Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2556 / เมษายน / เวทีปัญญา สัมมนาวาที (สัญจร) ครั้งที่ 23ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนBest Practices รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2555

เวทีปัญญา สัมมนาวาที (สัญจร) ครั้งที่ 23ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนBest Practices รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2555

เวทีปัญญา สัมมนาวาที (สัญจร) ครั้งที่ 23
 
ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน
 
Best Practices รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2555
 
 



          สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม จัดกิจกรรมเวทีปัญญา สัมมนาวาที (สัญจร) ครั้งที่ 23 โดยนำข้าราชการที่สนใจ เยี่ยมชมศึกษาดูงาน หน่วยงาน ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน (BEST PRACTICES) รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2555 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา

          altนางสาว ขนิษฐา สุดกังวาล ที่ ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. กล่าวเปิดการประชุมว่า สำนักงาน ก.พ.ร. ส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้ส่วนราชการ ดำเนินการลดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 และมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยจัดให้มีพิธีมอบ รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน แก่ หน่วยงานของรัฐ ทั้งส่วนราชการ จังหวัด สถาบันอุดมศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกําลังใจ ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานที่มีความโดดเด่นในการพัฒนาหรือ ปรับปรุงบริการ ที่สามารถตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนผู้รับบริการ โดยในปี 2555 นี้ มีส่วนราชการที่ได้รับ รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ หลาย หน่วยงานด้วยกัน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีความโดดเด่นในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนในแต่ละ ด้านแตกต่างกันออกไป ความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่ว ข้ามคืน ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนจึงเป็นตัวอย่างที่ส่วนราชการ สามารถนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมได้ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงดำเนินการการจัดกิจกรรมเวทีปัญญา สัมมนาวาทีครั้งที่ 23 ขึ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกที่จัดสัญจรเยี่ยมชมศึกษาดูงานในพื้นที่จริง เพื่อข้าราชการจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหน่วยงาน ที่เป็นต้นแบบการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน (BEST PRACTICES) รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2555 อันได้แก่ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต และกองบัญชาการช่วยรบที่ 2 กองทัพภาคที่ 2 กองทัพบก

alt

          ดร.ไกรลาส เขียวทอง นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา กล่าวถึงผลaltงาน การส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง ณ อบต.กุดน้อย อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ว่า ในระหว่างปี 2544 -2553 มีน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากโรงงานมันสำปะหลัง กว่า 5000 ลบ.ม. ต่อวัน ไหลซึมลงพื้นที่ปลูกข้าวของเกษตรกร กว่า 300 ไร่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ ในขณะเดียวกัน หลายๆพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมา ก็เกิดปัญหาในการเลี้ยงโคนม ขาดอาหารหยาบคุณภาพดี ทำให้ผลผลิตน้ำนมต่ำ และเกษตรกรผู้เลี้นงโคนมมีต้นทุนสูง สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ จึงได้เข้าไปศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และพบว่า หญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 ซึ่งเป็นพืชทีมีความเหมาะสมกับสภาพน้ำดังกล่าว และยังเป็นอาหารสัตว์คุณภาพดี จากการบูรณาการการทำงานจากหลายๆภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน องค์การบริหารส่วนตำบล และสหกรณ์โคนม จึงได้ทำความเข้าใจกับเกษตรกรและทดลองปลูกหญ้าเนเปียร์ในแปลงเกษตร จนในที่สุด เมื่อหญ้าเริ่มเก็บเกี่ยวได้ จึงนำไปผลิตเป็นอาหาร หยาบคุณภาพดี สร้างรายได้ที่สูงกว่าการปลูกข้าว ด้านเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมก็มีผลผลิตน้ำนมที่สูงขึ้น และต้นทุนต่ำลง เรียกได้ว่า win-win ทุกฝ่าย ซึ่งทั้งหมดนี้ คือการบูรณาการความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น และประชาชน ที่ประสบความสำเร็จ

            นพ.พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กล่าวถึงผลงาน การดูแลและฟื้นฟูaltสมรรถภาพ ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยพระสงฆ์เป็นแกนนำ ว่า โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ มีหน้าที่ให้บริการส่งเสริม ป้องกันสุขภาพจิต บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวช โดยมีประชากรกว่า 6 ล้านคนในพื้นที่เขตรับผิดชอบ โดยพบว่า มีผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี และว่าร้อยละ 50 ผู้ป่วยจะกลับมารักษาซ้ำ ตลอดจนมีสถานการณ์ที่ญาติไม่มารับผู้ป่วยกลับบ้านเมื่ออาการทุเลา ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย ทำให้วิตกกังวล และในกรณีที่ผู้ป่วยต้องใช้เวลารักษาอย่างต่อเนื่องที่บ้าน จะทำให้ญาติรู้สึกเป็นภาระ เบื่อหน่าย และยากลำบากในการดูแล อีกทั้งเกิดปัญหาครอบครัวและชุมชนปฏิเสธผู้ป่วย

          นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาฯ จึงได้พัฒนารูปแบบการดำเนินงานดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชด้วยการ สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง Change Agents ส่งเสริมศักยภาพของญาติและชุมชนในการมีส่วนร่วมดูแล โดยมีวัดห้วยพรหมเป็นวัด
นำร่อง ซึ่งเป็นการดูแลผสมผสานความรู้ด้านวิถีพุทธ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความรู้ด้านจิตเวชเข้าด้วยกัน กว่า 12 ปีที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และได้ขยายแนวคิดไปยังอีก 17 ชุมชน สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจน ผู้ป่วยจิตเวชมีอาการดีขึ้น สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง กลับเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอีกครั้ง

          ด้าน พ.อ. เชาวลิตร สังฆฤทธิ์ หัว หน้าสำนักงานพัฒนาระบบราชการกองทัพภาคที่ 2 กล่าวถึงการบริหารจัดการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ ศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กองบัญชาการaltช่วย รบที่ 2 กองทัพภาคที่ 2 กองทัพบกว่า ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ และศุนย์สาธิตและส่งเสริมศิลปาชีพภาคตะวันออกฉัยงเหนือ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 โดยมีภาระหน้าที่ ถ่ายทอดแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและงานด้านศิลปาชีพ ซึ่งมุ่งเน้นเยาวชน เกาตรกร และประชาชนทั่วไป โดยผ่านกิจกรรมการอบรมที่ให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งการดำเนินการของศูนย์ที่ผ่านมา พบปัญหาหลายด้าน อาทิ ระยะเวลาการอบรมที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่ตรงกับความต้องการ ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ การประเมินผลที่ไม่สะดวกรวดเร็วและขาดประสิทธิภาพ และปัญหาด้านการพัฒนาบุคลากร จากปัญหาต่างๆ ศูนย์การเรียนรู้ฯ จึงได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ฯ ใหม่มาใช้ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการทั้งระบบใน 6 ขั้นตอนการให้บริการ ได้แก่ 1) การสำรวจข้อมูลโดยใช้นวัตกรรมการเชื่อมต่อฐานข้อมูล และนวัตกรรมโปรแกรมการคัดแยกผู้รับบริการเพื่อการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายใน ระบบภูมิสารสนเทศ GIS 2) การประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรม 3) การปรับพื้นฐานความรู้ของผู้เข้ารับการอบรม และ 4) การให้องค์ความรู้ผู้เข้ารับการอบรม โดยนำโปรแกรม Training Need มาใช้ 5) การประเมินผลการให้บริการหลังฝึกอบรามและ 6) การรายงานผล โดยการการนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ทำให้สามารถลดขั้นตอนและระยะเวลา ลดการสูญเสียงบประมาณ ยกระดับความพึงพอใจให้แก่ประชาชนได้

alt

alt          
          หลัง จากการอภิปรายในภาคเช้าจากตัวแทนทั้ง 3 หน่วยงานแล้ว จึงเป็นการลงพื้นที่เพื่อศึกษาเยี่ยมชมงานในสถานที่จริงโดยแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มตามหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 งานการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อแก้ไขความขัดแย้ง ณ อบต.กุดน้อย อ.สีคิ้ว กลุ่มที่ 2 การดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน โดยพระสงฆ์เป็นแกนนำ ณ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ และกลุ่มที่ 3 การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริฯ ศูนย์สาธิตและส่งเสริมงานศิลปาชีพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามความสนใจของข้าราชการที่มาร่วมกิจกรรม ซึ่งการลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงานในแต่ละแห่งนั้น ได้รับความสนใจจากข้าราชการที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างยิ่ง

 

          ประมวลภาพกิจกรรมการเยี่ยมชมในพื้นที่ ณ ศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ


alt         alt   

alt
 



          ประมวลภาพ ณ อบต.กุดน้อย อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา


alt          alt

alt



กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
ภัทรพร (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 22 เมษายน 2556 10:00:39 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 22 เมษายน 2556 10:00:39
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th