การประชุมสัมมนาคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล
การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการ
ประชุมสัมมนาคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำ
รับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ณ ห้องแกรนด์ บี โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 โดยมี นายนครเขตต์ สุทธปรีดา
รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม
พร้อมนำเสนอกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
และสาระสำคัญและแนวทางการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 รวมทั้งยังได้รับเกียรติจากประธานกรรมการเจรจาฯ ของแต่ละกระทรวงเข้าร่วมการประชุม
นายนครเขตต์ สุทธปรีดา รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สรุปว่า มี 2 มิติ ได้แก่ มิติภายนอก ซึ่งมีน้ำหนักร้อยละ 70 แบ่งเป็น
การประเมินประสิทธิผล ร้อยละ 60 และ การประเมินคุณภาพ ร้อยละ 10
โดยการประเมินประสิทธิผลมีตัวชี้วัดสำคัญ 3 ตัว ได้แก่
ตัวชี้วัดนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลและภารกิจหลักของกระทรวง
ตัวชี้วัดตามภารกิจหลักของกรมและตัวชี้วัดของกระทรวงที่มีภารกิจร่วมกัน
(Joint KPI) ด้วย และ
ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
(ASEAN Readiness)
สำนัก
งาน ก.พ.ร.
ได้จัดทำตัวชี้วัดด้านประสิทธิผลของการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของ
รัฐบาล และภารกิจหลักของกระทรวง
และตัวชี้วัดของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPI)
ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา
นั่นคือ
เห็นชอบในตัวชี้วัดนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลและภารกิจหลักของกระทรวง
และค่าเป้าหมาย
อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้กระทรวงเสนอค่าเป้าหมายที่เหมาะสมของตัวชี้วัด
โดยกระทรวงสามารถเสนอตัวชี้วัดเพิ่มเติม
พร้อมทั้งค่าเป้าหมายและเกณฑ์การให้คะแนนได้
นอก
จากนี้ นายกรัฐมนตรียังเห็นชอบกับ Joint KPI จำนวน 5 เรื่อง คือ
การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด Doing business ข้าวไทย
ความมั่นคงชายแดนภาคใต้ และ ครัวไทยสู่ครัวโลก อีกทั้ง ให้มี Joint KPI
เพิ่มเติมอีก จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ การลดต้นทุนในการรักษาพยาบาล
มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพ ศูนย์ช่วยเด็กและสตรีในภาวะวิกฤต
หรือศูนย์พึ่งได้ มีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพ
การพัฒนาแรงงาน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
มีกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพ การยกระดับภาพลักษณ์ตราสินค้าไทย
มีกระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพ
การส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
และอุตสาหรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ
จะเห็นได้ว่านายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานระหว่าง
กระทรวง หรือ Joint KPI มากขึ้นกว่าเดิม
สำหรับความเห็นของส่วน
ราชการที่เกี่ยวข้องนั้น ส่วนใหญ่เห็นชอบกับตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ซึ่งกรณีนี้สามารถดำเนินการจัดทำคำรับรองฯ ปี 2556
ได้โดยที่ไม่ต้องมีการเจรจาฯ
แต่ก็มีบางกระทรวงเห็นชอบกับตัวชี้วัดแต่ขอให้ปรับค่าเป้าหมาย
และมีส่วนน้อยที่กระทรวงไม่เห็นชอบทั้งชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ประเด็นสำคัญในการจัดทำคำรับรองฯ ปี 2556
1.
นายกรัฐมนตรีพิจารณากำหนดตัวชี้วัดด้านประสิทธิผลในระดับกระทรวง
ตามนโยบายสำคัญเร่งด่วน ของรัฐบาลและภารกิจหลักของแต่ละกระทรวง
รวมทั้งตัวชี้วัดของกระทรวงที่มีเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs)
2. สลายตัวชี้วัดกลุ่มภารกิจ เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดตามภารกิจหลักของกรมอยู่แล้ว
3. Joint KPI เป็นตัวชี้วัดที่มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างกระทรวง โดยจะวัดเฉพาะกรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
4. ตัวชี้วัดระดับกรม
ควรมีจำนวนไม่มาก (ประมาณ 2-3 ตัวชี้วัด)
โดยควรเลือกเฉพาะตัวชี้วัดที่เป็นภารกิจหลักของกรมหรือมีความเกี่ยวข้องใน
ระดับค่อนข้างสูง เท่านั้น
5. สำนักงานปลัดกระทรวงฯ รับตัวชี้วัดทุกตัวของกระทรวงในฐานะที่เป็นหน่วยงานในกำกับ ติดตาม และผลักดันยุทธศาสตร์โดยรวมของกระทรวง
ต่อจากนั้น
รองเลขาธิการ ก.พ.ร.
ได้เสนอประเด็นการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับกระทรวงมาที่กรมโดยยกตัวอย่าง
ของกระทรวงพาณิชย์
เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมเข้าใจในหลักการเกี่ยวกับการประเมินผลการ
ปฏิบัติราชการของส่วนราชการมากยิ่งขึ้น
หลังจากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มแยกตามกระทรวงต่าง ๆ เพื่อให้คณะกรรมการของแต่ละกระทรวงได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการถ่ายทอดตัวชี้วัดในระดับกระทรวงลงสู่ตัวชี้วัดในระดับกรม
ซึ่งได้รับเกียรติจากกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผลของส่วนราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ของแต่ละกระทรวงเข้าร่วมการประชุม ดังนี้
1. นายสมชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการเจรจาฯ กระทรวงการคลัง
2. นายทรงศักดิ์ วงศ์ภูมิวัฒน์ ประธานคณะกรรมการเจรจาฯ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ประธานคณะกรรมการเจรจาฯ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพาณิชย์
4. นายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ ประธานคณะกรรมการเจรจาฯ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข
5. นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ประธานคณะกรรมการเจรจาฯ กระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรม
6. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ประธานคณะกรรมการเจรจาฯ กระทรวงแรงงาน
7. นายปรีชา วัชราภัย
ประธานคณะกรรมการเจรจาฯ สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.
จะนำข้อสังเกตของคณะกรรมการเจรจาฯ ไปเสนอกับส่วนราชการ
เพื่อเร่งดำเนินการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
โดยด่วนต่อไป
สุปรียา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
ศิริเนตร (สำนักติดตามฯ) / ข้อมูล
กลุ่มสื่อสารฯ/จัดทำ
วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 17 มกราคม 2556 09:40:03 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 17 มกราคม 2556 09:40:03