สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 23 เมษายน 2556 เรื่อง
ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
(พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561)
การ
ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556 ซึ่งมี นางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร. คือ ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561)
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)
ได้แจ้งมติคณะรัฐมนตรีเรื่องดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบแล้ว
ตามหนังสือ สลค. ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/10850 ลงวันที่ 29 เมษายน 2556
โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเรื่อง ร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2561) ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอแล้ว ลง
มติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 31
มกราคม 2556 ทั้ง 2 ข้อ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยให้สำนักงาน
ก.พ.ร. รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ควรมีแผนในด้านการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชน (Talent mobility) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้ทั้งสองทางจากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชนและจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐ
2. ควรมีการฝึกอบรมบุคลากรในสายงานประเภทบริหารและสายงานประเภทวิชาการให้มีความรู้ความเข้าใจในงานของอีกสายงานด้วย
3. ควรมีแผนในด้านการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ เพื่อทดแทนบุคลากรที่จะพ้นไปจากระบบราชการในอนาคต ทั้งจำนวนกำลังคนและสมรรถนะที่ต้องการ เช่น แผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession plan) และความก้าวหน้าในอาชีพ (Career path) เป็นต้น
4. ควร
ให้ความสำคัญกับการนำวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่
หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)
และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการให้บริการประชาชน
(e-service) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับประเด็นที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา มีดังนี้
1) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561)
2)
มอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
ไทย (พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561)
ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินภารกิจของหน่วยงานต่อไป
สาระสำคัญของร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561)
วิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ
ระบบ
ราชการไทยมุ่งเน้นพัฒนาการทำงานเพื่อประชาชน
และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ภายใต้หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ยกระดับขีดสมรรถนะไปสู่ความเป็นเลิศ
บูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพงานของภาครัฐ ประสานการทำงานกับทุกภาคส่วน
สร้างความโปร่งใส ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ให้เป็นที่น่าเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการในช่วงระยะปี พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561 สามารถแยกออกได้เป็น 3 หัวข้อ รวม 7 ประเด็น ดังนี้
ยกระดับองค์การสู่ความเป็นเลิศ
1. การสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการประชาชน
2. การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของภาครัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. การวางระบบการบริหารงานราชการแบบบูรณาการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน
5. การส่งเสริมระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
6. การยกระดับความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน
ก้าวสู่สากล
7. การสร้างความพร้อมของระบบราชการไทยเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
โดยมีกลยุทธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการประชาชน
กลยุทธ์
1.1 พัฒนาระบบการให้บริการประชาชน
1.2 เสริมสร้างวัฒนธรรมการให้บริการที่เป็นเลิศ
1.3 พัฒนาระบบการจัดการข้อร้องเรียนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย บุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ
กลยุทธ์
2.1 พัฒนาหน่วยงานของรัฐให้มีขีดสมรรถนะสูง
2.2 พัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนและพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ
2.3 เพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการ โดยการลดต้นทุน และส่งเสริมนวัตกรรม
2.4 สร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของภาครัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด
กลยุทธ์
3.1 บริหารสินทรัพย์ของภาครัฐอย่างครบวงจรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่า และสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของภาครัฐ
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การวางระบบการบริหารงานราชการแบบบูรณาการ
กลยุทธ์
4.1 ออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารงานแบบบูรณาการ
4.2 ปรับปรุงความสัมพันธ์และประสานความร่วมมือระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การส่งเสริมระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
กลยุทธ์
5.1
ทบทวนบทบาทภารกิจและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้เหมาะสม
ถ่ายโอนภารกิจงานและกิจกรรมที่ภาครัฐไม่จำเป็นต้องปฏิบัติเองให้ภาคส่วนต่าง
ๆ
5.2 ส่งเสริมการบริหารราชการระบบเปิดและการสร้างเครือข่าย
6. ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การยกระดับความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน
กลยุทธ์
6.1 ส่งเสริมและวางกลไกสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ
6.2 ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และมาตรการในการต่อต้านคอร์รัปชั่น
7. ยุทธศาสตร์ที่ 7 : การสร้างความพร้อมของระบบราชการไทยเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
กลยุทธ์
7.1 พัฒนาระบบบริหารงานของหน่วยงานที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
7.2 เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในภาครัฐของประเทศสมาชิกอาเซียน
โครงการสำคัญเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ
ใน
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561)
เพื่อรองรับกับการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ประเทศ (พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2561)
ประกอบด้วยโครงการสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ จำนวน 30 โครงการ
ทั้งนี้ มีโครงการสำคัญ (Flagship Projects) ที่จะต้องดำเนินการเร่งด่วน จำนวน 10 โครงการ ดังนี้
1)
โครงการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลิศในการให้บริการประชาชน (ผู้รับผิดชอบ
: สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวง กรม และจังหวัดที่เกี่ยวข้อง)
2)
โครงการพัฒนาระบบการจัดการข้อร้องเรียนและแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของ
ประชาชน (ผู้รับผิดชอบ : สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
สำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
3)
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนด้วยระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์
ภาครัฐ (ผู้รับผิดชอบ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ร่วมกับกระทรวง กรม
และจังหวัดที่เกี่ยวข้อง)
4)
โครงการวางแผนอัตรากำลังคนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Workforce Plan)
(ผู้รับผิดชอบ : สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวง กรม
และจังหวัดที่เกี่ยวข้อง)
5)
โครงการส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐบริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ
(ผู้รับผิดชอบ : สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
6)
โครงการพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารของหน่วยงานของรัฐ (ผู้รับผิดชอบ :
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับกระทรวง กรม
และจังหวัดที่เกี่ยวข้อง)
7)
โครงการส่งเสริมให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกิจการบ้านเมือง
(ผู้รับผิดชอบ : สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวง
และภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง)
8) โครงการวัดระดับความเชื่อถือและไว้วางใจในการบริหารงานภาครัฐ (ผู้รับผิดชอบ : สำนักงาน ก.พ.ร.)
9)
โครงการพัฒนาระบบการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดเพื่อรองรับการเป็น
เมืองที่มีศักยภาพเด่นเชื่อมโยงสู่อาเซียน (ผู้รับผิดชอบ : สำนักงาน
ก.พ.ร. ร่วมกับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง)
10) โครงการส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาครัฐเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ผู้รับผิดชอบ : สำนักงาน ก.พ.ร.)
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
ข้อมูลจาก หนังสือ สลค. และหนังสือสำนักงาน ก.พ.ร.
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 2 พฤษภาคม 2556 09:03:40 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 2 พฤษภาคม 2556 09:03:40