สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการประชุมระดมความคิดเห็น
โครงการจัดทำมาตรการและกลไกป้องกันและปราบปราม
การคอร์รัปชั่นในภาครัฐ
;
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร จัดการ
ประชุมระดมความคิดเห็นโครงการจัดทำมาตรการและกลไกป้องกันและปราบปรามการ
คอร์รัปชั่นในภาครัฐ
ตามแผนยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ขึ้น ณ ห้องดวงกมล ชั้น 2 โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ
เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างมาตรการและกลไกการป้องกันและปราบปรามการ
คอร์รัปชั่นในภาครัฐจากตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและภาคประชาชน
รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดี
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ปรึกษาโครงการฯ
ได้ชี้แจงแนวทางของมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่นในภาครัฐ
เบื้องต้น แบ่งได้เป็นได้ 4 กลุ่มมาตรการ ดังนี้
1. มาตรการในเชิงโครงสร้าง/สถาบัน/องค์กร แบ่ง
เป็น 2 มาตรการ ได้แก่ 1)
การเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานด้านป้องกันและปราบปรามในหน่วยงานภาครัฐ
เช่น การทำแผนยุทธศาสตร์ให้รองรับนโยบายรัฐบาล
กำหนดแนวทางในการดำเนินงานเชิงรุก เป็นต้น และ 2)
การพัฒนาองค์กรให้โปร่งใส โดยการประเมินธรรมาภิบาล
ที่เน้นความโปร่งใสของหน่วยงานในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดการแข่งขันและ
พัฒนา ลดขั้นตอนปรับปรุงกระบวนงาน และสรรหาและพัฒนาองค์กรต้นแบบ
2. มาตรการในเชิงหน้าที่/การดำเนินงานของหน่วยงาน แบ่ง
เป็น 6 มาตรการ ได้แก่ 1) การเปิดเผยข้อมูล ราคากลาง
และกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง 2) การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง
ให้มีคณะกรรมกลั่นกรองการพิจารณาการเลื่อนขั้น
เลื่อนตำแหน่งก่อนเสนอผู้มีอำนาจแต่งตั้ง 3) ลดกระบวนงานการใช้ดุลยพินิจ
4) การบริหารรายได้
ให้นำเทคโนโลยีมาช่วยและจัดจ้างบุคคลภายนอกจัดเก็บรายได้ 5)
การสร้างความเข้มแข็งของฝ่ายตรวจสอบ กำกับดูแล และ 6) การบังคับใช้กฎหมาย
การลงโทษ ให้มีความรวดเร็ว
3. มาตรการในเชิงตัวบุคคล
แบ่งเป็น 2 มาตรการ ได้แก่ 1) ส่วนของผู้นำ/ผู้บริหาร
ให้กำหนดกรอบคุณสมบัติผู้ที่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งโดยเปิดเผยให้สังคมทราบ
กำหนดการบังคับใช้จริยธรรมองค์กร การเปิดเผยทรัพย์สิน
และพัฒนาผู้นำธรรมาภิบาล และ 2) ส่วนของเจ้าหน้าที่
ให้กำหนดการบังคับใช้จริยธรรมองค์กร การเปิดเผยทรัพย์สิน
การให้คำแนะนำถึงปัญหาคอร์รัปชั่น และ สร้างเจ้าหน้าที่รัฐรุ่นใหม่
4. มาตรการในเชิงการมีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่น แบ่ง
เป็น 5 มาตรการ ได้แก่ 1) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เช่น
ให้หน่วยงานด้านป้องกันและปราบปรามจัดทำข้อมูลเผยแพร่ความคืบหน้าคดีความ
และสร้างกลไกให้มีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น 2)
จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการต่อต้านการคอร์รัปชั่น 3) ให้ภาคส่วนต่าง ๆ
ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการพิจารณาโครงการที่สำคัญ 4)
จัดทำการสำรวจการรับรู้สาธารณะ และ 5)
สร้างช่องทางให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถแจ้งเบาะแสการทุจริตได้
หลัง
จากการชี้แจงแนวทางของมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่นในภาค
รัฐแล้ว มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรการฯ หลายแนวทาง เช่น มาตรการในเชิงโครงสร้าง/สถาบัน/องค์กร ต้อง
มีการบูรณาการงานต่าง ๆ ของหน่วยงานด้านป้องกันและปราบปราม
ให้มีแผนงานและแนวทางในการทำงานเดียวกัน
และทุกคนในหน่วยงานต้องมีส่วนร่วมในการแจ้งข้อมูลคอร์รัปชั่น
โดยแจ้งให้ผู้บังคับบัญชารับทราบและดำเนินการแก้ไข มาตรการในเชิงหน้าที่/การดำเนินงานของหน่วยงาน ใน
การจัดซื้อจัดจ้างต้องเปิดเผยข้อมูลราคากลางของการจัดซื้อจัดจ้างทุกประเภท
และรัฐบาลต้องเข้มงวดและเคร่งครัดกับผลการตรวจสอบการคอร์รัปชั่นของหน่วยงาน
ตรวจสอบ มาตรการในเชิงตัวบุคคล ต้อง
คุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ด้านป้องกันและปราบปราม
ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างอิสระ และไม่มีปัญหาในการทำงาน
รวมทั้งให้ความรู้เฉพาะทางด้านป้องกันและปราบปรามแก่เจ้าหน้าที่ และ มาตรการในเชิงการมีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่น โดยกิจกรรมของรัฐต้องเอื้อให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมได้จริง เป็นต้น
ทั้ง
นี้ ข้อมูลความคิดเห็นเหล่านี้
จะมีการนำไปรวบรวมเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม
ในการจัดทำมาตรการและกลไกป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่นในภาครัฐ
ตามแผนยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านคอร์รัปชั่น ต่อไป
สุปรียา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556 10:46:08 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556 10:46:08