Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
หนังสือเวียน / มติ คณะรัฐมนตรี / มติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2550 / มีนาคม / วันอังคารที่ 20 มีนาคม 2550 II

วันอังคารที่ 20 มีนาคม 2550 II

2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2

              2.1 องค์ประกอบ

2.1.1
รองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม)
ประธานกรรมการ
2.1.2
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รองประธานกรรมการ คนที่ 1
2.1.3
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รองประธานกรรมการ คนที่ 2
2.1.4
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์)
กรรมการ
2.1.5
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์)
กรรมการ
2.1.6
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
กรรมการ
2.1.7
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กรรมการ
2.1.8
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรรมการ
2.1.9
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
กรรมการ
2.1.10
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
กรรมการ
2.1.11
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
กรรมการ
2.1.12

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

กรรมการ
 
2.1.13

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์

กรรมการ
 
2.1.14
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
กรรมการ
 
2.1.15
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กรรมการ
 
2.1.16
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
กรรมการ
 
2.1.17
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กรรมการและเลขานุการ
 
2.1.18
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการ
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี (นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม)
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

              2.2 อำนาจหน้าที่

                      2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน และองค์กรอิสระต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

                      2.2.2 มีอำนาจเชิญรัฐมนตรี และหน่วยงานอื่น ๆ มาชี้แจง

              2.3 กลไกการปฏิบัติงาน

                      2.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ตามข้อ 2.2.1 เสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาหรือ เรื่องที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าว พิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี

                      2.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น 2.3.4 ให้นำข้อ 1.3.3 ข้อ 1.3.6 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย

         3. ให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง เว้นแต่ไม่มีเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ
              ในกรณีที่ประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการกลั่นกรองฯ เป็นผู้นัดประชุมและปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทน เว้นแต่ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม ให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคราวนั้น แทนรองประธานกรรมการกลั่นกรองฯ หากรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมหลายคน ให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้อยู่ในลำดับต้นของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 69/2550 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2550 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน

         4. เมื่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีมติเป็นประการใด ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณา แล้วแต่กรณี เว้นแต่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะเห็นควรดำเนินการเป็นประการอื่น ก็ให้ดำเนินการตามมตินั้น

         5. ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเข้าประชุมแทน และหากจำเป็นอาจพิจารณามอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะพิจารณาเป็นอย่างดี เป็นผู้เข้าประชุมแทน
ในกรณีที่ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ผู้อำนวยการหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ไม่อาจเข้าประชุมได้ ให้มอบหมายรองปลัดกระทรวง รองเลขาธิการ หรือรองผู้อำนวยการเป็นผู้เข้าประชุมแทน

         6. ในกรณีเห็นสมควร คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ตามคำสั่งนี้จะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ หลายคณะร่วมกัน เพื่อพิจารณาปัญหาคาบเกี่ยวให้เกิดความรอบคอบ ชัดเจน และมีการประสานสอดคล้องกันก็ได้

         7. เรื่องใดที่ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะใดเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง หรืออยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะอื่นที่ไม่ใช่คณะของตนให้ประธานกรรมการกลั่นกรองฯ คณะนั้นมีอำนาจสั่งการให้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิจารณาได้

         8. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อำนวยความสะดวกในการประชุมคณะกรรมการทุกคณะตามคำสั่งนี้ และมีอำนาจออกระเบียบหรือคำสั่งที่จำเป็น เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานุการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

         9. ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอาจขอให้นายกรัฐมนตรี หรือที่ประชุมร่วมรองนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการตามที่เห็นสมควรได้

         บทเฉพาะกาล

         10. ในระยะเริ่มแรก ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประสานกับรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทั้ง 2 คณะ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ระหว่างการจัดเข้าระเบียบวาระฯ ของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทั้งหมด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ด้วย

         ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

กฎหมาย

เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ....

         คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน) เป็นประธาน ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา  โดยให้รับข้อสังเกตตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นของกระทรวงการคลังกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปประกอบการพิจาณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป

         ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้รัฐดำเนินการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยส่งเสริมให้ภาคต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด ดังนี้

         1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 (ร่างมาตรา 3)

         2. กำหนดคำนิยาม เด็ก หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีถึงยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ฯลฯ (ร่างมาตรา 4)

         3. กำหนดให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีสิทธิได้รับการพัฒนา โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (ร่างมาตรา 7)

         4. กำหนดให้บิดามารดา หรือผู้ปกครองต้องให้การพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในความดูแลของตนให้เหมาะสมแก่ฐานะ (ร่างมาตรา 8)

         5. กำหนดให้สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน (ร่างมาตรา 9)

         6. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณ เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ (ร่างมาตรา 11)

         7. กำหนดองค์ประกอบ คณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
รัฐมนตรีว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นรองประธาน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 คน และผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ เป็นเลขานุการ โดยการแต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิให้แต่งตั้งจากองค์กรเอกชนที่มีความรู้ด้านเด็กและเยาวชนอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง (ร่างมาตรา 12)

         8. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ร่างมาตรา 13)

         9. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีอำนาจดำเนินการตามหน้าที่ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ร่างมาตรา 16)

         10. กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติทำหน้าที่พัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้มีผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการฯ เป็นผู้บังคับบัญชา (ร่างมาตรา 25 และร่างมาตรา 26)

         11. กำหนดให้มีสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเด็กและเยาวชนจังหวัด โดยให้มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงาน (ร่างมาตรา 27 ร่างมาตรา 29)

         12. กำหนดให้องค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์หรือผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน
มีสิทธิขอจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านพัฒนาเด็กและเยาวชน (ร่างมาตรา 32)

         13. กำหนดให้องค์กรที่จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน อาจได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐ

         14. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจเพิกถอน หรือระงับความช่วยเหลือที่ให้แก่องค์กรเอกชนที่ดำเนินการ โดยก่อความวุ่นวายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี (ร่างมาตรา 36)

         15. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ และออกข้อบัญญัติหรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามแผน โดยให้ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำแผน โดยคำนึงหลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่น (ร่างมาตรา 38 และร่างมาตรา 39)

         16. กำหนดให้คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2521 ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน (ร่างมาตรา 40)

หมายเหตุ  ผลสรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีนี้ เป็นเพียงการนำเสนอในเชิงข่าวเท่านั้น มิอาจถือเป็นมติของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ จึงขอให้ตรวจสอบมติและขอรายละเอียดเพิ่มเติม จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ณ สำนักบริหารการประชุมคณะรัฐมนตรี โทร 0 2280 9000 ต่อ 331 - 333 

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 10 เมษายน 2550 13:23:19 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 10 เมษายน 2550 13:23:19
หนังสือเวียน
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th