สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ได้จัดการประชุมเรื่อง แนวทางการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจตามรายงานผลการวิจัย เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2555 ณ ห้องศรีสุริยวงศ์บอลรูม ชั้น 11 โรงแรมตวันนา สุรวงศ์ กรุงเทพฯ
นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็น
ประธานกล่าวเปิดและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ แนวทางการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีด
ความสามารถในการประกอบธุรกิจตามรายงานผลการวิจัย เรื่อง Doing Business
ของธนาคารโลกว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยยังคงรักษาอันดับได้ดี
คือ 20 อันดับแรกของโลก
ซึ่งตามรายงานของธนาคารโลกจะวัดประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ
ทั้งในเรื่องของขั้นตอน ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย กฏหมาย กฏระเบียบต่าง ๆ
ว่าเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการหรือไม่
โดยผลของการจัดอันดับล่าสุด ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 18 จาก 185 ประเทศ ก็แสดงให้เห็นว่าการบริการภาครัฐมีประสิทธิภาพ และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
จากนั้น เป็นการบรรยายเรื่อง แนวทางการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจ ตามรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก โดย นายชัยยุทธ กมลศิริสกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. กล่าว
ว่า ตามที่ธนาคารโลกได้จัดทำรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business
เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547)
เพื่อรายงานการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจของประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลก โดยเข้ามาศึกษาในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548)
ซึ่งรายงานผลการวิจัยดังกล่าว
เป็นการวิจัยโดยสำรวจความคิดเห็นของบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ด้านบัญชี
ผู้เชียวชาญต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่รัฐ
เกี่ยวกับขั้นตอนระยะเวลาการให้บริการ การอำนวยความสะดวก
ต้นทุนค่าใช้จ่ายและกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ของรัฐบาล
ว่ามีส่วนสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไร
ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัด 10 ด้าน
ตามวงจรธุรกิจตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจจนถึงการปิดกิจการ
รายงาน
ผลการวิจัยเรื่อง Doing Business
มีความสำคัญต่อการตัดสินใจของนักลงทุนในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย
อีกทั้งแนวทางการวัดผลสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับปรุงบริการของภาค
รัฐไทย ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร.
จึงได้นำรายงานการจัดอันดับดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและพิจารณา
อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงาน
ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ปรับปรุงการให้บริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจให้เกิดผล
สำเร็จต่อเนื่อง และ
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 มีมติให้สำนักงาน ก.พ.ร.
ดำเนินการติดตามและประเมินผลการปรับปรุงบริการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของประเทศให้เป็นผลสำเร็จและ
อันดับของประเทศดีขึ้น
เพื่อให้ผลการดำเนินการเรื่องนี้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
จากนั้น นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. บรรยายเรื่อง การ
จัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2013)
และข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบ
ธุรกิจ โดยกล่าวว่าสำนักงาน ก.พ.ร.
ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐปรับปรุงบริการผ่านการจัดตั้งคณะทำ
งาน 9 คณะ ครอบคลุมตัวชี้วัดทั้ง 10 ด้าน ซึ่งมีผลการดำเนินการที่สำคัญ
อาทิ
ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ : พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการเริ่มต้นธุรกิจ (e-Starting Business)
ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง : พัฒนาระบบออนไลน์ในการขออนุญาตติดตั้งระบบสาธารณูปโภค
การขอติดตั้งระบบไฟฟ้า : เกณฑ์การวัดคุณภาพการให้บริการด้านการขอติดตั้งระบบไฟฟ้า
ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน : กำหนดนโยบายลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์
ด้านการได้รับสินเชี่อ : ยกร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ
ด้านการการคุ้มครองผู้ลงทุน : แก้ไข พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
ด้านการชำระภาษี : พัฒนาระบบการยื่น/ชำระภาษีทางอิเล็กทรอนนิกส์ (e-Custom)
ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง : พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการบังคับคดี
ด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย : แก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
ในรายงาน Doing Business 2013 ให้ความสำคัญกับ SMART Regulation กฎหมายที่ผู้ประกอบธุรกิจมีลักษณะเอื้อต่อการลงทุน ควรมีลักษณะ ดังนี้
● Steamlined : ทำให้บรรลุผลลัพธ์ที่กำหนดด้วยแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
● Meaningful : เป็นตัวบ่งชี้ในทางบวกที่อำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ
● Adaptable : สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
● Relevant : ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหา
● Transparent : มีความชัดเจนและทุกคนสามารถเข้าถึงได้
การ
ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้จัดทำโครงการศึกษากฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการ
ให้บริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจตามรายงานผลการวิจัย
เรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก โดยเริ่มศึกษาในตัวชี้วัด 5 ด้าน
ตามเป้าหมายของกรอบเอเปก ได้แก่
● ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ
● ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง
● ด้านการได้รับสินเชื่อ
● ด้านการค้าระหว่างประเทศ
● ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง
จากนั้น เป็นการบรรยายเรื่อง การปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจตามรายงานผลการวิจัยเรื่อง Doing Business ของธนาคารโลก โดย ผศ.ดร.วิพุธ อ่องสกุล ที่ปรึกษาโครงการฯ ซึ่ง
ได้อธิบายถึงผลการศึกษากฎหมาย/ประเด็นที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการปรับ
ปรุงกระบวนการปรับปรุงให้บริการ
และข้อเสนอแนวทางการดำเนินการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ
ประกอบธุรกิจ
โดยเน้นการศึกษากฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการให้
บริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจตามรายงานผลการวิจัยเรื่อง
Doing Business ของธนาคารโลก
รวมทั้งนำเสนอการปรับปรุงบริการของประเทศที่เป็น Best Practices ในระดับโลก
ทวีปเอเชีย และอาเซียน
หลัง
จากนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิด
ให้ข้อเสนอแนะ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างหลากหลาย ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร.
ได้เก็บรวบรวม
และจะนำผลสรุปที่ได้ไปจัดทำเป็นแนวทางการปรับปรุงบริการเพื่อเพิ่มขีดความ
สามารถในการประกอบธุรกิจตามรายงานผลการวิจัย เรื่อง Doing Business
ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งขึ้นต่อไป
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
กลุ่มสื่อสารฯ/จัดทำ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ