Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
Best Practices 2558 / ผลงานที่ได้รับรางวัลระดับดีเด่น รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558 / ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ : “ช่องทางด่วนการผ่าตัดฉุกเฉินในกรณีผู้บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ (Severe Head Injury Fast Tract)” / รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558

รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558

 
รางวัลการพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ
“ช่องทางด่วนการผ่าตัดฉุกเฉินในกรณีผู้บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ
(Severe Head Injury Fast Tract)”

- ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -

        “ช่องทางด่วนการผ่าตัดฉุกเฉินในกรณีผู้บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ (Severe Head Injury Fast Track) เป็นการปรับปรุงระบบการส่งต่อผู้บาดเจ็บศีรษะรุนแรงที่ต้องผ่าตัดให้ได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด

          การบาดเจ็บที่ศีรษะเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งเกิดจากความล่าช้าในการส่งต่อ
ผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลจนมีผลต่อการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ และมีภาวะความเสี่ยงที่จะเกิดทุพพลภาพหรือพิการทางสมองได้ นอกจากนี้ กระบวนการรักษาผู้บาดเจ็บภายในโรงพยาบาลยังมีความซับซ้อนขั้นตอนมากทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการรักษาเพิ่มขึ้นด้วย
          โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จึงได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อมุ่งเน้นในการลดระยะเวลาการประเมินและการตรวจวินิจฉัย และลดขั้นตอนเพื่อให้ผู้บาดเจ็บศีรษะรุนแรงที่ต้องผ่าตัดได้รับการผ่าตัดเร็วที่สุด
          โดยปัญหาความล่าช้าในการส่งต่อผู้บาดเจ็บระหว่างโรงพยาบาล ใช้วิธีแบ่งพื้นที่รับผิดชอบระหว่าง 2 โรงพยาบาลที่มีแพทย์ผ่าตัดสมอง คือ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จะดูแลพื้นที่อำเภอส่วนสายเหนือ และโรงพยาบาลนครพิงค์จะดูแลพื้นที่อำเภอส่วนสายใต้ เพื่อให้สามารถส่งผู้บาดเจ็บตรงไปยังโรงพยาบาลได้ทันที เป็นการลดระยะเวลาการประสานงานจากเดิมต้องติดต่อกับแพทย์และแวะรับการเอกซเรย์ที่โรงพยาบาลอื่นก่อนส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ในส่วนปัญหากระบวนการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้กำหนดให้มีจุด check point ซึ่งจะมีทีมแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ทีมแพทย์ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ทีมแพทย์ประสาทศัลยศาสตร์ มารอที่ห้องฉุกเฉิน แล้วเข้าประเมินผู้บาดเจ็บพร้อมกันเพื่อทำการวินิจฉัยและส่งผู้บาดเจ็บไปในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว จึงจัดเป็นทางด่วนที่ผู้บาดเจ็บสามารถเข้าถึงโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยลดอัตราการตายของผู้บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะจากร้อยละ 27 เหลือ
ร้อยละ 16 มีผู้รอดชีวิตกลับมาเป็นปกติสูงถึงร้อยละ 42 ใกล้เคียงปกติร้อยละ 24 ระดับปานกลาง ร้อยละ 9





ภาพการรับรางวัลการพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ
“ช่องทางด่วนการผ่าตัดฉุกเฉินในกรณีผู้บาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ (Severe Head Injury Fast Tract)”
ศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 23 มีนาคม 2559 14:33:41 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 23 มีนาคม 2559 14:50:09
Best Practices 2558
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th