Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2556 / พฤษภาคม / ก.พ.ร. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพิ่มบทบาทภาคประชาสังคม/ชุมชนร่วมดำเนินการจัดบริการสาธารณะ

ก.พ.ร. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพิ่มบทบาทภาคประชาสังคม/ชุมชนร่วมดำเนินการจัดบริการสาธารณะ

ก.พ.ร. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพิ่มบทบาท
ภาคประชาสังคม/ชุมชนร่วมดำเนินการจัดบริการสาธารณะ


 alt

           เมื่อวันศุกร์ที่  26 เมษายน  2556 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนา เพื่อสำรวจและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับภารกิจภาครัฐที่สามารถถ่ายโอนให้ ภาคประชาสังคม / ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทนภาครัฐในการจัดบริการ สาธารณะ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการ การศึกษาข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะให้ภาคประชาสังคม/ชุมชน ที่จะนำไปสู่การสร้างการบริหารราชการแบบร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับภาคประชาสังคม/ชุมชนในการจัดบริการสาธารณะ  โดยการสัมมนาดังกล่าวมีผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ซึ่ง รองเลขาธิการ ก.พ.ร. นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล เป็นประธานเปิดงาน ณ โรงแรมรอยัลซิตี้

alt           รองเลขาธิการ ก.พ.ร. นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล  ได้ กล่าวเปิดงานและชี้แจงถึงที่มาและการดำเนินงานว่า  หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ระบบราชการไทย พ.ศ. 2556 - 2561 ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 7 ประเด็น หนึ่งในนั้นคือ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ที่สนับสนุนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้มีการบริหารบ้านเมืองแบบมีส่วนร่วม   ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดินและเพื่อส่งเสริมระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคประชาสังคม  จึงเป็นที่มาในการศึกษาข้อเสนอที่จะทำให้ภาคประชาสังคม  ชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทนรัฐว่า ควรมีแนวทางอย่างไร  โดยมีคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้ามาช่วยในการศึกษาว่า งานบริการสาธารณะใดบ้างที่สามารถถ่ายโอนให้ภาคประชาชน/ ชุมชน/ สังคม มาร่วมดำเนินการได้  และในวันนี้จึงเป็นการรับฟังข้อเสนอแนะจากท่านผู้แทนส่วนราชการ เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงข้อเสนอต่อไป

           หลังจากนั้น  อาจารย์ ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์  หัวหน้าโครงการ ได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการศึกษาข้อเสนอการถ่ายโอนฯ นี้ ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ ว่า ประการที่หนึ่ง เพื่อ กำหนดขอบเขตภารกิจในการจัดบริการสาธารณะ  ที่จะสามารถถ่ายโอนให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมหรือดำเนินการ แทนภาครัฐ คือ พยายามศึกษาขอบข่ายภารกิจต่างๆ ที่ส่วนราชการต่างๆ  โดยเฉพาะการบริหารราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินการมีบทบาทรับผิดชอบอยู่ มีภารกิจใด มีกิจกรรมในลักษณะไหนที่จะส่งเสริมให้ภาคประชาสังคมเข้ามาร่วมหรือดำเนินการ แทนได้ 

alt           ประการที่สอง เพื่อสร้างกลไกหรือเครื่องมือสำหรับหน่วยงานของรัฐในการจัดบริการสาธารณะ ร่วมกับภาคประชาสังคม  โดยเมื่อได้ประเภทภารกิจที่เหมาะสมจะถ่ายโอนหรือดำเนินการร่วมกันแล้ว  ส่วนที่สองจะพัฒนากลไกหรือเครื่องมือที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ งานร่วมหรือดำเนินการแทนกันให้มีความราบรื่น   และช่วยให้การดำเนินการต่างๆ ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนการขับเคลื่อนทั้งในส่วนภาครัฐและภาคประชาสังคม ก็คือ  ฝ่ายรัฐเองมีความพร้อมในการถ่ายโอนภารกิจ และฝ่ายประชาสังคมที่จะเข้ามาร่วมรับผิดชอบจัดบริการสาธารณะจะไม่เผชิญข้อ ติดขัดหรืออุปสรรค 

           ประการสุดท้าย โดยภาพรวมของโครงการในระยะยาว เน้นให้ความสำคัญการมีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่น  และมุ่งให้เกิดวัฒนธรรมในการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับภาคส่วนอื่น  ซึ่งนำไปสู่ รูปแบบการบริหารราชการแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) คือภาครัฐและภาคประชาสังคมร่วมคิด ร่วมทำ

           โดยที่ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ มีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การรับฟังความคิดเห็น ซึ่งจะมีทั้งการสัมมนาที่เกิดขึ้นในวันนี้ และการสำรวจโดยแบบสอบถาม  รวมทั้งการสัมภาษณ์เจาะลึกสำหรับส่วนราชการบางหน่วย ซึ่งการดำเนินการจัดบริการสาธารณะในลักษณะร่วมกันหรือแทนกันนี้ไม่ใช่เพียง ภาครัฐฝ่ายเดียว แต่ทั้งสองฝ่ายต้องมาร่วมกัน  ดังนั้นจึงต้องศึกษาข้อกฎหมาย อำนาจหน้าที่ที่ทำอยู่ รวมถึงสอบถามฝ่ายรัฐว่า มีงานใดที่สามารถถ่ายโอนให้กับภาคประชาสังคมได้ อาจารย์ ดร. วสันต์ กล่าว

           ต่อจากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ  หลักการและแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการจัดบริการสาธารณะ  : สภาพความจำเป็นและความเป็นไปได้ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา  และ นายทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ ประธาน อนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการพัฒนาส่งเสริมการบริหารราชการแบบมี ส่วนร่วม โดยมี อาจารย์ ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

alt
           ศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์  กล่าว ว่า  ภาคประชาสังคม คือ องค์กรส่วนรวมที่ไม่ใช่ภาครัฐ และไม่ใช่ภาคเอกชน  เป็นเครื่องจักรเครื่องที่สามซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามลักษณะของแต่ละ ประเทศ บางประเทศเช่นในสหราชอาณาจักร เรียกว่า  องค์กรภาคส่วนที่สาม (Third sector) โดยมีกระทรวงที่รับผิดชอบในเรื่องการบริหารสาธารณะด้วย ในบางประเทศจะเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร (Non-profit sector) อย่างประเทศญี่ปุ่น หรือในบางประเทศเรียกองค์กรไม่เป็นทางการ องค์กรอาสาสมัคร องค์กรชุมชน  แต่โดยสาระสำคัญสรุปได้ว่า  เป็นองค์กรส่วนรวมอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ภาครัฐและไม่ใช่ภาคเอกชน โดยในการส่งเสริมให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการ สาธารณะต้องสร้างความไว้วางใจด้วยการมองภาคประชาสังคมอย่างเป็นมิตร

           บทบาทของภาคประชาสังคมที่จะทำงานแทนรัฐมีข้อดี คือ กลุ่มเป้าหมายจะมีความชัดเจน  จะทำให้มีบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง  ซึ่งในบางเรื่องภาคประชาสังคมทำงานเรื่องนี้มานานพอสมควร มีประสบการณ์ มีเครือข่าย มีการแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า  และภาครัฐสามารถระดมอาสาสมัครทำงานแบบภาคีเครือข่ายจะทำให้มีทุนทางสังคมที่ ช่วยสนับสนุนและมีแรงผลักดันที่หนักแน่นขึ้น  และท้ายที่สุดภาครัฐจะสามารถลดต้นทุนในการบริหารจัดการ ลดต้นทุนทางด้านบุคลากร  ไม่จำเป็นต้องตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปประจำเพื่อดำเนินการทั้งหมด แต่เจ้าหน้าที่รัฐทำหน้าที่ดูแลควบคุมมาตรฐาน กฎกติกาส่วนกลางทำให้เกิดความสำเร็จโดยส่วนรวมได้

           อย่างไรก็ตามทัศนคติในทางลบในเรื่องของ  การถ่ายโอน ซึ่งเป็นคำที่สังคมไทย นักวิชาการไทย ข้าราชการไทย คิดประดิษฐ์ขึ้น  ว่าเป็นการยกงานให้ไปโดยอันที่จริงการถ่ายโอนงานให้ท้องถิ่นหรือถ่ายโอนงาน ให้ภาคประชาสังคมหรือเอกชน ผลลัพธ์ในขั้นสุดท้ายดูเหมือนว่าภาครัฐมีงานน้อยลง แต่ที่จริงแล้ว มีงานเพิ่มมากขึ้น  เพียงแต่ภาครัฐเองไม่ได้ทำงานโดยลำพัง ศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ กล่าว
alt
           นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป  กล่าว ว่า ปัจจุบันภารกิจการบริการสาธารณะมีความหลากหลายซับซ้อนหลายมิติ  ความต้องการต่างๆ ของประชาชนแตกต่างหลากหลาย การทำงานของราชการที่มีอยู่ดั้งเดิมไม่เพียงพอ   มีปัญหาซับซ้อนมากขึ้น รัฐเองต้องปรับรูปแบบการให้บริการประชาชน  โดยขณะนี้ภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคมในระดับต่างๆ  มีขีดความสามารถ มีความพร้อมและศักยภาพหลายเรื่อง สามารถทำงานเคียงคู่กับภาครัฐได้  และบางอย่างทำได้ดีกว่ารัฐ  ซึ่งบางอย่างอาจจะยังมีข้อจำกัด ดังนั้น การมองว่าบทบาทของภาคประชาสังคมที่จะมาเสริมจะเป็นการลดภาระงานบางอย่างที่ รัฐไม่จำเป็นต้องทำเอง  เป็นเรื่องที่ดี  ถ้าหากองค์กรภาคประชาสังคมคือองค์กรของกลุ่มพลเมืองต่าง ๆ มีความสนใจมีความพร้อมเข้ามาและมีบทบาทในการรับผิดชอบในการจัดบริการ สาธารณะ  และรัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน จะทำให้ภาคพลเมืองมีความแข็งแรงขึ้น 

           นอกจากนี้ รูปแบบการสนับสนุนหรือการให้งบประมาณหรือการจ้างงาน อาจจะมีสองระบบใหญ่ๆ ระบบที่หนึ่ง เรียกว่า Granting คือ มีโครงการและเสนอโครงการเข้ามาพิจารณา พอพิจารณาผ่าน จะได้รับงบประมาณ โดยต้องมีการติดตามประเมินผล   และมีการรายงานผลเมื่อจบโครงการ ซึ่งภาคราชการทำมาพอสมควรระยะหนึ่งแล้ว อีกระบบหนึ่งคือ Outsourcing คือ บางเรื่องให้ภาคประชาสังคม มูลนิธิเข้ามาแข่ง มาเป็นผู้เสนอ  โดยราชการเป็นผู้กำหนดเสปค/ลักษณะงาน หรือจะเป็นการแข่งระหว่างภาคประชาสังคมหรือกับภาคองค์กรธุรกิจ แต่ถ้ามีงบประมาณไม่มาก  ภาคธุรกิจอาจไม่ค่อยสนใจ อย่างไรก็ตามเรื่อง Outsource ให้ภาคประชาสังคมอาจจะเป็นเรื่องใหม่ จึงควรมีแผนในการเตรียมความพร้อมด้วย  โดยปัญหาหนึ่งขององค์กรภาคประชาสังคมคือ ความต่อเนื่องของบุคลากรเพราะไม่มีงบประมาณแบบราชการ  ดัง นั้น ระบบ Outsourcing จะทำให้องค์กรภาคประชาสังคมมีกำไร มีการจัดการทรัพยากร ทุนที่ต่อเนื่อง สามารถทำให้องค์กรแข็งแรงได้ นายแพทย์พลเดช กล่าว

alt
           ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม  นายทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ กล่าว ถึง กระบวนการมีส่วนร่วมที่มีอยู่ 5 แบบ คือ 1. ให้ข้อมูลข่าวสาร (inform) 2. ให้คำปรึกษาหารือ (consult) ทำประชาพิจารณ์ 3. มาเป็นกรรมการร่วม (involve) 4. มีหุ้นส่วน  (collaborative) 5. เป็นการให้อำนาจ  (empower) ซึ่งถือว่ายากสุดและโดยที่ส่วนราชการจะต้องลดขนาดลง การลดบทบาทในส่วนของ Operator ให้ไปอยู่กับทางภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคม  ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องตระหนกคือ ข้อแรก ข้าราชการต้องทำงานใหม่ และเปลี่ยนวิธีคิด ทำงานที่ความหมาย (Meaningful) อย่าไปทำงานง่ายๆ (Easy) ข้อ สอง เราต้องเปลี่ยนบทบาทขึ้นมาเป็น Regulator ไม่ใช่ Operator อีกต่อไป ต้องผ่องถ่ายให้ภาคประชาสังคมและภาคเอกชนด้วย นายทรงศักดิ์ กล่าว



           หลังจากนั้นจึงเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาแสดงความคิดเห็นและ ข้อเสนอแนะ โดยจะนำข้อมูลที่ได้จากผู้เข้าร่วมสัมมนาจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงข้อ เสนอในการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนต่อไป

 alt 

อักสรณ์ (สลธ.) / ข่าว&ภาพ
พรทิพย์ (กลุ่มมีส่วนร่วมฯ) / เรียบเรียง
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 9 พฤษภาคม 2556 08:56:11 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 9 พฤษภาคม 2556 08:56:11
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th