Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
Best Practices 2558 / ผลงานที่ได้รับรางวัลระดับดีเด่น รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558 / สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต : “ระบบการดูแลผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำ” / รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558

รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2558

รางวัลการพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ
“ระบบการดูแลผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำ”

- สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต -

         “ผู้ต้องขังจิตเวช สิทธิในการรักษาที่ไม่ถูกละเลย” เป็นการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิตเวชแบบครบวงจร ด้วยกระบวนการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          สถานการณ์ผู้ต้องขังที่ป่วยทางจิต ซึ่งมีจำนวนร้อยละ 0.94 รายจากผู้ต้องขังทั้งหมด 292,227 รายในปี พ.ศ. 2557 พบว่าร้อยละ 57.1 ของผู้ต้องขังจิตเวชต้องกลับมารักษาซ้ำก่อนเวลานัด และร้อยละ 26.4 มึอาการทางจิตกำเริบไม่สามารถต่อสู่คดีในศาลได้ ต้องใช้เวลาพิจารณาคดีนาน เนื่องจากได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้อง โดยให้อยู่รวมกับผู้ต้องขังทั่วไป ทำให้ถูกรังเกียจ ถูกล้อเลียน หรือโดนทำร้ายร่างกาย ส่งผลต่อภาวะทางจิตมากขึ้น เกิดความเครียด ซึมเศร้า เอะอะอาละวาด ทำลายสิ่งของ ทำร้ายตัวเอง ที่สำคัญเรือนจำขาดทีมบุคลากรวิชาชีพเฉพาะทางจิตเวช เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเรือนจำไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคทางจิต

          สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำขึ้น อย่างเป็นระบบภายใต้แนวคิดพื้นฐานการคุ้มครองสิทธิและการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขังที่พึงได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยการดูแลทั้งก่อน ระหว่างและหลังพ้นโทษ เพื่อเป้าหมายสุดท้าย คือ ผู้ต้องขังจิตเวชหลังพ้นโทษต้องไม่ก่อคดีซ้ำ สามารถใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้ และมีคุณภาพชีวิตตามอัตภาพ

           การปรับปรุงบริการได้เริ่มตั้งแต่ปี 2556 สถาบันกัลยาณ์ฯ และเรือนจำทุกแห่งในเขต 5 ได้ร่วมมือกันทั้งด้านวิชาการ พัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ต้องขังที่มีปัญหาจิตตั้งแต่เป็นผู้ต้องขังรายใหม่ พร้อมทั้งเสริมสร้างทักษะความรู้และทักษะจำเป็นในการดูแลผู้ต้องขังจิตเวชแก่บุคลากรในเรือนจำ และด้านการบริหารจัดการ โดยการเปิดคลินิกนิติจิตเวชแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) สำหรับผู้ต้องขังที่ไปรับบริการจิตเวชในโรงพยาบาล เป็นช่องทางพิเศษแยกจากผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป ทำให้ผู้ต้องขังไม่ต้องรอคอยการพบแพทย์นาน ลดความเครียดจากการถูกจ้องมอง และลดขั้นตอนการทำงานของเรือนจำ การพัฒนาระบบการดูและของเรียนจำ มีการออกแบบระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชในเรือนจำ ทำให้ผู้ต้องขังทุกรายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพจิต มีการบูรณาการการตรวจรักษาผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำทุก 3 เดือน ทำให้ผู้ต้องขังจิตเวชทั้งรายเก่ารายใหม่มีอาการดีขึ้น การจัดทำคู่มือ “แนวทางการดูและผู้ต้องขังจิตเวช สำหรับบุคลากรในเรือนจำ” ทำให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการดูแลผู้ต้องขังเป็นแนวทางเดียวกัน การพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ต้องขังที่ปลดคดีสู่ชุมชน เป็นการออกแบบกระบวนการดูแล รักษา และส่งต่อผู้ต้องขังจิตเวชหลังการปล่อยตัว ให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งข้อมูลสำคัญและเตรียมความพร้อมให้หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ที่ผู้พ้นโทษจะกลับไปใช้ชิวต มีการวางแผนดำเนินการ ติดตามดูแลรักษาต่อเนื่องอย่ายน้อย 1-3 ปี  ซึ่งระบบนี้จะช่วยป้องกันผู้พ้นโทษก่อคดีซ้ำ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดช่องทางด่วนผ่านโทรศัพท์ และ e-mail ให้ทีมเจ้าหน้าที่เรือนจำเข้าถึงการรับคำปรึกษาและการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและทีมนิติจิตเวชของสถาบันกัลยาณ์ฯ ได้สะดวก และรวดเร็ว

          ผลการดำเนินงาน ได้นำไปสู่ข้อเสนอทางนโยบายระดับประเทศในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตผู้ต้องขังในเรือนจำ ขณะนี้มีการจัดทำร่างระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการปฏิบัติงานอนามัยเรือนจำ และการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานอนามัยเรือนจำ ชื่อ “แนวทางจัดระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ” ซึ่งจะทำให้ผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำได้รับการดูแลทั้งด้านความเป็นอยู่ จิตใจ อารมณ์ และสังคมอย่างมีคุณภาพ

    

   

 

ภาพการรับรางวัลการพัฒนาการบริการที่เป็นเลิศ
“ระบบการดูแลผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำ”
สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558 11:07:12 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2558 11:07:12
Best Practices 2558
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th