Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
หนังสือเวียน / มติ คณะรัฐมนตรี / มติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2550 / มีนาคม / วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2550

วันอังคารที่ 6 มีนาคม 2550

มติคณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2550

ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.พ.ร.


           การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 6 มีนาคม 2550    ซึ่งมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึกสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีหลังใหม่ ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้

กฎหมาย

เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....


         คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป

         สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาเห็นว่า ขณะนี้ยังไม่สมควรที่จะปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ทั้งฉบับ แต่ควรปรับปรุงแก้ไขเฉพาะบางมาตราที่มีปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐ จึงมีมติให้ปรับปรุงแก้ไขบางมาตรา

         ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้

         1. ปรับปรุงอำนาจบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

         2. กำหนดให้มีรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นได้เป็นกรณีพิเศษสำหรับกระทรวงที่ไม่จัดกลุ่มภารกิจ

         3. กำหนดให้สามารถมีการมอบอำนาจได้กว้างขวางมากขึ้น และให้มีการมอบอำนาจต่อได้ รวมทั้งให้มีการมอบอำนาจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมหรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นด้วย เพื่อให้บริการประชาชนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

         4. กำหนดให้จังหวัดเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

         5. กำหนดอำนาจหน้าที่ของจังหวัดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

         6. กำหนดให้มีคณะกรรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด และให้ความเห็นชอบการจัดทำแผนบริหารราชการของจังหวัด

         7. กำหนดให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ทำหน้าที่กำกับการปฏิบัติราชการจังหวัดและอำเภอ รวมทั้งติดตามประเมินผลและเสนอแนะความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของจังหวัดและอำเภอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

         8. เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของอำเภอให้ชัดเจน

         9. กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกรม

 สังคม

เรื่อง
การแปลงวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกัน
การทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ไปสู่การปฏิบัติ

         คณะรัฐมนตรีรับทราบ การแปลงวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ไปสู่การปฏิบัติ ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)เสนอ ดังนี้

         1. เพื่อให้การขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้กำหนดให้มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแปลงวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ไปสู่การปฏิบัติ ในระหว่างวันที่ 8 - 9 มกราคม 2550 ณ ห้องประชุมมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากส่วนราชการ จังหวัด และองค์การมหาชน หน่วยงานละ 2 คน รวมประมาณ 500 คน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การให้ทุกหน่วยงานได้ทดลองจัดทำโครงการริเริ่มที่ส่งผลสำเร็จเร็ว (Quick Win Initiative)  ด้านจริยธรรม  และธรรมาภิบาล  และนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  พร้อมทั้งนำแนวทางที่ได้จากการประชุมไปจัดทำเป็นโครงการของหน่วยงานจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ต่อไป โดยกรอบแนวทางในการจัดทำโครงการริเริ่มที่ส่งผลสำเร็จมี ดังนี้

               1. เป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 7 ด้านของวาระแห่งชาติด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในภาครัฐ

               2. เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงาน

               3. เป็นไปตามแนวทางหลัก 4 ป. ของรัฐบาล คือ ประหยัด โปร่งใส เป็นธรรม และประสิทธิภาพ

               ซึ่งขณะนี้มีส่วนราชการ จังหวัด และองค์การมหาชน จัดส่งโครงการริเริ่มที่ส่งผลสำเร็จเร็ว มาแล้ว จำนวน 248 โครงการ จาก 209 หน่วยงาน โดยลักษณะโครงการส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด  รองลงมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือการสร้างเครือข่ายการ
ทำงาน การให้ความรู้แก่ประชาชน ตามด้วยเรื่องเกี่ยวกับการอบรมพัฒนาบุคลากรในองค์การ เป็นต้น

         2. สำหรับตัวอย่างโครงการริเริ่มที่ส่งผลสำเร็จเร็วของส่วนราชการ จังหวัด และองค์การมหาชนที่ได้จัดส่งมาแล้ว และมีความโดดเด่น อาทิ โครงการประหยัดพลังงาน 80 ชุมชน สนองพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงพลังงาน โครงการระบบให้บริการตรวจสอบสถานภาพเอกสารทางอินเทอร์เน็ต ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โครงการระบบงานให้บริการออกหนังสือสำคัญการส่งออก-นำสินค้าเข้าด้วยระบบ EDI ของกรมการค้าต่างประเทศ โครงการพัฒนาระบบติดตามขั้นตอนการดำเนินงานระบบภาษีสรรพสามิต (e-Tracking) ของกรมสรรพสามิต โครงการรับชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ของกรมการขนส่งทางบก  โครงการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครธรรมาภิบาล จังหวัดลำพูน  โครงการการจัดตั้งจุดรับบริการเป็น one stop service ของศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ เป็นต้น 

เศรษฐกิจ

เรื่อง
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

         คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ   โดยให้รับความเห็นและข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีไปปรับปรุงในบางประเด็นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และดำเนินการต่อไป

         ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

         1. หลักการของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

             การกำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ได้จัดทำขึ้น ภายใต้กรอบนโยบายรัฐบาล วาระสำคัญของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 2554) โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งหลักความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด และประสิทธิภาพ มาเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

             กรอบหลักของการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เมื่อเปรียบเทียบกับนโยบายของรัฐบาล วาระสำคัญของรัฐบาล และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 สรุปได้ดังนี้

กรอบหลักของการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

นโยบายรัฐบาล

วาระสำคัญของรัฐบาล

ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 10

ยุทธศาสตร์งบประมาณ 2551

1. นโยบายสังคม

1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ประชาชนอยู่ดีมีสุข

1. การพัฒนาคนและสังคมไทยสู่
สังคมแห่งภูมิปัญญาและการ
เรียนรู้
 

2. การสร้างความเข้มแข็งของ
ชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐาน
ที่มั่นคงของประเทศ

1. การส่งเสริมให้ประชาชนมี
สุขภาพที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้
และสามารถปรับตัวสู่สังคม
ฐานความรู้

2. การแก้ไขความยากจน กระจาย
ความเจริญสู่ชนบท และลดช่องว่าง
ของรายได้

2. นโยบายเศรษฐกิจ

 
 

 
 
 

 
3. นโยบายการต่างประเทศ

2. การเพิ่มประสิทธิภาพแห่งชาติ

3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ทางปัญญา

4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และระบบการรับ - ส่ง - ดูแล
สินค้าและบริการ

3. การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ให้สมดุลและยั่งยืน

3. การเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขัน เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

 

5. การจัดการทรัพยากรน้ำ

4. การพัฒนาบนความหลากหลาย
ทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคง
ของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

4. การดูแลรักษาทรัพยากร
ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการ
ใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย
ทางชีวภาพให้เป็นประโยชน์ต่อ
เศรษฐกิจและสังคม

4. นโยบายการปฏิรูป
การเมืองการปกครอง
และการบริหาร


5. นโยบายการรักษาความ
มั่นคงของรัฐ

6. การปฏิรูปการเมือง

5. การเสริมสร้างธรรมาภิบาล
ในการบริหารจัดการประเทศ

5. การพัฒนาการเมืองและ
การบริหารจัดการภาครัฐที่
มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม

 
6.การรักษาความมั่นคงของชาติ
และความสงบสุขของสังคม

7. รายการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ


        
 2. สาระสำคัญของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

             ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จะประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ และรายการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ โดยมีสาระสำคัญโดยสรุปแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้

             2.1 การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีคุณธรรมนำความรู้ และสามารถปรับตัวสู่สังคมฐานความรู้ 
                    การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมยุคฐานความรู้ และข้อจำกัดของโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพทางปัญญา และมีสุขภาพที่แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังแรงงานที่มีคุณภาพของประเทศ และปรับปรุงระบบสวัสดิการทางสังคมให้สามารถดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้ในระยะยาว ซึ่งได้แก่ การเร่งรัดปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม การปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม การพัฒนาและเสริมสร้างโอกาสให้แก่กลุ่มคนพิการและผู้ด้อยโอกาส และการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า เป็นต้น

             2.2 การแก้ไขความยากจน กระจายความเจริญสู่ชนบท และลดช่องว่างของรายได้ 
                    มุ่งเน้นการส่งเสริมการรวมตัวของชุมชนในระดับท้องถิ่นและชนบท ให้มีความสามารถในการพัฒนาตนเองบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างรายได้ที่เพียงพอสำหรับการยังชีพ และการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อชุมชนและชนบท ซึ่งได้แก่ การขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น

             2.3 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 
                    มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของภาคการผลิต การขยายโอกาสของการผลิตสินค้าไปสู่สินค้าที่สร้างมูลค่าสูง บนพื้นฐานของการพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เอื้ออำนวยการลดต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งได้แก่ การเสริมสร้างประสิทธิภาพแห่งชาติ การพัฒนาระบบเครือข่ายการขนส่งและการรับ-ส่ง-ดูแลสินค้าและบริการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม การสร้างความมั่นคงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และพัฒนาพลังงานทดแทน การปรับโครงสร้างภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ภาคบริการและการค้า การส่งเสริมการบริหารการเงิน และการคลังที่ยั่งยืน และการดำเนินนโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นต้น

             2.4 การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม 
                    มุ่งเน้นการฟื้นฟูและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับสู่ธรรมชาติ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งได้แก่ การจัดการทรัพยากรน้ำ การสร้างสมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ การควบคุมมลพิษจากขยะ น้ำเสีย ฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น สารระเหย และเสียง และการส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

             2.5 การพัฒนาการเมืองและการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม 
                    มุ่งปรับปรุงระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเหมาะสม สร้างความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ถูกต้อง และการปรับปรุงระบบการให้บริการของภาครัฐเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งได้แก่ การพัฒนาการเมือง การบริหารจัดการภาครัฐ การกระจายอำนาจและส่งเสริมประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารบุคลากรภาครัฐ ค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เป็นต้น

             2.6 การรักษาความมั่นคงของชาติและความสงบสุขของสังคม 
                    มุ่งสร้างความเข้มแข็งของระบบป้องกันและรักษาความมั่นคงของชาติ ที่มีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะการก่อการร้ายสากล ภัยสังคมที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และภัยธรรมชาติ ตลอดจนสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย ซึ่งได้แก่ การรักษาความมั่นคง การส่งเสริมความเข้มแข็งและประสิทธิภาพของกองทัพและตำรวจ การเสริมสร้างความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การสร้างระบบการเตรียมพร้อม ดูแลและรักษาความปลอดภัยจากภัยคุกคามของการก่อการร้าย ภัยธรรมชาติและสาธารณภัย การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และยาเสพติด เป็นต้น

             2.7 รายการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
                    เป็นรายการเพื่อรองรับการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐ

หมายเหตุ  ผลสรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรีนี้ เป็นเพียงการนำเสนอในเชิงข่าวเท่านั้น มิอาจถือเป็นมติของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ จึงขอให้ตรวจสอบมติและขอรายละเอียดเพิ่มเติม จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ณ สำนักบริหารการประชุมคณะรัฐมนตรี โทร 0 2280 9000 ต่อ 331 - 333


E-Searching เพิ่มเติมได้ที่ 
 http://www.thaigov.go.th

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 10 เมษายน 2550 13:18:52 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 10 เมษายน 2550 13:18:52
หนังสือเวียน
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th