แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) กำหนดแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 พร้อม
ทั้งประเด็นหัวข้อในการตรวจสอบและประเมินผล เพื่อให้ ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ
ใช้เป็นแนวทางในการสอบทานผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด
โดย ค.ต.ป.
ได้มีมติเห็นชอบกับแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2556 ดังกล่าว ในการประชุม ค.ต.ป. ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 24
มกราคม 2556 โดยสาระสำคัญของแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
|
1. การสอบทานกรณีปกติ
1.1 การตรวจราชการ
(1)
ให้การตรวจราชการแบบบูรณาการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายรัฐบาลเป็นความรับ
ผิดชอบของ อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัดในการสอบทาน
(2)
สำรหับการตรวจราชการนอกเหนือจากการตรวจราชการแบบบูรณาการเพื่อมุ่งผล
สัมฤทธิ์ตามนโยบาย ให้เป็นความรับผิดชอบของ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงในการสอบทาน
1.2 การตรวจสอบภายใน (ทั้งนี้
ให้รวมถึงการสอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยตรวจสอบภายในในการติดตามและตรวจสอบ
การประเมินมาตรฐานการจัดซื้อโดยรัฐ)
1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
1.5 รายงานการเงิน
2. การสอบทานกรณีพิเศษ
2.1 ค.ต.ป. ประจำกระทรวง
คัดเลือยุทธศาสตร์และโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ของกระทรวง
ซึ่งเป็นโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐบาล
หรือยุทธศาสตร์กระทรวงที่มีความสำคัญอันดับรแก
และเลือกโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์อย่างน้อย 2 โครงการ ในเรื่องดังต่อไปนี้
1) การท่องเที่ยว
2) โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
3) การพัฒนาเตรียมการเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ทั้งนี้
หากกระทรวงใดไม่มีแผนงาน/โครงการตามแผนงานสำคัญตามนโยบายรัฐบาล
หรือโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงดังกล่าวข้างต้นได้ทั้ง 2
โครงการ อาจคัดเลือกโครงการในเรื่องข้างต้น อย่างน้อย 1 โครงการ
และเลือกยุทธศาสตร์กระทรวงที่มีความสำคัญในลำดับแรก
และโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์เพิ่มเติมอีก อย่างน้อย 1 โครงการ
2.2 อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัดคัดเลือกโครงการ อย่างน้อย 2 โครงการ
● ยุทธศาสตร์และโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐบาล อย่างน้อย 1 โครงการ ในเรื่องดังต่อไปนี้
1) การท่องเที่ยว
2) โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
และคัดเลือกโครงการตามยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญในลำดับแรก
ภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ของจังหวัด อย่างน้อย 1 โครงการ
ทั้งนี้
มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาเตรียมการเพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอา
เซียน โดยขอให้ อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัด
ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินงานของจังหวัดและ
กลุ่มจังหวัดในเรื่องดังกล่าวด้วย
● กรณีโครงการของกลุ่มจังหวัด
ควรเป็นโครงการที่มุ่งเน้นขีดความสามารถในการแข่งขัน
และสะท้อนให้เห็นความร่วมมือของกลุ่มจังหวัด
● เป็นโครงการที่มีการบูรณาการ หรือมีความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ (ถ้ามี)
2.3 การคัดเลือกโครงการตามข้อ 2.1 และ 2.2 เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสอบทานโครงการที่คัดเลือก ควรมีลักษณะ ดังนี้
- โครงการที่กระจายลงพื้นที่มากกว่าโครงการอื่นและส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชน
- โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการในปีที่สอบทาน
- โครงการที่ได้รับงบประมาณสูงในการดำเนินงานเมื่อเทียบกับโครงการอื่นหรือโครงการที่มีลักษณะความเสี่ยงสูง
2.4
เพื่อให้มีการรายงานผลสัมฤทธิ์ของโครงการสอบทานกรณีพิเศษที่สามารถสะท้อนถึง
ความสำเร็จของยุทธศาสตร์กระทรวงและจังหวัด
และยุทธศาสตร์ของประเทศได้อย่างแท้จริง
จึงเห็นควรให้พัฒนากระบวนการรายงานการสอบทานกรณีพิเศษ
โดยเน้นในเชิงยุทธศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้
ในการคัดเลือกโครงการสอบทานกรณีพิเศษของกระทรวงและจังหวัด
ควรคัดเลือกโครงการสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์
โดยการพิจารณาถึงความสอดคล้องเชื่อมโยงกันของยุทธศาสตร์ประเทศ
ยุทธศาสตร์กระทรวงและจังหวัด
และแผนงานโครงการที่สำคัญของกระทรวงและจังหวัดเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ดังกล่าว
การดำเนินงานคัดเลือกโครงการ ให้ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง และ
อ.ค.ต.ป. กลุ่มจังหวัด คัดเลือกโครงการที่จะสอบทานกรณีพิเศษตามหลักเกณฑ์ที่
ค.ต.ป. กำหนด และเสนอรายชื่อโครงการที่จะสอบทานกรณีพิเศษต่อ ค.ต.ป.
ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556
ระยะเวลาการรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ |
เพื่อ
ให้การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร
ราชการแผ่นดิน
อันจะช่วยแก้ไขอุปสรรคปัญหาจากการดำเนินงานของส่วนราชการและจังหวัดได้ทัน
ภายในปีงบประมาณ
จึงเห็นควรกำหนดให้มีการรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการต่อนายก
รัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ปีละ 2 ครั้ง
โดยให้ครอบคลุมประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการดังกล่าวข้างต้น
ทั้งการสอบทานกรณีปกติ และการสอบทานกรณีพิเศษ
พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเอง ดังนี้
1. รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการระหว่างปี พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองระหว่างปี (รอบ 6 เดือน)
2. รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปี พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี (รอบ 12 เดือน)
ขอบเขตของการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ |
1. รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการระหว่างปี (รอบ 6 เดือน)
-
เป็นการรายงานผลการดำเนินงานในลักษณะของการติดตามความก้าวหน้าในการดำเนิน
งานของรอบ 6 เดือน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงที่ตรวจทบ
ตลอดจนความเสี่ยง/ผลเสียหาย/ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบ้ติราชการของส่วน
ราชการและจังหวัด
- การจัดทำรายงานผลฯ
ระหว่างปีตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
เป็นการรายงานผลการดำเนินงานของส่วนราชการและจังหวัด
จากสิ่งที่ได้จากการสอบทาน ตามข้อมูล เอกสารหลักฐานรายงานต่าง ๆ
รวมทั้งเห็นควรให้มีการวิเคราะห์ความก้าวหน้าในการปฏิบัติราชการของส่วน
ราชการ/จังหวัดในเชิงคุณภาพ
โดยนำผลการสอบทานที่ได้จากรายงานผลการดำเนินงานในทุกประเด็นการสอบทานเหล่า
นั้นมาประกอบการพิจารณาด้วย
เพื่อค้นหามูลเหตุของอุปสรรคปัญหาของการปฏิบัติราชการที่เกิดขึ้น
และเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขหรือการพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น
อันจะส่งผลให้การปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดตอนสิ้นปีงบประมาณ
สามารถบรรลุผลตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการที่กำหนดไว้
2. รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปี (รอบ 12 เดือน)
-
เป็นการรายงานสรุปผลการสอบทานที่ได้จากผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและ
จังหวัดที่เกิดขึ้นทั้งปีงบประมาณ
เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงที่ตรวจพบว่าการปฏิบัติราชการสามารถบรรลุผลตามแผน
ปฏิบัติราชการที่กำหนดไว้หรือไม่
- การจัดทำรายงานผลฯ
ระหว่างปีตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
เป็นการรายงานผลการดำเนินงานของส่วนราชการและจังหวัด
จากสิ่งที่ได้จากการสอบทาน ตามข้อมูล เอกสารหลักฐานรายงานต่าง ๆ
และเพื่อให้เป็นการสนับสนุนการจัดทำรายงานตรวจสอบและประเมินผลของคณะกรรมการ
ตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการคณะต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการฯ
ควรวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่ได้กับค่าเป้าหมายที่กำหนด
รวมทั้งวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการด้วย
สำหรับรายละเอียดของแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สามารถอ่านเพิ่มเติมและดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์
ค.ต.ป. ที่ http://paecthai.opdc.go.th/
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
สำนักงานเลขานุการ ค.ต.ป. / ข้อมูล
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 1 มีนาคม 2556 08:58:07 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 1 มีนาคม 2556 08:58:07