Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
หนังสือเวียน / มติ คณะรัฐมนตรี / มติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2550 / พฤษภาคม / วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2550

วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2550

 สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 8 พ.ค. 50

ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.พ.ร.

           การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 8 พฤษภาคม 2550 ซึ่งมีพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์์ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้

กฎหมาย

เรื่อง
ร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ ของส่วนราชการ
ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
และร่างพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่
ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(โอนอำนาจหน้าที่การกำกับดูแลมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัยและ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจากนายกรัฐมนตรี
ไปเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)

      
        
 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....            และร่างพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (โอนอำนาจหน้าที่การกำกับดูแลมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจากนายกรัฐมนตรีไปเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)  ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ  และให้ดำเนินการต่อไปได้

         สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่าได้พิจารณาทบทวนแล้วเห็นว่าสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ควรอยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  มีเพียงมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและได้นำเรียนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธีรภัทร์  เสรีรังสรรค์) ผู้มีอำนาจสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  พิจารณาเมื่อวันที่ 2 เมษายน  2550  และได้รับคำยืนยันเมื่อวันที่ 18 เมษายน  2550 ว่าสถาบันการศึกษาของพระสงฆ์ทั้ง 2 สถาบันควรอยู่ในกำกับดูแลของกระทรวง ศึกษาธิการ  จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ

         ร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ ..)     พ.ศ. .... (โอนอำนาจหน้าที่การกำกับดูแลมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจากนายกรัฐมนตรีไปเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)  มีสาระสำคัญดังนี้

         1. ปรับปรุงแก้ไขมาตรา 160 แห่งพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545  พ.ศ. 2545
         2. แก้ไขมาตรา 85 และมาตรา 86 แห่งพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ.

สังคม

เรื่อง
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549


         คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.)  เสนอ
ดังนี้
          1. รับทราบการรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
          2. เห็นชอบประเด็นข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ ดังนี้
             2.1 ประเด็นเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน  เนื่องจากผู้บริหารระดับกระทรวง ยังไม่ได้ใช้การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือช่วยในการบริหารงานอย่างเต็มที่และส่วนใหญ่ยังเน้นการตรวจสอบการเงิน การบัญชี  และการปฏิบัติตามข้อกำหนดโดยยังมิได้เน้นการตรวจสอบความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการดำเนินงาน จึงเห็นควรให้กรมบัญชีกลางเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดต่าง  ๆ  ได้แก่
                2.1.1 สร้างกลไกให้ผู้ตรวจสอบภายในมีอิสระอย่างแท้จริงในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน   มีอัตรากำลังที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานโดยเฉพาะการปฏิบัติงานในจังหวัด
                2.1.2 ปรับปรุงระบบการตรวจสอบในระดับกระทรวงและระดับกรมให้มีความเชื่อมโยงเพื่อดำเนินงานในภาพรวมของกระทรวง
                2.1.3 ส่งเสริมและพัฒนาขีดสมรรถนะของผู้ตรวจสอบภายใน โดยจัดให้มีการอบรม พัฒนาให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ ควรที่จะมีการประชาสัมพันธ์  หรือชี้แจงให้ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสอบภายใน  และให้การสนับสนุนในการดำเนินงานของผู้ตรวจสอบภายใน
            2.2 ประเด็นเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน โดยที่ได้พบว่า ส่วนราชการส่วนใหญ่ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบควบคุมภายในการประเมินความเสี่ยง และยังไม่ให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 จึงเห็นควรให้กรมบัญชีกลางเป็นเจ้าภาพในการอบรมและสร้างกลุ่มบุคคลที่มีความรู้  ความเข้าใจ  และมีความเชี่ยวชาญ  ในเรื่องระบบการควบคุมภายในที่ยั่งยืน  เพื่อทำหน้าที่ในการให้ความรู้  และคำปรึกษาแก่ส่วนราชการ และจังหวัดในการจัดทำระบบการควบคุมภายใน สำหรับใช้เป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการกำกับดูแลตนเองที่ดีต่อไป
            2.3 ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ในการรายงานผลการปฏิบัติราชการได้พบว่า ส่วนราชการและจังหวัดบางส่วนยังขาดความเข้าใจในกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ การจัดทำตัวชี้วัดซึ่งต้องเร่งเสริมสร้างจิตสำนึกของเจ้าหน้าที่และปรับวัฒนธรรมองค์กรให้มีการปฏิบัติราชการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างจริงจัง   และจัดให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อประโยชน์ในการนำผลการปฏิบัติราชการไปใช้ประกอบในการจัดสรรทรัพยากร จึงควรดำเนินการให้ได้ผลออกมารวดเร็ว  และให้ทุกส่วนราชการมีการเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติราชการต่อสาธารณะ  ในประเด็นนี้  จึงเห็นควรให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอนการติดตามและประเมินผลราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดให้สามารถทราบผลของการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยควรให้ทราบผลโดยเร็วที่สุดหลังจากสิ้นปีงบประมาณในแต่ละปี
            2.4 ประเด็นเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลสารสนเทศภาครัฐ  เนื่องจากขณะนี้ภาครัฐมีระบบการบริหารการเงินการคลังด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)  ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง ในทางปฏิบัติพบว่าส่วนราชการต่าง ๆ  มีการสร้างระบบย่อยรองรับขึ้นเอง โดยยังขาดหน่วยงานกลางที่จะเข้าไปช่วยดูแลระบบข้อมูลสารสนเทศกลาง  ทำให้มีปัญหาในการเชื่อมต่อกับระบบ GFMIS  จึงเห็นควรที่จะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เป็นเจ้าภาพในการทบทวนเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์  (Operation Center)  โดยให้ทุกกระทรวงรับไปทบทวนการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการกระทรวง (Ministrys Operation Centre : MOC)  ในการทำหน้าที่เก็บและเชื่อมโยงข้อมูลของกระทรวง  ให้ทันสมัยและรวดเร็ว  รวมทั้งสนับสนุนและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศต่างๆ  ให้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี  (Prime  Ministers  Operation Centre : PMOC) และหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินผล ทั้งนี้  เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลอย่างเป็นระบบ  และสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ และหน่วยงานกลางสามารถดึงข้อมูลที่ต้องการมาใช้  โดยไม่ต้องให้ส่วนราชการ และจังหวัดต้องทำรายงานและจัดส่งข้อมูลให้หน่วยงานกลางต่าง ๆ
            เลขาธิการ ก.พ.ร. ในฐานะกรรมการและเลขานุการ ค.ต.ป. รายงานว่าการดำเนินการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ของ ค.ต.ป. มีดังนี้
            1. กำหนดแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ดังนี้
             1.1 กำหนดให้มีกลไกในการตรวจสอบและประเมินผล ประกอบด้วย  คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเกี่ยวกับการกำหนดแนวทาง วิธีการ การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มกระทรวง 3 คณะ  คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการกลุ่มจังหวัด  4 คณะ  และคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวง จำนวน 20 คณะ
             1.2 กำหนดประเด็นหัวข้อการสอบทานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ออกเป็น
                          1) สอบทานกรณีปกติ
                                       - รายงานผลการตรวจราชการ
                                       - รายงานผลการตรวจสอบภายใน
                                       - รายงานผลเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน
                                       - รายงานผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
                                       - รายงานสถานะการเงิน
                          2) สอบทานกรณีพิเศษ
                                       - โครงการสำคัญของรัฐบาล
                                       - การบริหารด้านต่างๆ  เช่น การจ้างที่ปรึกษาของส่วนราชการ  การใช้กำลังคนภาครัฐ (พนักงานราชการ) ศูนย์ปฏิบัติการระดับกระทรวง การบริหารความเสี่ยง เป็นต้น
                                       - ระบบข้อมูลสารสนเทศ (IT Audit)
                                       - การประหยัดพลังงาน
            2. ค.ต.ป. ได้มีมติเห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวง  และคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ได้ดำเนินการสอบทานและประมวลข้อค้นพบและข้อเสนอแนะนำมาเสนอ ค.ต.ป. ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550

หมายเหตุ  ข่าวสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีนี้ เป็นเพียงการนำเสนอในเชิงข่าวเท่านั้น มิอาจถือเป็นมติของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ จึงขอให้ตรวจสอบมติและขอรายละเอียดเพิ่มเติม จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ณ สำนักบริหารการประชุมคณะรัฐมนตรี โทร 0 2280 9000 ต่อ 331 - 333

ข้อมูลจาก  http://www.thaigov.go.th

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 14 พฤษภาคม 2550 10:38:02 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 14 พฤษภาคม 2550 10:38:02
หนังสือเวียน
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th