากรการบรรยาย สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การพัฒนาระบบราชการเพื่อส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เป้าหมายของการบริหารประเทศ
เป้าหมายของการบริหารประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารแบบใดก็ตาม ต้องอยู่ที่ความผาสุกของประชาชน อยู่ที่ความก้าวหน้าของประเทศ และที่สำคัญต้องเป็นวิธีการที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ดังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 70 ที่กำหนดไว้ว่า บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชน และ มาตรา 75 ที่กำหนดไว้ว่า รัฐต้องจัดระบบงานของ กระบวนการยุติธรรม อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ...... จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
ระบบราชการไทย
โดยจะเน้นหลักการ ด้านจริยธรรม ธรรมภิบาล และประโยชน์สุขของประชาชน
คุณลักษณะของข้าราชการ
เป็นข้าราชการมืออาชีพ
มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อชาติ ประชาชน
ปฏิบัติงานด้วยความฉลาด เต็มกำลังความสามารถ
ประสานการทำงานระหว่างหน่วยงาน
ใช้ดุลยพินิจให้เกิดประสิทธิผล ไม่ยึดติดกฎระเบียบ
ทำงานแบบมีส่วนร่วม
ทำงานเชิงรุก
เลิกประเพณีวิ่งเต้น
พัฒนาตนเอง
การบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management : NPM)
1. เน้นการบริหารงานในแบบมืออาชีพ (professional management)
2. กำหนดวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม ให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบ
ต่อผลงาน (accountability for results)
3. ให้ความสำคัญต่อการควบคุมผลสัมฤทธิ์ และการเชื่อมโยงให้เข้ากับการจัดสรรทรัพยากรและการให้รางวัล
4. ปรับปรุงโครงสร้างองค์การให้มีขนาดเล็กลง เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน มีการจ้างเหมางานบางส่วนออกไป (contract out)
5. เปิดให้มีการแข่งขันในการให้บริการสาธารณะ (contestability) เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้น
6. ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงานให้มีความทันสมัย อิงแบบของภาคเอกชน (business like approach)
7. เสริมสร้างวินัยในการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ความประหยัดและคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร
หลักการสำคัญของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
1. วัตถุประสงค์และสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงาน
- ด้านผลผลิต (output)
- ผลลัพธ์ (outcome)
- ความคุ้มค่า
2. การพัฒนาคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้รับบริการ (ลูกค้า)
ดังนั้น จึงต้องนำเทคนิควิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้มากขึ้น เช่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารคุณภาพโดยภาพรวม การจัดและประเมินผลงาน การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงาน จึงทำให้ต้องมีการดำเนินการเปลี่ยนแปลงในด้านของ วิธีคิด วิธีการเรียนรู้ เทคนิคการบริหารจัดการและการทำงาน การสร้างภาวะผู้นำ การพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนทัศนคติในการทำงาน โดยยึดประชาชนเป็นเป้าหมาย การเปลี่ยนวิธีการทำงาน ให้มีความขยัน อดทน มีความรับผิดชอบและมีความเป็นธรรม มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้บรรลุผล เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมให้แก่องค์กร รวมถึงมุ่งสู่ความเป็นเลิศขององค์กร
การจัดแบ่งประเภทของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ตามกระแสแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูประบบบริหารงานภาครัฐ
1. การปรับปรุงประสิทธิภาพ (efficiency drive)
ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงานให้ทันสมัย
มีการบริหารงานเชิงธุรกิจมากขึ้น
มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน
2. การลดขนาดและการกระจายอำนาจ (downsizing and decentralization)
เปิดให้กลไกตลาดเข้ามาแทนภาครัฐ
จัดกลุ่มประเภทภารกิจงานหลัก/งานรอง (core function / non-core function)
เปิดให้มีการทดสอบตลาด (markettesting)
เปิดให้มีการแข่งขัน (contestability)
แยกผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการออกจากกัน (purchaser provider split)
ใช้ระบบการทำสัญญาข้อตกลง (contractualism)
การจัดตั้งองค์การบริหารงานอิสระของฝ่ายบริหาร (agencification)
3. การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (in search of excellence)
ให้ความสำคัญเรื่องวัฒนธรรมองค์การ ค่านิยม จรรยาบรรณวิชาชีพการบริหารความเสี่ยง
4. การให้ความสำคัญต่อการบริการประชาชน (public service orientation)
มุ่งเน้นคุณภาพการดำเนินงาน
ให้ความสำคัญต่อความพึงพอใจของลูกค้าผู
การมีส่วนร่วมของประชาชน
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546 2550 (ตามมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ.2546 2550
ยุทธศาสตร์ 1 : การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
ยุทธศาสตร์ 2 : การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
ยุทธศาสตร์ 3 : การปรับรื้อระบบการเงินและการงบประมาณ
ยุทธศาสตร์ 4 : การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่
ยุทธศาสตร์ 5 : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมของระบบราชการ
ยุทธศาสตร์ 6 : การเสริมสร้างความทันสมัย (รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์)
ยุทธศาสตร์ 7 : การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
สำนักงาน ก.พ.ร. มีแนวทางดำเนินการที่สำคัญในอันที่จะขังเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ ดังนี้
1. สานต่อสิ่งที่ได้ริเริ่มไว้ที่ยังไม่เสร็จต่อไปให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ผลักดันเรื่องการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบังคับใช้บทบัญญัติใน พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
1.1 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงาน
การทำงานโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
การทำงานเป็นทีม (Team work)
การเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
การบริหารความรู้ (Knowledge management)
1.2 การพัฒนารูปแบบการบริการประชาชน
การจัดหน่วยงานเคลื่อนที่ (Mobile Unit)
คาราวาน แก้จน
1.3 ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
1.4 ระบบประเมินผล
การวัดผลสำเร็จของงานโดยใช้ระบบ Balanced scorecard
ระบบประเมินผลรายบุคคล (Individual scorecard)
2. ผลักดันให้ส่วนราชการสามารถนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติให้บังเกิดผล
เน้นให้ความสำคัญเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อขับเคลื่อนและทำให้ยุทธศาสตร์ประสบความสำเร็จ (Making strategy work) โดยให้มีการจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Blueprint for Change) เพื่อวางแนวทางการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง กระบวนงาน เทคโนโลยี คน และวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับแผนพัฒนากฎหมาย
3. เพิ่มขีดสมรรถนะและยกระดับคุณภาพมาตรฐานของข้าราชการและหน่วยงานภาครัฐ
เสริมสร้างยุทธวิธีก้าวสู่ความสำเร็จสูงสุดของผู้บริหารระดับกลาง (High Impact Middle Management: H.I.M.M.) เพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ทั่วไป ผ่านระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ในหลักสูตร mini MPM จัดทำสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning package) ชุด Making Strategy work การสร้างวิทยากรตัวคูณเพื่อขยายผลต่อไป และส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติราชการให้เป็นไป ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award: PMQA)
4. รักษาเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ
เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร.กับกลุ่มพัฒนาระบบบริหารของกระทรวง/กรมและสร้างเครือข่าย การพัฒนาระบบราชการกับภาคเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชนและประชาชน รวมทั้งองค์กรระดับนานาชาติและประเทศเพื่อนบ้าน
5. ให้ความสำคัญต่อการสื่อสารการเปลี่ยนแปลง
มอบหมายให้ผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change leader) ในทุกระดับทำหน้าที่ในการถ่ายทอดแนวความคิด ประสบการณ์และแสดงตนเป็นแบบอย่างของการเปลี่ยนแปลง อันจะนำไปสู่การปรับกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมในวงราชการ
ภัทรพร ข. & วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 1 กรกฎาคม 2552 14:09:56 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 1 กรกฎาคม 2552 14:09:56