Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2556 / มกราคม / สำนักงาน ก.พ.ร. กับ โครงการศึกษาการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต

สำนักงาน ก.พ.ร. กับ โครงการศึกษาการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต

สำนักงาน ก.พ.ร. กับ
โครงการศึกษาการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต




           เมื่อวันที่  28 พฤศจิกายน  2555  สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินการทดสอบแผนความต่อเนื่องในการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต  ณ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการศึกษาเพื่อจัดทำคู่มือการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต  โดยมี  นายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย  นายวิโรจน์ ประยูรวิวัฒน์ หัวหน้าปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา  นายทวีสิฎฐ์ บุญญาภิบาล หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมดำเนินการทดสอบแผนบริหารความต่อเนื่อง 

           สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ บริษัท ดีล้อยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด  ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในภาวะวิกฤต  เพื่อจัดทำคู่มือการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต  และ เผยแพร่ให้แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ  ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมขององค์การให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาได้ อย่างทันท่วงที  และปฏิบัติงานให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง  ในสถานการณ์วิกฤต  โดยมี จ.ฉะเชิงเทรา  เป็นหน่วยงานนำร่องต้นแบบในระดับจังหวัด  ซึ่งภัยที่ทางจังหวัดประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง คือ โรคระบาดในสัตว์ปีก   เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงไก่ไข่มากที่สุดในประเทศไทย   และเป็นระบบฟาร์มเปิด และเป็นหนึ่งในภัยที่ร้ายแรง  หากเกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ  รวมทั้งสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนได้ โดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่  ซึ่งการศึกษาดังกล่าวได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว  ในส่วนของการวิเคราะห์ผลกระทบจากเหตุการณ์วิกฤต  การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการ  และการจัดทำคู่มือการบริหารความพร้อมต่อภาวะวิกฤต  ซึ่งจะมีข้อมูลในการเตรียมความพร้อมทรัพยากรที่มีความสำคัญด้านต่าง ๆ ได้แก่ บุคลากร สถานที่ปฏิบัติงาน  อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก  เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลสำคัญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยหน่วยงานราชการต้องสามารถนำไปปรับใช้กับภัยในสถานการณ์อื่น ๆ ได้

           การ ทดสอบแผนความต่อเนื่องในการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตครั้งนี้  ถือเป็นขั้นตอนหลังจากการวิเคราะห์ผลกระทบและจัดทำแผนฯ  เพื่อทดสอบว่า  เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงจะสามารถนำคู่มือฯ มาใช้ดำเนินการได้อย่างไร  และมีประสิทธิภาพเพียงใด  รวมทั้งหาข้อบกพร่องที่ต้องนำมาแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติม   ซึ่งการทดสอบแผนใช้วิธีการจำลองสถานการณ์  ว่าเกิดไข้หวัดนกระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน แล้วระบาดเข้ามายัง จ.ฉะเชิงเทรา  พบสัตว์ตายเป็นจำนวนมาก   จำเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่างและฉีดยาฆ่าเชื้อในฟาร์มเลี้ยงสัตว์  ในขณะเดียวกันได้เกิดอุบัติเหตุรถชน  แล้วเกิดเพลิงไหิเวณด้านหน้าที่ทำการปศุสัตว์จังหวัด  ซึ่งเพลิงไหม้ได้ลุกลามเข้าไปยังอาคารสำนักงานทำให้เกิดความเสียหายทั้ง อาคาร  เป็นเหตุให้สถานที่ปฏิบัติงานและทรัพยากรในการทำงานใช้การไม่ได้ 


           นายวีระพงษ์ กฤษดาวัฒน์  ที่ ปรึกษาโครงการจาก บริษัทดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด  เสนอแนะว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ หัวหน้าคณะบริหารความต่อเนื่อง  ที่ประกอบไปด้วย หัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้าฝ่ายงานต้องมาร่วมประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์   แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ  แจ้งเหตุไปยังบุคลากรต่าง ๆ  ทบทวนกระบวนการทำงาน  ตรวจสอบบุคลากรในการทำงาน  รวมทั้งพิจารณาสถานที่ทำงานและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการทำงาน  ซึ่งในส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า  เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตจะได้ใช้ได้ทันที  ทั้งนี้ หัวหน้าคณะต้องมีความชัดเจนในขั้นตอนการดำเนินการซึ่งในคู่มือฯจะมีรายการ (Check list) เพื่อช่วยให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 


           นอกจากนี้ ในส่วนของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่พบว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากในการให้บริการประชาชน  นายทวีสิฎฐ์ บุญญาภิบาล  หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กรมปศุสัตว์  ได้ให้ข้อมูลว่า  ปศุสัตว์จังหวัดต้องเชื่อมต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับทางกรมปศุสัตว์ใน ส่วนกลาง   ซึ่งกรมปศุสัตว์เป็นผู้ดูแลระบบ หากระบบเกิดปัญหาขัดข้อง  ปศุสัตว์จังหวัดจะไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการได้  ทางกรมจึงมีนโยบายปรับปรุงเซิฟเวอร์และมีการตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง  เมื่อระบบขัดข้องก็จะย้ายไปใช้อีกระบบหนึ่ง ซึ่งจะสามารถดำเนินงานต่อได้และสามารถแก้ไขระบบที่ขัดข้องภายในระยะเวลาที่ ต้องการได้  ซึ่งสามารถสร้างความมั่นใจในการทำงานได้อีกทางหนึ่ง


           หลังจากการทดสอบแผนฯ เสร็จสิ้น  นายบัณฑิตย์  เทวีทิวารักษ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา  เผยว่า  เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตจะเกิดความสับสนในการดำเนินการ มีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานมากมาย  ถ้ามีแผนฯ จะทำให้หน่วยงานราชการมีแนวทางในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง  สามารถประคองการปฏิบัติงานให้ดำเนินไปได้อย่างไม่หยุดชะงัก  เพื่อประโยชน์ในการให้บริการแก่ประชาชน  ทั้งนี้ ทางจังหวัดจะจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต  ให้แก่ส่วนราชการต่างๆ ในสังกัด  เพื่อให้ส่วนราชการได้นำแนวทางดังกล่าวมาจัดทำแผนบริหารความพร้อมต่อภาวะ วิกฤตของหน่วยงาน  ตามโอกาสความเสี่ยงของหน่วยงานนั้น ๆ เมื่อหน่วยงานมีแผนฯ  เป็นของตนเองแล้วก็จะมีความพร้อมในการรับมือต่อภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ ทุกเมื่อ


           ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการศึกษาแนวทางการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต ในหน่วยงานนำร่องระดับกรม ได้แก่ กรมการแพทย์ ต่อไป





 สุปรียา (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
 กลุ่มบริหารการเปลี่ยนแปลง 3  สำนักนวัตกรรมฯ / ข้อมูล
 วสุนธรา (สลธ.) / จัดทำ

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 4 มกราคม 2556 14:26:30 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 4 มกราคม 2556 14:26:30
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th