Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ข่าวเด่น ก.พ.ร. / ปี 2555 / พฤศจิกายน / เตรียมจัดประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

เตรียมจัดประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

Untitled Document

เตรียมจัดประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
ของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556


สำนักงาน ก.พ.ร. โดยสำนักติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ เตรียมจัดการ ประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด แนวทางการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกลของกระทรวงมหาดไทย ในวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.30 16.00 น. ณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถนนวิสุทธิกษัตริย์ กรุงเทพฯ


การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับจังหวัดเกี่ยวกับกรอบการประเมินผลการปฏิบัติ ราชการ และแนวทางจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 รวมทั้งรายการตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด โดยได้รับความอนุเคราะห์จากกระทรวงมหาดไทย ในการใช้ระบบวิดีทัศน์ทางไกลของกระทรวงมหาดไทย เพื่อชี้แจงกรอบการประเมินผลดังกล่าวให้กับจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้จังหวัดสามารถจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด และการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ


สำหรับกำหนด การประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด แนวทางการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 โดยผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกลของกระทรวงมหาดไทย ที่จะจัดขึ้นในในวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.30 16.00 น. มีดังนี้

09.30 10.00 น.
ชี้แจงวัตถุประสงค์และที่มาการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
โดย รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นายนครเขตต์ สุทธปรีดา)
10.00 12.00 น.
● กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
● แนวทางการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
● รายการตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด
โดย ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร.
13.30 16.00 น.
รายละเอียดการดำเนินการตามตัวชี้วัด
● ตัวชี้วัดที่ 11 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร
● ตัวชี้วัดที่ 12 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงสารสนเทศ
● ตัวชี้วัดที่ 13 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ
โดย ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร.



ทั้งนี้ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ได้มีการปรับปรุงจาก 4 มิติ เป็น 2 มิติ คือ มิติภายนอก และ มิติภายใน โดยมีรายละเอียดของประเด็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัด และน้ำหนักของตัวชี้วัด ในแต่ละมิติ ดังนี้

ประเด็นการประเมินผล
การปฏิบัติราชการ
ตัวชี้วัด
น้ำหนัก
(%)
มิติภายนอก
70
การประเมินประสิทธิผล
1. นโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล
1.1 ระดับความสำเร็จในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
1.2 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด
1.3 ระดับความสำเร็จของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
หมายเหตุ จังหวัดใดที่ไม่มีตัวชี้วัดที่ 1.3 ให้นำน้ำหนักไปรวมไว้ ที่ตัวชี้วัดที่ 1.1 ร้อยละ 5 และตัวชี้วัดที่ 1.2 ร้อยละ 5
25
(10)
(5)

(10)
2. ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการบรรลุยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด
2.1 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการบรรลุยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดในลำดับที่ 1
2.2 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการบรรลุยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดในลำดับที่ 2
หมายเหตุ ในแต่ละยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัดมีตัวชี้วัดได้ไม่เกิน 2 ตัวชี้วัด
10
3. ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการบรรลุยุทธศาสตร์ของจังหวัด
3.1 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการบรรลุยุทธศาสตร์ของจังหวัดในลำดับที่ 1
3.2 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการบรรลุยุทธศาสตร์ของจังหวัดในลำดับที่ 2
3.3 ระดับความสำเร็จของการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Readiness)
หมายเหตุ - ในแต่ละยุทธศาสตร์ของจังหวัดมีตัวชี้วัดได้ไม่เกิน 2 ตัวชี้วัด
- จังหวัดใดที่มีตัวชี้วัดที่ 3.3 ให้ใช้น้ำหนักร้อยละ 3
15
4. ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนา (สังคม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
4.1 ระดับคะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของร้อยละการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีแต่ละกลุ่มที่เกิดขึ้น
4.2 ระดับความสำเร็จของการรักษาความปลอดภัยโดยเน้นอุบัติเหตุจราจรทางบก
4.3 ระดับความสำเร็จของการจัดการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.4 ระดับความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาเพื่อลดจำนวนครัวเรือนยากจนที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.
หมายเหตุ จังหวัดใดที่ไม่มีตัวชี้วัดที่ 4.4 ให้นำน้ำหนักไปรวมไว้ที่ตัวชี้วัดที่ 4.1 ร้อยละ 1 ตัวชี้วัดที่ 4.2 ร้อยละ1 และตัวชี้วัดที่ 4.3 ร้อยละ 0.5
10
(2.5)
(2.5)
(2.5)
(2.5)
การประเมินคุณภาพ
5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ
8
6. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาศูนย์บริการร่วมหรือเคาน์เตอร์บริการประชาชน
2
มิติภายใน
30
การประเมินประสิทธิภาพ
7. ร้อยละความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
2.5
8. ระดับความสำเร็จของปริมาณผลผลิตที่ทำได้จริงเปรียบเทียบกับเป้าหมายผลผลิตตามเอกสารงบประมาณรายจ่าย
2.5
9. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานของจังหวัด
3
10.ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ
7
การพัฒนาองค์การ
11.ระดับความสำเร็จของการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร
5
12.ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงสารสนเทศ
3
13.ระดับความสำเร็จของการพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ
3
14.ระดับความสำเร็จของการดำเนินโครงการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ
4
รวม
100


วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
สาวิตรี (สำนักติดตามฯ) / ข้อมูล

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2555 09:21:37 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2555 11:03:02
ข่าวเด่น ก.พ.ร.
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th