การประชุมเชิงปฏิบัติการ The ASEAN Workshop on the New Era for the Public Sector Reform in ASEAN Community จัด
ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผลักดันการดำเนินการ ตามกรอบแผนงานภายใต้
ASEAN Blueprint ในด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาล
ซึ่งระบุมาตรการในการจัดหาเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
ประสบการณ์ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนองค์ความ
รู้ระหว่างกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้
และนำองค์ความรู้ที่เป็นเลิศ (Best Practices)
ด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
และการพัฒนาสมรรถภาพระบบราชการ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
อันนำไปสู่การปฏิบัติงานของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล รวดเร็ว
สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีลักษณะพลวัตร
และเพิ่มศักยภาพในเชิงแข่งขันให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน
อีกทั้งยังเป็นการสร้างให้เกิดเครือข่ายความสัมพันธ์ของประเทศสมาชิกอาเซียน
(Experts Community of Practice)
ในด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวม
ในการวางแนวทางร่วมกันในการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาระบบราชการ
รวมทั้งวางแผนความร่วมมือในอนาคตระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
อันนำไปสู่มาตรฐานการพัฒนาหลักธรรมาภิบาลร่วมกันในท้ายที่สุด
สำหรับองค์ความรู้ที่ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับ จากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยการได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) มากล่าวเปิดงาน พร้อมให้องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ถึง
การรวมตัวกันเป็นภูมิภาคอาเซียน
ความสำคัญของการก้าวเข้าไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนปี พ.ศ. 2558 อีกทั้ง
แผนงานของรัฐบาลไทยในการเตรียมความพร้อมให้แก่ประเทศเพื่อรองรับการเข้าสู่
การเป็นประชาคมอาเซียน ทั้งนี้
เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรู้ร่วมกันว่า รัฐบาลไทยมีความตระหนัก
เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการวางแนวทาง เ
พื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนที่จะมาถึงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก Prof. Matthew Stephenson จาก Harvard Law School มาร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ AEC 2015: A New Era of the Public Sector Reform in ASEAN Community โดยเน้นให้เห็นว่าความสำคัญของการปฏิรูประบบราชการที่มุ่งเน้นที่การพัฒนา
ปรับปรุงระบบการจัดให้บริการสาธารณะแก่ประประชาชน
การสร้างให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล
ตลอดจนการต่อสู้กับปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศในอันจะนำไปสู่ความเจริญ
เติบที่ยั่งยืนต่อไป
จากนั้น เป็นการนำเสนอมุมมอง ประสบการณ์ของตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ
Asian Development Bank (ADB) และ World Bank
ร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา
ระบบราชการ คือ University of Oulu จากประเทศฟินแลนด์
มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์
และมุมมองของตนเองที่มีต่อความท้าทาย
และความสำเร็จของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนของประเทสสมาชิกอาเซียน
และที่สำคัญที่สุด
การเปิดเวทีให้ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมการประชุมเชิง
ปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ผ่านมา
ที่ประเทศตนได้ดำเนินการด้านการพัฒนาระบบราชการ
พร้อมทั้งแผนงานในอนาคตที่จะดำเนินการเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
ทั้งนี้
เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนในการสานต่อการดำเนินงานให้เป็น
ไปในทิศทางเดียวกัน สุดท้าย เป็นการนำเสนอกิจกรรมที่เรียกว่า Market Place
of Ideas เพื่อเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันวางแนวทางการพัฒนา
ยกระดับการบริหารจัดการภาครัฐที่ตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาล
อันจะนำไปสู่ความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนต่อไป
การ
ประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว
มีประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้นจำนวน 9 ประเทศ คือ บรูไน
กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม
(ยกเว้นสิงคโปร์)
ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนสถานะการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนใน
ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาระบบราชการ
การพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน
โดยมีประเด็นที่แต่ละประเทศให้ความสนใจร่วมกันคือ การพัฒนา
ยกระดับการบริหารจัดการของภาครัฐที่ตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาลเพื่อรองรับการ
เข้าสู่ประชาคมอาเซียน การส่งเสริมความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ
(Anti-Corruption) และที่สำคัญที่สุดคือ
การพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ทั้งนี้ ยังอาจกล่าวได้ว่า
ความร่วมมือกันในครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการกระชับความสัมพันธ์
ของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาระบบราชการของประเทศสมาชิกอา
เซียนให้มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบัน
มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาระบบราชการเช่นเดียวกับสำนัก
งาน ก.พ.ร. ในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดด้วยกัน 5 ประเทศเท่านั้น
กล่าวคือ ประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และประเทศไทย
ในขณะที่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ นั้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาระบบราชการจะแฝงอยู่ในหน่วยงานที่ทำ
หน้าที่พัฒนากำลังคนของภาครัฐ
หรือไม่ก็อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี
ผล
ที่ได้รับจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ
ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกของความร่วมมือที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันผลัก
ดันให้สำเร็จต่อไปในอนาคตสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
●
การประชุมเชิงปฏิบัติการ/การสัมมนาประจำปีระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบ
ราชการภายใต้เครือข่ายความร่วมมือที่เรียกว่า ASEAN Pubs (ASEAN Public
Sector Agencies) ซึ่งประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ
● การแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบการประชุมทางไกล (VDO-Conference) เพื่อลดต้นทุนและลดระยะเวลาในการติดต่อระหว่างประเทศ
● การศึกษาดูงานยังประเทศต้นแบบ
● การแลกเปลี่ยนข้าราชการเพื่อปฏิบัติราชการในกลุ่มประเทศสมาชิก รวมถึงการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญฯ ระหว่างกัน
● การจัดทำคู่มือหรือแนวทางที่เป็นเลิศในการปฏิรูประบบราชการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
●
การจัดทำ ASEAN Website หรือ วารสารทางวิชาการด้านการพัฒนาระบบราชการ
(ASEAN Public Administrative Review)
เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารและแจ้งกำหนดการ ข่าวสาร
ความเคลื่อนไหวในการจัดประชุมต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิก
กิจกรรม
ความร่วมมือครั้งต่อไปที่กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันผลักดันนั้น
นับเป็นมิติใหม่แห่งความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐของประเทศสมาชิกอาเซียน
ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน