เมื่อวันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2550 สำนักงาน ก.พ.ร. นำโดย เลขาธิการ ก.พ.ร. ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. อาวุธ วรรณวงศ์ และรองเลขาธิการ ก.พ.ร. พรพิมล รัตนพิทักษ์ ได้ร่วมหารือกับ Ms.Jane S. Ley (เจน เอส เลย์) วิทยากรจาก U.S. the office of Government Ethics : OGE เรื่อง การหาแนวทางการจัดตั้ง และดำเนินงานของสำนักงานการจัดการด้านจริยธรรมในองค์กรภาครัฐของประเทศไทย โดยมีผู้ทรงวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรรมการ ก.พ.ร. และเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาระบบบริหารเข้าร่วมหารือด้วย
สำหรับการหารือดังกล่าว เป็นหนึ่งในการดำเนินงานตามวาระแห่งชาติ ด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาคราชการ ที่ได้มีการประกาศไปเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2549 โดยในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องอาศัยปัจจัยองค์ประกอบด้านต่างๆ ซึ่งจะต้องมีมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นพร้อมกันไปอย่างมีระบบ เริ่มตั้งแต่ในระดับตัวบุคคลขึ้นไปถึงระดับหน่วยงาน และระดับรัฐบาล ทั้งนี้ การขับเคลื่อนดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ
|
1. การสร้างกลุ่มผู้นำ
2. การพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
3. การวางระบบสนับสนุนและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
ในการหารือเพื่อจัดตั้ง สำนักงานการจัดการด้านจริยธรรม ในองค์กรภาครัฐของประเทศไทย |
ดังกล่าว จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันวาระแห่งชาติฯ ที่ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาครัฐ เพื่อรับผิดชอบในการพัฒนา ส่งเสริม ป้องกันและปราบปราม ตลอดจนจัดทำมาตรฐานจรรยาบรรณสำหรับข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐในทุกระดับ
|
ด้าน Ms.Jane S. Ley วิทยากรที่ร่วมหารือในครั้งนี้ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานจริยธรรมรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ซึ่งภาระหน้าที่หลัก คือ การแบ่งปันความชำนาญด้านเทคนิคแก่รัฐบาลและองค์กรต่างประเทศ ในโครงการที่มุ่งแก้ปัญหาและป้องกันการคอร์รัปชัน และเพื่อพัฒนาและประสานงานในโครงการธรรมาภิบาลของ OGE ในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศ
|
|
|
นอกจากนี้ Ms. Ley ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐอเมริกา ประจำกลุ่มประเทศที่ต่อต้านการคอร์รัปชัน (Group of States against Corruption GREECO) ซึ่งเป็นหน่วยงานติดตามผลการต่อต้านการคอร์รัปชันของคณะมนตรียุโรป ผู้เชี่ยวชาญประจำหน่วยงานติดตามผลการต่อต้านการคอร์รัปชันของ Inter American Convention Corruption และผู้เชี่ยวชาญในโครงการธรรมาภิบาลของรัฐขององค์การ เพื่อความร่วมมือและพัฒนาการทางเศรษฐกิจอีกด้วย
|