กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ที่สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำขึ้น และเตรียมจัดประชุมชี้แจงกับส่วนราชการ ในวันที่ 13 ธันวาคมนี้ ในส่วนของมิติภายในได้มีการปรับปรุงจากกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โดยมีตัวชี้วัดใหม่ จำนวน 2 ตัวชี้วัด คือ ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงกระบวนการ และ ระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 แบ่งออกเป็น 2 มิติ คือ มิติภายใน และ มิติภายนอก เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยได้มีการปรับปรุงรายละเอียดของตัวชี้วัด เพื่อให้การปฏิบัติราชการของส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถถ่ายทอดนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างแท้จริง โดยตัวชี้วัดในมิติภายนอก ด้านการประเมินประสิทธิผลนั้น จะให้ความสำคัญกับนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลและภารกิจหลัก โดยนำนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลและภารกิจหลักของส่วนราชการ มากำหนดเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น ๆ อย่างแท้จริง
สำหรับตัวชี้วัดในมิติภายใน ด้านการประเมินประสิทธิภาพ และ ด้านการพัฒนาองค์การนั้น ได้มีการปรับปรุงโดยมีตัวชี้วัดใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากกรอบการประเมินผลฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จำนวน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่
ด้านการประเมินประสิทธิภาพ เพิ่มตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงกระบวนการ
ด้านการพัฒนาองค์การ เพิ่มตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ
ตัวชี้วัดที่ 6 ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงกระบวนการ (มิติภายใน ด้านการประเมินประสิทธิภาพ)
น้ำหนัก ร้อยละ 4
ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงกระบวนการ หมายถึงส่วนราชการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการสร้างคุณค่า จำนวน 3 กระบวนการ โดยมีรายชื่อกระบวนการที่ต้องดำเนินการปรับปรุงตามรายละเอียดในคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2556 ทั้งนี้ การปรับปรุงดังกล่าวต้องแสดงให้เห็นประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการดำเนินการที่ชัดเจน โดยประเมินผลจากตัวชี้วัดที่สะท้อนผลของการปรับปรุงกระบวนการ และผลของการปรับปรุงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ประโยชน์ต่อผู้รับบริการ นวัตกรรมการให้บริการ การบูรณาการการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ และการลดต้นทุน เป็นต้น
เกณฑ์การให้คะแนน :
การประเมินผล
|
น้ำหนัก
(ร้อยละ)
|
เกณฑ์การให้คะแนน
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
ระดับความสำเร็จของการปรับปรุงกระบวนการ
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับ ดังนี้
ระดับคะแนน
|
ระดับความสำเร็จของ Milestone
|
ขั้นตอนที่ 1
|
ขั้นตอนที่ 2
|
ขั้นตอนที่ 3
|
ขั้นตอนที่ 4
|
ขั้นตอนที่ 5
|
1
|
|
|
|
|
|
2
|
|
|
|
|
|
3
|
|
|
|
|
|
4
|
|
|
|
|
|
5
|
|
|
|
|
|
โดยที่ :
ระดับคะแนน
|
เกณฑ์การให้คะแนน
|
1
|
ส่วนราชการจัดทำแผนปรับปรุงกระบวนการสร้างคุณค่าที่ส่งผลต่อมิติภายนอกด้านประสิทธิผล จำนวน 3 กระบวนการ และกำหนดตัวชี้วัดของกระบวนการ และเป้าหมายของตัวชี้วัดในการปรับปรุงกระบวนการ
|
2
|
-
|
3
|
ผลสำเร็จของการปรับปรุงกระบวนการ โดยพิจารณาจากการดำเนินการได้ตามเป้าหมายของตัวชี้วัดที่กำหนดในการปรับปรุงกระบวนการ
|
4
|
-
|
5
|
ผลสำเร็จของการปรับปรุงกระบวนการ โดยพิจารณาจากการปรับปรุงกระบวนการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการ /นวัตกรรมการให้บริการ/การบูรณาการการทำงานของภาคส่วนต่างๆ /การลดต้นทุน
|
ตัวชี้วัดที่ 11 ระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ (มิติภายใน ด้านการพัฒนาองค์การ)
น้ำหนัก ร้อยละ 4
เป็นการวัดประเมินจากระดับความสำเร็จในการดำเนินการตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการเมื่อเทียบกับค่าเป้าหมายในแผนการดำเนินการ (Action Plan) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางดำเนินการตามแผนการส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างยั่งยืน ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 ตลอดจนเป็นการผลักดันให้ส่วนราชการและจังหวัดดำเนินการตามข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงฯ ของส่วนราชการและจังหวัด อันจะเป็นการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ป้องกันความเสี่ยงและลดการทุจริตคอร์รัปชั่นภายในหน่วยงาน
ตารางและสูตรการคำนวณ :
เกณฑ์การให้คะแนน :
กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จในการดำเนินการระดับคะแนนที่ 1 (Milestone) และระดับความสำเร็จถ่วงน้ำหนักของการดำเนินการตามตัวชี้วัดเมื่อเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดในระดับคะแนนที่ 2-5
1
|
ดำเนินการได้ตามแผนงานที่วางไว้ และมีการรายงานผลความก้าวหน้าครบถ้วนตามที่กำหนด (ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และเอกสารส่งสำนักงาน ก.พ.ร.)
|
เท่ากับ 1 คะแนน
|
2
|
คะแนนเฉลี่ยความสำเร็จถ่วงน้ำหนักของการดำเนินการตามตัวชี้วัดเมื่อเทียบกับค่าเป้าหมาย
|
เท่ากับ 2 คะแนน
|
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 3 ธันวาคม 2555 11:40:10 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 3 ธันวาคม 2555 11:40:10
|
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
|