เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยกลุ่มพัฒนาระบบสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ กลุ่มงานวิชาการ โดยความร่วมมือของ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) ได้จัด พิธีลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ โครงการศึกษารูปแบบการพัมนาระบบบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับกระทรวง ขึ้น โดยเป็นการลงนามข้อตกลงระหว่าง สำนักงาน ก.พ.ร. กับ 3 หน่วยงานนำร่อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งพิธีลงนามดังกล่าวจัดขึ้น ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท
ก่อนพิธีลงนามข้อตกลงดังกล่าว ได้มีการบรรยายเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งชี้แจงแนวทางและรายละเอียดของ โครงการศึกษารูปแบบการพัมนาระบบบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับกระทรวง โดย ดร.อรพินท์ สพโชคชัย กรรมการ ก.พ.ร. และประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
จากนั้นได้มีพิธีลงนามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ โครงการศึกษารูปแบบการพัมนาระบบบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับกระทรวง ซึ่งเป็นการลงนามร่วมกันระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. กับ หน่วยงานนำร่อง 3 หน่วยงาน ดังนี้
ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร.
คุณปราโมช รัฐวินิจ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
(โดยมีคุณกฤษณพร เสริมพานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์เป็นผู้แทน)
คุณศิริพร กัญชนะ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
คุณกานดา วัชราภัย รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. เปิดเผยว่า จากการปฏิรูปการเมืองการปกครอง และกระแสความต้องการของประชาชน ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินมากขึ้น ทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัว โดยเปิดระบบราชการเข้าสู่ กระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy)ที่ยอมรับและให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร แสดงความคิดเห็น และเข้าร่วมตัดสินใจนโยบายรัฐ
ดังนั้น ก.พ.ร. จึงได้กำหนดให้การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมเป็นภารกิจหนึ่ง ที่หน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการ โดยกำหนดไว้ใน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 - 2550) ยุทธศาสตร์ที่ 7 : การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานภาครัฐมากขึ้น โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงาน 2 ด้าน คือ
- การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมจากภายในภาคราชการ (Inside-out approach)
- การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมจากภายนอกภาคราชการ (Outside-in approach)
สำนักงาน ก.พ.ร. โดยความร่วมมือของ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) จึงได้ดำเนินการศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในส่วนราชการระดับกระทรวงและกรมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับนโยบาย และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการอย่างเป็นรูปธรรม รวมไปถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม สำหรับข้าราชการระดับกระทรวงหรือกรม ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เปลี่ยนแปลงกลไกในการกำหนดนโยบายและพัฒนาระบบบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
โดยคาดว่าผลการศึกษาครั้งนี้ จะำนำไปสู่การปรับปรุงกฎ ระเบียบ หรือนโยบายของหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับหลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการและบุคลากรของหน่วยงานของร้ัฐ ที่เหมาะสมในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการภายใน 1 ปี
สำนักงาน ก.พ.ร. คาดหวังว่า ในอนาคต โครงการศึกษารูปแบบการพัมนาระบบบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับกระทรวง จะนำมาซึ่งความรู้ความเ้ข้าใจในเรื่องของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่รัฐ กับแนงทางในการกำหนดแผนงาน นโยบาย รวมไปถึงยุทธศาสตร์ของการสร้างระบบบริหรราชการแบบมีส่วนร่วม ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นต้นแบบที่จะนำไปขยายผลสำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว&ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ