สำนักงาน ก.พ.ร. กับโครงการศึกษาการบริหารความพร้อม
ต่อสภาวะวิกฤตของหน่วยงานระดับกรม
สำนักงาน ก.พ.ร. เดินหน้าโครงการศึกษาการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต กับหน่วยงานนำร่องระดับกรม ได้แก่ หออภิบาลผู้ป่วย (ICU) ของโรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์ โดยมีแพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข กรมการแพทย์ นายแพทย์ไพโรจน์ เครือกาญจนา หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน นางสาวประนอม ดวงใจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มภารกิจบริการวิชาการ โรงพยาบาลราชวิถี พร้อมด้วยผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจัดทำแผน
จาก
การที่สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำโครงการการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตขึ้น
โดยร่วมมือกับ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด
เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการปฏิบัติ
งานและให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต
โดยศึกษาจากส่วนราชการนำร่อง 1 กรม 1 จังหวัด
ซึ่งได้ดำเนินการศึกษาในหน่วยงานนำร่องระดับจังหวัด ณ
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ความ
คืบหน้าของโครงการฯ สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้ดำเนินการศึกษาในหน่วยงานนำร่องระดับกรม ณ หออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU)
ของโรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์ เนื่องด้วยโรงพยาบาลราชวิถี
มีงานบริการที่สำคัญต่อประชาชน
และเป็นหน่วยงานต้นแบบที่ดีด้านการบริการจนได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่ง
ชาติ รวมทั้งได้รับรางวัลในระดับสากล (United Nations Public Service
Awards)
จากการดำเนินการ แพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ให้
ความเห็นว่า การทำแผนบริหารความต่อเนื่อง ซึ่งเป็น
กระบวนการบริหารจัดการแบบองค์รวมที่เป็นระบบ
จะสามารถคาดการณ์ปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้
ว่าจะมีผลเสียหายต่อองค์กรมากน้อยเพียงใด
จึงเป็นเรื่องที่ดีและถือเป็นการทบทวนและแก้ไขปรับปรุงแผนเผชิญเหตุ
ที่กรมการแพทย์อยู่ระหว่างการจัดทำอยู่
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานให้สามารถรับ
มือกับสภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
การดำเนินการศึกษาในหน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลราชวิถี เพื่อจัดทำแผนความต่อเนื่อง ดำเนินการด้วยวิธีการประชุมร่วมกัน โดยในขั้นแรก เป็นการศึกษาผลกระทบขององค์กรที่เกิดจากสภาวะวิกฤต (Business
Impact Analysis) นายวีระพงษ์ กฤษดาวัฒน์ ที่ปรึกษาโครงการจาก บริษัท
ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด
ได้นำเสนอแนวคิดของการบริหารจัดการความต่อเนื่อง (Business Continuity Management:
BCM)
และความสำคัญในการเตรียมความพร้อมหน่วยงานให้สามารถปฏิบัติงานและให้บริการ
ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในแผนก ICU
ของโรงพยาบาลราชวิถี
ได้ร่วมกันวิเคราะห์ผลกระทบด้านธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นกับโรงพยาบาล
โดยพิจารณาตามระดับความรุนแรงและผลกระทบที่เกิดขึ้นใน 4 ด้าน ได้แก่
ด้านเศรษฐกิจ/การเงิน ระดับการให้บริการ ชีวิตและความปลอดภัย และชื่อเสียง
ที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในแผนก ICU รวมทั้ง
ผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอความเห็นและให้ข้อมูลในแต่ละขั้นตอนของการให้
บริการ ซึ่งแบ่งเป็นตั้งแต่ก่อนรับผู้ป่วย การรับผู้ป่วยหนัก
การดูแลรักษาผู้ป่วยหนัก และการส่งมอบผู้ป่วยหนัก ซึ่งที่ปรึกษาโครงการ
(บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด)
ได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปจัดทำร่างคู่มือการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตของ
หน่วยอภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลราชวิถี
ขั้น
ตอนต่อมา ผู้ปฏิบัติงานในหน่วย ICU ของโรงพยาบาลราชวิถี
ได้ร่วมกันพิจารณาความครอบคลุมและความถูกต้องของข้อมูลต่อร่างคู่มือการ
บริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต รวมถึงได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในหลายๆส่วน
ซึ่งข้อมูลที่หารือกับโรงพยาบาลราชวิถีเหล่านี้
จะนำไปปรับปรุงร่างคู่มือการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตให้มีความสมบูรณ์
ต่อไป
ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการโครงการฯ แล้วเสร็จ สำนักงาน ก.พ.ร.
จะจัดทำคู่มือการบริหารความพร้อมต่อภาวะวิกฤตเผยแพร่ให้ทุกส่วนราชการ
โดยมีแผนความต่อเนื่องของโรงพยาบาลราชวิถี
กรมการแพทย์และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา กรมปศุสัตว์ เป็นตัวอย่าง
พร้อมจัดการประชุมชี้แจงให้ทุกส่วนราชการทราบ รวมทั้ง
ให้แต่ละส่วนราชการจัดทำแผนความต่อเนื่อง
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่าง
ทันท่วงทีและให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์วิกฤต
สุปรียา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.)/รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 4 มีนาคม 2556 09:20:03 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 4 มีนาคม 2556 09:20:03