Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2556 / มกราคม / สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 21 เรื่อง ก้าวต่อไปของการจัดการความรู้สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 21 เรื่อง ก้าวต่อไปของการจัดการความรู้สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมสัมมนา
เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 21 เรื่อง
ก้าวต่อไปของการจัดการความรู้สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้


alt


           เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2555 นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมสัมมนา เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 21 เรื่อง ก้าวต่อไปของการจัดการความรู้สู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้   ณ ห้องราชาบอลลูม โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร  โดยภายในงานมีการบรรยายเรื่อง การตรวจประเมินการจัดการความรู้เพื่อก้าวสู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  โดย ดร.บุญดี บุญญากิจ ผู้แทนจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และการนำเสนอกรณีตัวอย่างการตรวจประเมินการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ของกรมสุขภาพจิต และ กรมชลประทาน 

alt           นายพงษ์อาจ ตรีกิจวัฒนากุล รองเลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าว ว่า  สืบเนื่องจากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้าน เมืองที่ดี  พ.ศ. 2546 ในหมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  หัวใจสำคัญนั้นได้กำหนดให้ทุกส่วนราชการพัฒนาความรู้ในส่วนราชการเอง  เพื่อนำไปสู่โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  สิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้ คือ  การนำกรณีตัวอย่างที่ดี ที่ได้ดำเนินการแล้วประสบความสำเร็จ มาศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดเวทีให้ทุกส่วนราชการได้มาร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในเรื่องการจัดการความรู้ขึ้น  ซึ่งได้ดำเนินงานมาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 21 แล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้แทนของส่วนราชการที่ผ่านการตรวจประเมินการ จัดการความรู้อย่างเป็นระบบ  จนสามารถก้าวไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ได้  มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้  พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ เทคนิค รูปแบบ และวิธีการที่ผ่านการตรวจประเมินการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบมาแล้ว  ซึ่งคิดว่าหน่วยงานที่มาร่วมสัมมนาจะได้นำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนา องค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานจนสามารถก้าวไปสู่การเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ต่อไปได้

alt           หลังจากนั้น เป็นการบรรยายเรื่อง   การตรวจประเมินการจัดการความรู้เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดย ดร. บุญดี บุญญากิจ  ผู้แทนจากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ  ที่ ได้กล่าวว่าทุกคนในองค์กรยังมีความเข้าใจในเรื่อง KM ไม่ตรงกัน ซึ่ง KM เป็นกระบวนที่เป็นระบบในการค้นหา รวบรวม แลกเปลี่ยน ใช้และสร้างความรู้ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ  Knowledge process ผู้นำ/ทิศทาง คน เทคโนโลยี และกระบวนการวัดที่หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญ  ซึ่ง  KM จะประสบผลสำเร็จได้ ต้องส่งผลถึงความคิดและพฤติกรรมของทุกคนในองค์กร  การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของบุคลากร นวัตกรรมของกระบวนการ/ระบบ หรือ ผลการดำเนินการขององค์กร  ซึ่งการส่งผลนี้เกี่ยวพันกับระบบการวัด  ในหลายองค์กรทำได้ดีแต่ตัววัดที่ใช้ ไม่ได้เชื่อมผลของ KM เข้าไปกับผลการดำเนินงานขององค์กร ดังนั้น ระบบวัด KM จึงเป็นองค์ประกอบอันหนึ่งที่สำคัญของ KM ด้วย 

           ส่วนสถานการณ์การทำ  KM ในองค์กร  มี  4 สถานการณ์ นั่นคือ การหยุดทำ ทำบ้างได้โดยไม่มีการพัฒนาสิ่งใหม่ ยังทำด้วยวิธีการเดิมแต่ขยายผลไปยังหลายหน่วยงานในองค์กร และ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ ต่อยอดและขยายผล KM ไปเกือบทั้งองค์กร ซึ่งปัญหาที่พบในการทำ KM คือ เป้าหมาย KM ไม่ชัดเจน ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ จึงไม่ให้การสนับสนุน บุคลากรในองค์กรไม่ค่อยให้ความร่วมมือ  ทำกิจกรรมเยอะแต่ไม่ค่อยเห็นผล และ อยากปรับปรุงการทำแต่ไม่ทราบว่าจะปรับปรุงอย่างไร 

           ในส่วนที่ว่า จะทราบได้อย่างไรว่า  KM ขององคเราต้องปรับปรุงอย่างไร ดร.บุญดี กล่าวว่า  มีเครื่องมือ นั่นคือ การตรวจประเมินการจัดการความรู้ (Knowledge Management Assessment : KMA) ที่จะทำให้ทราบว่าองค์กรมีความพร้อมในระดับใดที่จะทำ ปัจจัยที่ใช้ในการผลักดัน ปัจจัยเอื้อ และ Knowledge process มีประสิทธิภาพเพียงใด ประสิทธิผลของ KM เป็นอย่างไร จุดแข็งและสิ่งที่ต้องปรับปรุงมีอะไรบ้าง โดยได้ใช้กรอบเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) เป็นแนวทางในการตรวจประเมิน  เนื่องจากเป็นเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ได้พิสูจน์แล้วว่า เมื่อองค์กรนำไปประเมินจะสามารถพัฒนาองค์กรเพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศได้ รวมทั้งยังเป็นเกณฑ์เน้นการบริหารแบบองค์รวม  เมื่อนำมาใช้จะตรวจประเมินได้ทั้งระบบ KM process และประเมินประสิทธิผลของ KM ได้ 

           กรอบเกณฑ์รางวัล คุณภาพแห่งชาติ  (TQA) มีหัวข้อที่เกี่ยวกับ KM โดยตรงนั่นคือ การจัดการ ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศ และยังมีหัวข้อที่ช่วยเอื้อให้เกิด KM ในองค์กร นั่นคือ การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง ความผูกพันของบุคลากร กระบวนการทำงาน ซึ่งปรากฏว่าในทุกหมวดของ TQA จะมีเนื้อหาที่เอื้อให้เกิด KM อยู่ จึงได้นำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม KMA ซึ่งเป็นการประเมินระดับพัฒนาการและประสิทธิผลของ KM แบบองค์รวม และไม่เน้นคะแนน แต่เน้นการเรียนรู้จากการประเมินตนเอง ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดโครงการโดยนำ KMA มาตรวจประเมิน KM ในหน่วยงานราชการ ซึ่งมีหน่วยงานนำร่อง เช่น กรมสุขภาพจิต กรมชลประทาน และ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นต้น  เมื่อได้ผลการตรวจประเมินก็สามารถนำผลนั้นมาใช้จัดทำแผนการจัดการความรู้ใน ระยะสั้นและระยะยาวได้

alt


           ต่อจากนั้น ผู้แทนจากกรมสุขภาพจิตและกรมชลประทาน ได้นำเสนอกรณีตัวอย่างการตรวจประเมินการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ โดย นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรม กรมสุขภาพจิต   นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมชลประทาน   นางสาวนันทพร เงินฉลาด นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ กรมชลประทาน  และดำเนินการอภิปรายโดย นายอนุชิต ฮุนสวัสดิกุล  ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
alt
           นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การตรวจประเมินการจัดการความรู้ของกรมสุขภาพจิต   ทั้งในเรื่องกระบวนการตรวจประเมินองค์กรด้วย KMA ปัญหาที่ได้พบหลังจากนำ KMA มาใช้ เช่น ไม่เข้าใจความหมาย  ความเชื่อมโยงและความลึกซึ้งของข้อคำถาม ความเข้าใจไม่ตรงกัน  ซึ่งแก้ปัญหาโดยการแปลข้อคำถามเป็นภาษาไทย  และ ปัญหาเรื่องขอบเขตพันธกิจกรม  ได้ใช้วิธีแยกพันธกิจให้ชัดเจน เป็นต้น รวมทั้งประโยชน์ที่กรมสุขภาพได้จากการตรวจประเมินการจัดการความรู้  ได้แก่ การเปิดมุมมองเรื่อง KMA ได้ทบทวนงาน KM ซึ่งพบจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนา ตระหนักและเข้าใจร่วมกันถึงทิศทางการนำ KM มาใช้ในองค์กร ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับบุคลากร และมีทิศทางในแผนปรับปรุงการดำเนินงาน KM 


alt

           ทางด้านของกรมชลประทาน นายอัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ และ นางสาวนันทพร เงินฉลาด ได้ เสนอประสบการณ์การตรวจประเมินการจัดการความรู้ของกรมชลประทาน  ในเรื่องหลักคิดของผู้ตรวจประเมินในองค์กร กระบวนการตรวจประเมินองค์กร ปัญหาที่ได้พบพร้อมวิธีแก้ไข  เช่น ความรู้ความเข้าใจเกณฑ์การตรวจประเมิน การรวบรวมหลักฐานประกอบการตอบ การกำหนดคะแนน KMA ให้เชื่อมโยงกับตัวชี้วัด รวมทั้งประโยชน์ที่กรมชลประทานได้รับจากการทำ KMA ได้แก่ ระบบการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การเสริมความเข้าใจ PMQA ให้บุคลากรเข้าใจและเห็นประโยชน์ของ KM ชัดเจนขึ้น เป็นต้น


alt


alt
 


 สุปรียา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
กลุ่มสื่อสารฯ/จัดทำ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 22 มกราคม 2556 09:06:16 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 22 มกราคม 2556 09:06:16
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th