เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2555 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ตรวจเยี่ยมประเมินโครงการส่วนพระองค์ ประเภทนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ ในผลงานเรื่อง การพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน ของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง
ดร.รสริน สมิตะพินทุ ผู้แทนโครงการส่วนพระองค์ฯ กล่าวต้อนรับและนำเสนอผลงาน เรื่อง การพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน กล่าวว่า เมื่อปี พุทธศักราช 2528 ณ
ขณะนั้นเป็นเวลาที่ทุกประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤติราคาน้ำมัน
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระองค์ได้ทรงมีพระราชกระแสให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ศึกษาวิจัยการนำอ้อย มาผลิตเป็นเชื้อเพลิง เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด
และราคาตกต่ำ
นอกจากนี้ยังสามารถรับวิกฤษติราคาน้ำมันและพลังงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
และป้องกันการขาดแคลนพลังงานในประเทศและจนถึงวันนี้เกือบทศวรรษได้พิสูจน์
แล้วว่า
พลังงานทางเลือกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ
ผลงานนวัตกรรมนี้จึงถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมแห่งอนาคตอันเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
ต่อพสกนิกรอย่างแท้จริง
รูป
แบบความร่วมมือและความเชื่อมโยงสู่การวิจัยเพื่ออนาคต
โดยโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง
ได้ศึกษาวิจัยการผลิตแอลกฮอล์จากอ้อยและกากน้ำตาล
เพื่อนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน ได้แก่ แก๊สโซฮอล์ ดีโซฮอล์และไบโอดีเซล
โดยมีการบูรณาการในการวิจัย ร่วมกับบริษัทน้ำมันบางจาก
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย บริษัท สุราทิพย์ จำกัด
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมอู่ทหารเรือ กองงานส่วนพระองค์
และสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง ซึ่งในการดำเนินการมีรูปแบบการสร้างความร่วมมือและเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน อันประกอบด้วย
1.
การวิจัยพัฒนา โดยโครงการส่วนพระองค์
สวนจิตรลดาได้นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาศึกษาวิจัยและ
พัฒนาในกระบวนการผลิตต้นแบบการวิจัยแก๊สโซฮอล์ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัท
สุราทิพย์ จำกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท บางจาก
การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย
และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ในส่วนของไบโอดีเซลได้มีการศึกษาร่วมกับกรมอู่ทหารเรือ
กองงานส่วนพระองค์และสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง ซึ่งเป็นการบูรณาการ
การทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา
ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัยเพื่อให้ได้ต้นแบบของพลังงานทางเลือก
2.
การเชื่อมโยงกับภาคเกษตร แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ต้องการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นส่วนเกินหรือล้นตลาด
ราคาตกต่ำ โดยการนำมาแปรรูปเป็นพลังงานทางเลือก
อันเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรเหล่านั้น เช่น อ้อย
มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันมีเสถียรภาพด้านราคามากขึ้น
3.
การสร้างฐานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร
การทำพลังงานทางเลือกส่งผลให้เกิดอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น
โรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตแอลกอฮอล์ โรงงานแปรรูปปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
เพื่อรับผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือจากการบริโภคมาผลิตเป็นวัตถุดิบในการทำ
พลังงานทางเลือก
มีการเสริมสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรที่เชื่อมโยง
เข้ากับตลาด โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4.
การเชื่อมโยงกับตลาดเมื่อวิจัยพัฒนาแล้วได้มีการสาธิต
และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนด้วย
จึงเกิดเป็นฐานความคิดและแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ภาคประชาชนมีความตื่นตัว
ที่จะร่วมกันใช้พลังงานทดแทนจากพืช ทำให้เกิดความเชื่อมโยงในการผลิต
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเสริมด้านผลผลิตทางการเกษตรเพื่อผลิตพืชพลังงาน
ทดแทนและกระทรวงพลังงานประสานกับผู้ประกอบการเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์และไบโอ
ดีเซล ปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านพลังงานจากพืชมีเพิ่มมากขึ้น
สถนีบริการเชื่อเพลิงแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล ได้ขยายครอบคลุมทั่วประเทศ
5.
ผลักดันให้เกิดนโยบายรัฐบาล
โดยรัฐบาลได้ประกาศเป็นนโยบายในการจัดทำแผนพลังงานทดแทนและประกาศใช้แก๊สโซ
ฮอล์และไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ทั่งประเทศ
ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันภายในประเทศนำการศึกษาดังกล่าวไปขยายผล
และนำมาผลิตและจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ
จากนั้น ดร.อะเคื้อ บุญญสิริ ผู้แทนโครงการส่วนพระองค์ฯ กล่าว
ต่อว่า
จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและการที่พระองค์ได้ทรง
ติดตาม ทดสอบ ทดลองให้ดูเป็นตัวอย่างด้วยพระองค์เอง
ก่อให้เกิดความมั่นใจในวิธีการแก้ปัญหา
ส่งผลให้โครงการการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
อย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
ทั้งก่อให้เกิดความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน เกิดประโยชน์แก่ภาคประชาชน
ทำให้ใช้น้ำมันชีวภาพทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม
เกษตรกรเกิดการพัฒนาการปลูกพืชน้ำมันที่มีผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น
เพิ่มพื้นที่ปลูกพืชน้ำมันและเกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวกับพลังงานทด
แทนมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
และผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติในภาคเกษตรเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ยังทำให้ปริมาณมลภาวะจากไอเสียของรถยนต์ลดลง
ส่งผลให้คุณภาพอากาศและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นโดยภาพรวม
สร้างการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน
เกิดการศึกษาวิจัยเพื่อเสาะหานวัตกรรมพลังงานทดแทนอย่างกว้างขวาง
ทำให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ประธาน อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ได้กล่าวชี้แจง
หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณารางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ดัง
นี้ การยกระดับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน
และส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐไทยพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ
เป็นมาตรฐาน และได้รับรางวัลในระดับสากล อ.ก.พ.ร.
เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนฯ
จึงเห็นควรปรับปรุงเกณฑ์รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน
โดยการเปลี่ยนชื่อรางวัล และปรับเกณฑ์การพิจารณารางวัลใหม่
เป็นรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ (Thailand Public Service Awards)
ประเภทของรางวัลรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประกอบด้วย 5 ประเภทรางวัล ดังนี้
1. รางวัลบริการภาครัฐยอดเยี่ยม
2. รางวัลภาพรวมมาตรฐานการบริการที่เป็นเลิศ
3. รางวัลบูรณาการการบริการที่เป็นเลิศ
4. รางวัลนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ
5. รางวัลการพัฒนาการบริการอย่างยั่งยืน
หลัง
จากนั้นเป็นการ อ.ก.พ.ร.
เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาการปฏิบัติ
ราชการฯ และคณะผู้ตรวจประเมินซักถาม และส่วนราชการตอบข้อซักถาม
และตรวจเยี่ยมชมการปฏิบัติงานโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง
อ.ก.พ.ร.
เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาการปฎิบัต
ิราชการ ฯ ได้พิจารณาผลงานดังกล่าวแล้ว ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 มกราคม
2556 และมีมติมอบรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประเภทนวัตกรรมการบริการที่เป็นเลิศ ระดับดีเด่น ผลงานเรื่อง การพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน ของโครงการ ส่วนพระองค์สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง
กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
กลุ่มสื่อสารฯ/จัดทำ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ