สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 มกราคม 2556 เรื่อง
รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2554
การ
ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ซึ่งมี นางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร. คือ รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2554
ทั้ง
นี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)
ได้แจ้งมติคณะรัฐมนตรีเรื่องดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบแล้ว
ตามหนังสือ สลค. ที่ นร 0503/3163 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ลง
มติเห็นชอบรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2554 ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. เสนอ โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรับไปพิจารณาปรับปรุงรายงานข้อ 1.4
ขีดสมรรถนะและความสามารถในการแข่งขันของระบบราชการไทยเชิงเปรียบเทียบ โดย
ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงในการปรับตัวที่ดีขึ้นของดัชนีของประเทศไทย
ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับบางประเทศ เช่น ประเทศโคลัมเบีย
เอลซาลวาดอร์ กรีซ มอร็อคโค และเปรู เป็นต้น
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
สรุปสาระสำคัญของรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2554 ที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรี มีดังนี้
ส่วนที่ 1 ภาพรวม ประกอบ
ด้วย เป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย สถานภาพของระบบราชการไทย
หน่วยงานภาครัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร อัตรากำลัง
และงบประมาณแผ่นดินที่รัฐสภาจัดสรรในรอบปี พ.ศ. 2554
ตลอดจนได้นำเสนอผลการประเมินภาพรวม
ซึ่งสะท้อนสมรรถนะของระบบราชการไทยในรอบปี พ.ศ. 2554
ที่ทำการประเมินโดยองค์กรอิสระในระดับนานาชาติ
ส่วนที่ 2 ความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบราชการไทย ที่
เกิดจากผลการดำเนินงานและการใช้มาตรการต่าง ๆ ของ ก.พ.ร.
ในการส่งเสริมสนับสนุนให้ส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐ
ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
โดยเฉพาะผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในกำกับ
ของฝ่ายบริหาร การบริหารและการผลักดันการพัฒนาระบบราชการ ใน 4
ด้านที่สำคัญในรอบหนึ่งปี ประกอบด้วย
ด้าน
การยกระดับการให้บริการและการทำงานเพื่อตอบสนองความคาดหวังและความต้องการ
ของประชาชน อาทิเช่น การพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน
การยกระดับบริการประชาชนในระดับท้องถิ่นและอำเภอ ฯลฯ
ด้าน
การปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ
เกิดการแสวงความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ
รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในรูปของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม
การปรับปรุงระบบการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการให้เกิดการบูรณาการ
การทำงานระหว่างกระทรวง การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
พ.ศ. 2551 ฯลฯ
ด้าน
การมุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง
บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม
เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
ในรูปของการปรับปรุงส่วนราชการ การพัฒนาองค์การมหาชน
การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ฯลฯ และ
ด้าน
การสร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ
และสามารถตรวจสอบได้
รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง
ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม ด้วยการวางนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี
การปรับปรุงระบบตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ เป็นต้น
นอกจากนี้ ในรายงานยังครอบคลุมถึงแนวทางที่ ก.พ.ร. จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย
ส่วนที่ 3 การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ.ร. ประจำปี พ.ศ. 2554 ประกอบ
ด้วยการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
และผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงาน ก.พ.ร.
รวมทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นพิเศษเพื่อสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้าง
สมรรถนะของสำนักงาน ก.พ.ร. ด้วย
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
ข้อมูลจากหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และหนังสือสำนักงาน ก.พ.ร.
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2556 09:20:07 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2556 09:20:07