รายการเดินหน้า...พัฒนาราชการไทย ตอน
"การบริหารความต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต"
รายการ "เดินหน้า...พัฒนาราชการไทย" เดือนมีนาคม 2556 ตอน "การบริหารความต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต" หรือ Business Continuity Management (BCM) ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ที่ 11
มีนาคม 2556 เวลา 16.05 - 16.25 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
กรมประชาสัมพันธ์ (NBT) โดยได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญ 2 ท่าน คือ แพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข กรมการแพทย์ และ นายวีระพงษ์ กฤษดาวัฒน์ Enterprise Risk Service Partner บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ
ที่ปรึกษา จำกัด พร้อมด้วยสกู๊ปสัมภาษณ์รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์
สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน
2555 ได้เห็นชอบกับกรอบแนวทา
งและมาตรการในการดำเนินการเพื่อให้ส่วนราชการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติ
งาน เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดภาวะวิกฤตขึ้น
โดยได้มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ทำหน้าที่จัดระบบการบริหารจัดการให้หน่วยงานต่างๆ
สามารถตอบสนองต่อปัญหาและแก้ไขความไม่มีประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
ซึ่งอาจทำให้การให้บริการประชาชนสะดุดหยุดลงได้ สำนักงาน ก.พ.ร.
จึงได้จัดทำโครงการบริหารความต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต
เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการจัดทำแผนรองรับภารกิจการให้บริการ
ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
โดยประสานความร่วมมือกับบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ที่ปรึกษา
จำกัด ให้ศึกษากระบวนการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤตของหน่วยงานนำร่อง 2 แห่ง
คือ หน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด จังหวัดฉะเชิงเทรา
นายวีระพงษ์ กฤษดาวัฒน์ ได้
กล่าวถึงหลักการบริหารความต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต หรือ BCM ว่า
การเตรียมความพร้อม
การรองรับสถานการณ์สร้างความต่อเนื่องในการทำงานเป็นสิ่งที่ดี
ภาคเอกชนปกติก็มีการดำเนินการกันอยู่แล้ว
แต่คำว่าวิกฤตของเอกชนจะมีหลายรูปแบบ
โดยจะดูผลกระทบในแง่ของรายได้เป็นหลัก
แน่นอนว่าการดำเนินธุรกิจต้องแสวงหารายได้
เมื่อเกิดวิกฤตแล้วหากงานสะดุดไปก็จะสร้างผลกระทบต่อองค์กร BCM
ก็คือการสร้างความพร้อม การบริหารจัดการความต่อเนื่องให้กับองค์กร ทั้งนี้
เวลาพูดถึงภาวะวิกฤต จะแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกัน
ระยะแรกคือการบริหารจัดการการเผชิญเหตุ
ซึ่งก็อาจจะเหมือนกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
แต่ถ้าปัญหานี้กระทบขยายออกไปในวงกว้าง
ก็จะยกระดับมาเป็นการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน
และหากเหตุฉุกเฉินขยายออกมาเป็นลักษณะของวิกฤตในองค์กรแล้ว
เราก็ต้องมีการบริหารจัดการอีกแบบหนึ่ง
แต่ในส่วนของการบริหารความต่อเนื่องจะมากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
คือนอกจากจะต้องมีแผนในการรองรับภาวะวิกฤตแล้ว
ก็ต้องมีแผนในการสร้างความต่อเนื่องด้วย ยกตัวอย่างเช่น
ในเรื่องรกรรมทางการเงิน
ถ้าระบบไอทีหยุดชะงักเราก็ไม่สามารถให้บริการได้
แต่ถ้าเรามีแผนความต่อเนื่องเราอาจะไปใช้อีกระบบหนึ่งหรือที่เรียกว่า
Backup Site ก็จะสร้างความต่อเนื่องให้การบริการเดินหน้าต่อไปได้
หน่วยงานราชการนั้นถือเป็นกลไกหนึ่งของเศรษฐกิจ ภาคราชการ ภาคเอกชน
ภาคประชาชน มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันเป็นห่วงโซ่อุปทาน
หากภาคราชการสะดุด ภาคเอกชน ภาคประชาชนก็คงจะต้องสะดุดเช่นเดียวกัน
ดังนั้นจึงควรจะต้องมีการเตรียมแผนนี้ไว้ด้วย นายวีระพงษ์ กล่าว
ทางด้านกรมการแพทย์ซึ่งเป็นหน่วยงานนำร่องระดับกรม แพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ กล่าวว่า ใน
ระยะหลังๆ ที่กรุงเทพมหานครมีเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ
กรมการแพทย์ก็มีแผนชัดเจนขึ้นว่าจะทำอย่างไรให้โรงพยาบาลในสังกัดสามารถให้
บริการผู้ป่วย ทั้งที่อยู่ในโรงพยาบาลหรือผู้ป่วยที่จะต้องมารับยา
สามารถใช้บริการได้ ซึ่งแผนที่เรามีจะต่างกับแผน BCM อยู่เล็กน้อยตรงที่แผน
BCM จะมีมุมมองในการบริหารทรัพยากรอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
สร้างความต่อเนื่องในการให้บริการ
กรมการแพทย์ส่วนหนึ่งก็จะมีงานบริการ
ซึ่งก็ได้พิจารณากันว่าส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้ป่วยมากที่สุด
นั่นก็คือ หน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก หรือ ICU และเหตุที่เลือก
ร.พ.ราชวิถีเพราะเป็นโรงพยาบาลของรัฐที่มีขนาดใหญ่
ซึ่งเมื่อได้มีการจัดทำแผนและได้รับคำแนะนำจากสำนักงาน ก.พ.ร.
และบริษัทที่ปรึกษาก็จะช่วยให้สามารถมองภาพที่ลึกเข้าไปอีกขั้นหนึ่ง
เป็นต้นว่า เราจะต้องเตรียมคน เตรียมของอย่างไรในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต
เรามีเครื่องช่วยหายใจกี่เครื่อง ถ้าเครื่องไม่พอจะต้องนำเครื่องที่ไหนมา
สิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดเหตุวิกฤตขึ้นมาเราอาจจะคิดไม่ทัน แพทย์หญิงนฤมล กล่าว
ปิดท้ายรายการด้วยสกู๊ปสัมภาษณ์ นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ รอง
ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นหน่วยงานนำร่องในระดับจังหวัด
ทางสำนักงาน ก.พ.ร.
และบริษัทที่ปรึกษาได้เข้ามาประชุมทำความเข้าใจกับทีมของจังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดซึ่งเป็นทีมหลักในการเข้ามา
จัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต
เพื่อที่ภาคราชการจะสามารถบริหารจัดการได้ด้วยความต่อเนื่องและมี
ประสิทธิภาพ การหามาตรการเพื่อบริหารจัดการในภาวะวิกฤต
ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องของฐานข้อมูล
ความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่
การเตรียมความพร้อมในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การบริการข้อมูลให้กับประชาชน
ซึ่งหลังจากที่ทางจังหวัดประสบปัญหาการระบาดของไข้หวัดนกในสัตว์ปีก เมื่อ 7
ปีที่ผ่านมา เราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ไม่มีการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในพื้นที่อีก
ส่วนในปัจจุบันก็มักจะมีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้นเรียกว่าโรคอุบัติใหม่
ซึ่งก็ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกๆ ภาคส่วนเข้ามาช่วยกัน
การจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องจึงถือว่ามีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็น
อย่างยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าว
ทั้งนี้
เมื่อส่วนราชการได้รับทราบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานนำร่องแล้ว
จะต้องจัดทำแผนความต่อเนื่อง
โดยนำแนวทางการปฏิบัติไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของตัวเอง
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อ
เนื่อง แม้เกิดสภาวะวิกฤตต่อไป
อักสรณ์ (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
นฤมล (สลธ.) / รายงาน
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 24 เมษายน 2556 09:13:55 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 24 เมษายน 2556 09:13:55