Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2550 / มกราคม / โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (ระยะ 3 การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรถนะสูง

โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (ระยะ 3 การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรถนะสูง

 โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (ระยะ 3)  การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง

              

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 สำนักงาน ก.พ.ร. โดย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ได้จัด การอบรมตามโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (ระยะ 3) ขึ้น ในหัวข้อ การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง ณ ห้องประชุม 501 - 502 ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร.

       การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อพัฒนาขีดสมรรถนะ ให้กับผู้ที่ผ่านการอบรมวิทยากรต้นแบบตามโครงการ หลักสูตรการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งจะมาเป็นเครือข่ายและวิทยากรต้นแบบ ในการถ่ายทอดความรู้และหลักการ เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคการบริหารจัดการใหม่ๆ ที่นำมาปรับใช้กับระบบราชการไทย

     เพื่อพัฒนาหน่วยงานของรัฐให้ก้าวไปสู่การเป็น องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Organization : HPO) ที่มีความสามารถในการบริหารยุทธศาสตร์ เพื่อให้องค์การมีการกำหนดทิศทางที่ชัดเจน มีแนวทางในการปฏิบัติที่จะก้าวไปสู่ทิศทางที่ต้องการ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลที่ชัดเจน

            

ที่ผ่าน การอบรมวิทยากรต้นแบบตามโครงการ หลักสูตรการนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ    และจะเป็นเครือข่ายและวิทยากรต้นแบบต่อไป โดยการอบบรมในครั้งนี้จะเป็นการอบรมที่เข้มข้นขึ้นและเน้นในเรื่องการพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง ด้วยการเชื่อมโยงเครื่องมือการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ  

               การอบรมตามโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ (ระยะ 3) หัวข้อ การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง เมื่อวันที่ 15 มกราคาที่ผ่านมานั้น แบ่งการอบรมออกเป็น 3 ช่วง คือ  

           ช่วงเช้า เวลา 09.00 - 12.00 น. เป็นการฝึกอบรมการเขียนแผนการสอน ให้แก่เครือข่ายและวิทยากรต้นแบบ ดำเนินการฝึกอบรมโดย ดร.จุฑามาศ แก้วพิจิตร จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และคณะ โดยจะเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเทคนิคการสอน ด้วยการนำเครื่องมือทางการบริหารจัดการทั้ง 7 เครื่องมือ และ HPO มาประยุกต์ใช้


           ช่วงบ่าย เวลา 13.00 - 16.00 น. เป็นการบรรยาย หัวข้อ เทคนิคสำคัญ ผลักดัน HPO โดย รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นการบรรยายให้กับเครือข่ายและวิทยากรต้นแบบ รวมทั้งข้าราชการสำนักงาน ก.พ.ร. ในประเด็นต่าง ๆ เช่น หลักการพื้นฐานแนวคิด HPO การบูรณาการเครื่องมือด้านการบริหารจัดการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง แนวคิดของการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Cooperate Social Responsibility : CSR) การนำ Balanced Scorecard ไปประยุกต์ใช้ในส่วนราชการ เป็นต้น 

           ช่วงเย็น เวลา 16.30 - 18.30 น. เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบหลักสูตร (Design Courses) สำหรับเครือข่ายและวิทยากรต้นแบบ

เป็นการบรรยาย หัวข้อ เทคนิคสำคัญ ผลักดัน HPO โดย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นการบรรยายให้กับเครือข่ายและวิทยากรต้นแบบ รวมทั้งข้าราชการสำนักงาน ก.พ.ร. ในประเด็นต่าง ๆ เช่น หลักการพื้นฐานแนวคิด HPO การบูรณาการเครื่องมือด้านการบริหารจัดการต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง แนวคิดของการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (Cooperate Social Responsibility : CSR) การนำ Balanced Scorecard ไปประยุกต์ใช้ในส่วนราชการ เป็นต้น  เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบหลักสูตร (Design Courses) สำหรับเครือข่ายและวิทยากรต้นแบบ
 
สำหรับการอบรมในช่วงเช้านั้น ดร.จุฑามาศ แก้วพิจิตร และ Dr.Christopher Lee Johnson ได้บรรยายเกี่ยวกับ การสร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข  และ   การเขียนแผนการสอนซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นวิทยากร ในการบรรยายหรือฝึกอบรมต่าง ๆ เพราะจะทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของเนื้อหาวิชาที่จะสอน ได้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ อีกทั้งยังสามารถหาวิธีการและกลยุทธ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนรู้อีกด้วย นอกจากนี้ยังจะสามารถนำมาวิเคราะห์ และปรับปรุงรูปแบบและวิธีการสำหรับการสอนในอนาคต

การจัดทำแผนการสอนยังเป็นการทำ Tacit Knowledge ให้เป็น Explicit Knowledge และช่วยในการคิดอย่างเป็นระบบ ทำให้มองเห็นเป้าหมาย และภาพรวมของเนื้อหาวิชาทั้งหมด และสามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้สอนได้

 สำหรับองค์ประกอบของแผนการสอนนั้น วิทยากรได้นำเสนอทฤษฏี 9 Events of Instruction ของ Roberts Mills Gagne ซึ่งเป็นการออกแบบการเรียนรู้อย่างง่าย ที่ประกอบด้วย 9 ขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนรู้เกิดแรงกระตุ้น มีความเข้าใจ ติดตามการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งประเมินและปรับปรุงการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเมื่อนำกลับไปใช้ในการทำงานของตน โดยองค์ประกอบทั้ง 9 ขั้นตอนนั้น ประกอบด้วย

ขั้นที่ 1 Gaining Attention เหตุการณ์แรกนี้จะช่วยให้ผู้ที่เป็นผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้ สามารถทำให้ผู้เรียนรู้สนใจกับสิ่งที่จะมาเรียนรู้ และมีความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ในขั้นตอนการเรียนรู้และเนื้อหาในลำดับต่อไป

ขั้นที่ 2 Informing The Learner of The Objective ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนรู้จะสามารถทราบว่า ตนเองเรียนรู้ไปเพื่ออะไร มีความคาดหวังอะไร ที่แฝงอยู่ในการเรียนรู้นั้น ๆ

ขั้นที่ 3 Stimulating Recall ในเหตุการณ์นี้ ผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้จะต้องสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ใหม่ กับความรู้เดิมที่ผู้เรียนรู้มีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว

  

 ขั้นที่ 4 Presenting The New Content ในเหตุการณ์นี้ ผู้เรียนรู้จะได้รับรู้เกี่ยวกับกระบวนการ ข้อมูล ปัญหาใหม่ ๆ ที่จะต้องมีการเรียนรู้และแก้ไข ซึ่งส่วนใหญ่เหตุการณ์นี้จะเน้นที่การนำเสนอเอกสารการสอน เพื่อเป็นการนำไปสู่การเรียนรู้ที่ฝังแน่นอยู่ (Long Term Memory)
 
 ขั้นที่ 5 Providing a Learner Guidance เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่จะทำให้เนื้อหาในหัวข้อที่ผ่านมามีรายละเอียดมากขึ้น อาจอยู่ในรูปของตัวอย่าง การอภิปราย ที่จะช่วยให้เนื้อหาที่นำเสนอก่อนหน้านี้จำได้ง่าย และคงอยู่ได้นาน ในขั้นตอนนี้ผู้เรียนรู้จะต้องสามารถนำเนื้อหาที่ได้ไปต่อยอดความรู้ต่อไปได้

  ขั้นที่ 6 Providing Practiceหรือ Elicit Performanceในเหตุการณ์นี้ ผู้เรียนรู้จะได้รับโอกาสในการฝึกฝนการนำความรู้ไปใช้ ซึ่งผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้จะต้องคอยสังเกตว่า เมื่อผู้เรียนรู้ได้ฝึกปฏิบัติแล้วเป็นอย่างไร    
            

  ขั้นที่ 7 Providing Feedback เหตุการณ์ที่ 7 นี้ ผู้เอื้อกระบวนการเรียนรู้จะต้องใช้ข้อมูลย้อนกลับที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้เรียนรู้ เพื่อที่จะนำไปปรังปรุงการนำความรู้ไปปฏิบัติในอนาคต

  ขั้น 8 Assess Performanceเหตุการณ์ที่ 8 นี้ เป็นช่วงทดสอบว่า หลังจากที่ผู้เรียนรู้นำความรู้ไปปฏิบัติแล้ว ผลของการปฏิบัติเป็นที่น่าพอใจเพียงใด ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะทำหลังการเหตุการณ์ที่ 7 หรือเว้นช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงกลับมาทำการทดสอบก็ได้ เพื่อทดสอบว่า เมื่อผู้เรียนรู้ได้ฝึกปฏิบัติแล้วเป็นอย่างไร

  ขั้น 9 Providing Retention and Transfer เป็นการเสริมการจำและนำไปใช้งาน

นอกจากจะได้รับฟังความรู้จาก ดร.จุฑามาศ และ Dr.Christopher แล้ว ผู้เข้ารับการอบรมยังได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติด้วย โดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ด้วยการช่วยกันระดมสมองเพื่อเขียนแผนการสอนสำหรับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่วิทยากรได้กำหนดเป็นตัวอย่างไว้ และเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม โดยใช้หลัก 9 Events of Instruction

   หลังจากนั้น ในช่วงเย็น เป็นารประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบหลักสูตร โดยใช้กระบวนการ SAVI โดยกำหนดเป้าหมายของการเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง หรือ HPO ด้วยการประยุกต์ใช้ทั้ง 7 หัวข้อวิชาที่ผู้อบรมได้เรียนรู้มา ได้แก่
           1. แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map)
           2. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
           3. การบริหารความเปลี่ยนแปลง (Change Management)
           4. การกระตุ้นให้เกิดการคดเพื่อการเปลี่ยนแปลง ความคิดไร้ขีดจำกัด (Ideas are Free)
           5. การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
           6. การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual)
           7. การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล (Balanced Scorecard / Individual Scorecard)

  สำหรับกระบวนการ SAVI นั้น เป็นวิธีการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย 

           Somatic คือ การเรียนรู้โดยการเคลื่อนไหวร่างกายหรือแสดงท่าทาง เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและไม่รู้สึกเบื่อ
           Auditory คือ การเรียนรู้โดยการฟัง โดยการฝึกเทคนิคในการฟัง
           Visual คือ การเรียนรู้โดยการมองเห็น
           Intellectual คือ การเรียนรู้โดยการฝึกให้คิด เพื่อทำให้เกิดปัญญา

 

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 14 กันยายน 2552 16:12:15 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 14 กันยายน 2552 16:12:15
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th