OPDC News ได้เคยนำเสนอข่าวไปแล้วเกี่ยวกับ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมรายงานข่าวพิธีเปิดการอบรมหลักสูตรการอบรมคณะทำงานในการดำเนินการตามตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับส่วนราชการใหม่ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 รุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 โดยมี รองเลขาธิการ ก.พ.ร. พรพิมล รัตนพิทักษ์ เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรม
ในวันนี้ OPDC News มีข้อมูลเพิ่มเติมของการอบรมคณะทำงานฯ หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย 8 ชุดวิชา (Module) มารายงานให้ทราบกัน โดยเรามีเนื้อหาโดยสังเขปของเรื่องดังกล่าวซึ่งเรียบเรียงโดย คุณอารีย์พันธ์ เจริญสุข กลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 3 ภารกิจการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มาแบ่งปันความรู้กัน เพื่อให้เราได้ทำความเข้าใจกับกิจกรรมดังกล่าวมากยิ่งขึ้น
สำนักงาน ก.พ.ร. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของส่วนราชการระดับกรม |
นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2550 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยภารกิจการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัด การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ให้กับคณะทำงานของส่วนราชการ ซึ่งจะต้องดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 16 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ PMQA (Public Sector Management Quality Award)
การอบรมในครั้งนี้ ทุกส่วนราชการทั้งที่เคยดำเนินการในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐไปแล้วในปี 2549 และส่วนราชการที่เริ่มดำเนินการเรื่องนี้ในปี 2550 เป็นปีแรก จะส่งผู้แทนคณะทำงานเข้ารับการอบรมส่วนราชการละ 7 คน ซึ่งหากนับรวมแล้ว จะมีคณะทำงานเข้ารับการอบรมประมาณกว่า 1,000 คน
การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของส่วนราชการระดับกรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะทำงานเข้าใจหลักการแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินองค์กร ว่ามีจุดแข็งหรือโอกาสในการปรับปรุงองค์กรอย่างไร ซึ่งในช่วงเดือนกันยายน 2550 อย่างน้อยที่สุดส่วนราชการจะทราบว่า โอกาสการปรับปรุงองค์กรมีอะไรบ้าง โดยเรียงลำดับความสำคัญ (สำหรับส่วนราชการที่เริ่มดำเนินการในปีนี้เป็นปีแรก) และจะมีแผนปรับปรุงองค์กรและนำไปดำเนินการอย่างน้อย 2 แผน (สำหรับส่วนราชการที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปีที่แล้ว)
สำหรับเนื้อหาของการอบรมในหลักสูตรดังกล่าว ประกอบด้วย 8 ชุดวิชา (Module) ได้แก่
Module 1 หลักการและเหตุผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Benefits & Values)
Module 2 ประเด็นสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Basic Issues)
Module 3 ระบบการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM / TQA / PMQA)
Module 4 หลักการของเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA Criteria)
Module 5 การตรวจวัดสภาพผลการดำเนินงานองค์กร (Performance Measurement : 105 Questions)
Module 6 การเขียนรายงานสภาพผลการดำเนินงานองค์กร (Performance Report)
Module 7 การประเมินองค์กรด้วยตนเองตามแนวเกณฑ์ PMQA (Self Assessment Report)
Module 8 หลักการปรับปรุงองค์กรเบื้องต้น (Basic : Organizational Improvement)
ซึ่งแต่ละ Module มีสาระสำคัญโดยสังเขปที่น่าสนใจ ดังนี้
Module ที่ 1 หลักการและเหตุผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Benefits & Values)
|
กล่าวถึงความเป็นมา หลักการและเหตุผลของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ และวัตถุประสงค์ของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานของภาครัฐ ให้สอดคล้องกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการของหน่วยงานสู่ระดับมาตรฐานสากล และใช้เป็นกรอบแนวทางในการ ประเมินตนเอง และเป็นบรรทัดฐานการติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงลักษณะสำคัญและประโยชน์ของเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ที่เป็นเกณฑ์มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ครอบคลุมทั้งกระบวนการและผลลัพธ์ เป็นเกณฑ์ที่สามารถปรับใช้ได้ตามภารกิจของหน่วยงาน เพื่อเสริมสร้างให้ส่วนราชการทำการปรับปรุง ทั้งอย่างค่อยเป็นค่อยไปและอย่างก้าวกระโดด
Module ที่ 2 ประเด็นสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (Basic Issues)
|
เป็นการตอบคำถามหลัก ๆ ที่มักพบบ่อย 10 ข้อ คือ
1) ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจทำไปเพื่ออะไร?
2) ยังไม่เข้าใจคำถามและศัพท์ภาษาเข้าใจยาก?
3) รวบรวมข้อมูลสารสนเทศได้ไม่ครบ มั่วเลยดีกว่า?
4) ผู้บริหารให้ความสำคัญน้อย ทำแค่ผ่านพอแล้ว?
5) เป็นเกณฑ์ของภาคเอกชนมากไปไม่เหมาะกับราชการ?
6) ทำแล้วคุ้มค่างบประมาณหรือไม่?
7) เวลาอบรมน้อยไปหรือเปล่า?
8) งานประจำก็ยุ่งมากอยู่แล้ว เครียด ลาออกดีกว่า?
9) PMQA คือมาตรฐานใหม่หรือเปล่า?
10) ขาดงบ คนร่วมน้อย นายไม่สน ทำไปเสียเวลาเปล่า?
Module ที่ 3 ระบบการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM / TQA / PMQA)
|
เป็นการกล่าวถึง
หลักการจัดการเชิงกลยุทธ์
Value Chain ตามแนวคิดของ Michael E. Porter
Fusion Management (ตามแผนภาพข้างล่างนี้) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจในความหมายและความเชื่อมโยงกันของ Frameworks - Systems & Standards - Tools
Tools & Techniques & Standard ตามแผนภาพดังนี้
Tools & Techniques & Standard ตามแผนภาพดังนี้Tools & Techniques & Standard ตามแผนภาพดังนี้Tools & Techniques & Standard ตามแผนภาพดังนี้
กรอบแนวคิด TQM / TQA / PMQA เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับกรอบแนวคิดของTotal Quality Management (TQM - KANOS House) และอธิบายเชื่อมโยงไปสู่ กรอบแนวคิดของ Baldrige Model (MBNQA / TQA) และ PMQA Model
Module ที่ 4 หลักการของเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA Criteria)
|
หลักคิดของเกณฑ์ PMQA : ค่านิยมหลัก 11 ประการ ดังนี้
1. การนำองค์การอย่างมีวิสัยทัศน์
2. ความรับผิดชอบต่อสังคม
3. การให้ความสำคัญกับพนักงานและคู่ค้า
4. ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นที่ลูกค้า
5. การมุ่งเน้นอนาคต
6. ความคล่องตัว
7. การเรียนรู้ขององค์การและแต่ละบุคคล
8. การจัดการเพื่อนวัตกรรม
9. การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง
10. การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า
11. มุมมองเชิงระบบ
เกณฑ์ทั้ง 7 หมวด องค์ประกอบ และความเชื่อมโยงขององค์ประกอบ
การใช้ประโยชน์จากเกณฑ์เพื่อประเมินองค์กร
หลักการจัดการที่ดี โดยใช้หลัก ADLI (หมวด 1-6) และ LeTCLi (หมวด 7)
ซึ่งหลัก ADLI ประกอบด้วย
Approach - A คือ มีวิธีการหรือแผน และระบบที่ชัดเจนที่มุ่งบรรลุผลองค์กร
Deployment - D คือ ดำเนินการครอบคลุมทุกขั้นตอนตามแผนทุกหน่วยงาน
Learning - L คือ ติดตามประเมินผลลัพธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำสู่การปรับปรุง
Integration - I คือ ความสอดคล้องระหว่างแผน ปฏิบัติ วัด วิเคราะห์ ปรับปรุงมุ่งสู่เป้าหมายองค์กร
สำหรับหลัก LeTCLi ประกอบด้วย
Level - Le คือ ผลการดำเนินการในปัจจุบันเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
Trend - T คือ แนวโน้มของผลการดำเนินการ
Compare - C คือ เปรียบเทียบกับองค์กรอื่น
Linkage - Li คือ เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดผลต่าง ๆ
Module ที่ 5 การตรวจวัดสภาพผลการดำเนินงานองค์กร (Performance Measurement : 105 Questions)
|
องค์ความรู้เพื่อการตรวจวัดสภาพผลการดำเนินงาน เช่น การบริหารเชิงกลยุทธ์
โครงสร้างคำถามในการตรวจสภาพผลการดำเนินงาน
คำถาม อะไร (WHAT)
คำถาม อย่างไร (HOW) : การตอบโดยใช้หลัก ADLI (หมวด 1-6) / LeTCLi (หมวด 7)
รายละเอียดเกณฑ์ทั้ง 105 คำถาม
Module ที่ 6 รายงานสภาพผลการดำเนินงานองค์กร (Performance Report)
|
หลักการเขียนรายงาน ตามกรอบการจัดการที่ดี
ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อพึงระวังในการตอบคำถาม
ลำดับขั้นของรายงาน
วงจรการจัดการตามหลัก ADLI และ LeTCLi
อธิบายตัวอย่างรายงานแบบต่างๆ
Module ที่ 7 การประเมินองค์กรด้วยตนเองตามแนวเกณฑ์ PMQA (Self Assessment Report)
|
เกณฑ์คะแนนประเมิน สำหรับหมวด 1 - 6 และ หมวด 7
การสรุปจุดแข็งจุดอ่อน การเขียนรายงานประเมินองค์กร และ การนำเสนอรายงานระดับคะแนน
การจัดลำดับความสำคัญของโอกาสการปรับปรุง และ การรายงานลำดับการปรับปรุง
Module ที่ 8 การปรับปรุงองค์กรเบื้องต้น (Basic Organizational Improvement)
|
แนวคิดการปรับปรุงองค์กร : ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลทำให้ส่วนราชการต้องพัฒนาปรับปรุงองค์กร และการนำPMQA มาใช้เพื่อการวิเคราะห์ปัจจัยเหล่านั้น
หลักการวางแผนกลยุทธ์ การนำแผนสู่การปฏิบัติ ด้วย BSC และการติดตามประเมินผล
เครื่องมือและมาตรฐานในการปรับปรุงองค์กร
ทั้งหมดที่กล่าวมา คือเนื้อหาโดยสังเขป ที่คณะทำงานทุกคนจากทุกส่วนราชการระดับกรมจะได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ และนี่คือส่วนหนึ่งของการสนับสนุนทางวิชาการที่สำนักงาน ก.พ.ร. จะได้มีส่วนช่วยผลักดัน การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ...เส้นทางการปฏิบัติราชการสู่ความเป็นเลิศ... ให้ประสบความสำเร็จ
อารีย์พันธ์ (ภ.นวัตกรรม) / เรียบเรียง
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ